แหล่งก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ 2 แหล่งคือ โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา และจากวัวที่มีการปล่อยก๊าซมีเทน ในชุมชนวิทยาศาสตร์ต่างเห็นพ้องกันว่าการปล่อยมลพิษเหล่านี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มาจากการกระทำของมนุษย์ ความพยายามหาวิธีดักจับก๊าซดังกล่าวจึงเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก

ล่าสุด ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยคลาร์กสัน ในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าน้ำนมวัวส่วนเกินหรือนมที่เหลือทิ้ง อาจถูกใช้เพื่อดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากการปล่อยจากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงซากฟอสซิล ทีมวิจัยอธิบายว่าวิธีการก็คือใช้นมวัวส่วนเกินหรือนมเหลือทิ้งมาสร้างแอกทิเวเทด คาร์บอน (activated carbon) คือถ่านที่มีการเพิ่มคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการดูดซับสูง รวมทั้งขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปได้

ทีมเผยว่านมเหลือทิ้งสามารถเปลี่ยนเป็นถ่านที่มีรูพรุนขนาดนาโน และมีเคมีพื้นผิวเหมาะต่อการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้สามารถควบคุมได้ดีกว่าวัสดุปัจจุบันที่ใช้สำหรับกระบวนการนี้ เช่น กะลามะพร้าวหรือถ่าน นอกจากนี้ ตัวดูดซับคาร์บอนที่ได้จากนมเหลือทิ้งยังนำไปใช้กับการทำงานอื่นๆในอนาคตได้เช่นกัน อย่างการฟอกอากาศในร่ม การบำบัดน้ำ.