คณะนักวิทย์ในสหรัฐฯบุกเบิกใช้เทคนิคใหม่ ‘ซีที สแกน’ ร่วมกับ ‘เอกซเรย์’ ไขความลับมัมมี่อายุเกือบ 2 พันปี ชี้เทคนิคใหม่นี้จะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้นในการตรวจสอบมัมมี่โดยไม่ต้องงัดแงะร่าง

สื่อต่างประเทศรายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯได้ริเริ่มบุกเบิกวิธีใหม่ในการไขความลับปริศนาของมัมมี่อายุ 1,900 ปีในอียิปต์ โดยไม่ทำให้สภาพศพเกิดความเสียหาย ด้วยการใช้เทคโนโลย CT scan (ซีที สแกน ซึ่งเป็นการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์) ร่วมกับการ X-rays (เอกซเรย์) เป็นครั้งแรกในการศึกษามัมมี่ร่างหนึ่งที่ขุดค้นพบที่เขตโบราณสถานในเมืองฮาวารา ประเทศอียิปต์

จากผลงานการศึกษาของคณะนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ร่วมกับ Argonne National Laboratory และ Metropolitan State University of Denver ซึ่งถูกนำมาตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์ราชสมาคม ‘Royal Society Interface’ เมื่อวันอังคารที่ 24 พ.ย.63 ระบุว่า ขณะที่เทคโนโลยีเอกซเรย์ถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบมัมมี่มานานเกือบ 100 ปีแล้ว แต่การนำวิธีการฉายรังสีเอกซเรย์ร่วมกับวิธี CT scan ในครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องใหม่อย่างแท้จริง และยังทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่ามาก

...

จากการตรวจสอบมัมมี่โบราณอายุนับ 1,900 ปีร่างนี้ โดยวิธี CT scan ร่วมกับเอกซเรย์นั้น คาดว่ามัมมี่นี้เป็นเด็กวัย 5 ขวบ และคิดว่าเป็นผู้หญิง อีกทั้งไม่ได้เสียชีวิตจากเหตุรุนแรง โดยนายสจวร์ต สต็อก ผู้เขียนรายงานการศึกษาเรื่องนี้ เผยกับซีเอ็นเอ็นด้วยว่า ดูเหมือนเด็กผู้หญิงรายนี้ไม่มีร่องรอยการได้รับบาดเจ็บของโครงกระดูกด้วย แต่ตอนนี้พวกเราไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิต

ทีมนักวิจัยยังเชื่อว่าเทคนิคใหม่นี้อาจถูกนำไปใช้ในการศึกษาอื่นๆ เกี่ยวกับมัมมี่อย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยจะทำให้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษทั้งหลายสามารถตรวจสอบร่างมัมมี่โดยไม่ไปกระทบกระเทือนหรืองัดแงะร่างมัมมี่อายุกว่าพันปี เพราะอาจทำให้ร่างเหล่านั้นได้รับความเสียหาย ซึ่งเราไม่ควรทำเช่นนั้นอีกต่อไป.

Crภาพ :@stuart R Stock

ที่มา : CNN, Dailymail

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง