กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ยื่นฟ้องร้องบริษัท กูเกิล อย่างเป็นทางการ ในข้อหาผูกขาดบริการสืบค้นบนอินเทอร์เน็ต
สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ กับอัยการใหญ่อีก 11 รัฐทั่วสหรัฐฯ ยื่นฟ้องร้องบริษัท ‘กูเกิล’ ผู้ให้บริการค้นหาบนโลกออนไลน์รายใหญ่อย่างเป็นทางการ ในวันอังคารที่ 20 ต.ค. 2563 ในข้อหาผูกขาดบริการค้นหา (Search) และโฆษณาบนระบบค้นหา (search advertising)
การฟ้องร้องดังกลาวเป็นผลจากการสืบสวนนานนับปี โดยกล่าวหาแอปเปิลว่ามีพฤติกรรมผูกขาด จ่ายเงินปีละหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง แอปเปิล, แอลจี, โมโตโรลา และซัมซุง รวมทั้งผู้ให้บริการเว็บเบราเซอร์อย่าง มอซซิลลา และ โอเปรา เพื่อรับประกันว่า ‘Google’ จะเป็นเครื่องมือค้นหาหลัก (default)
เรื่องดังกล่าวทำให้กูเกิลครอบครองส่วนแบ่งตลาดเครื่องมือสืบคนในสหรัฐฯ มากถึง 80% และพวกเขายังใช้ประโยชน์ในเรื่องนี้สร้างรายได้จากการโฆษณาบนหน้าผลการค้นหาได้มหาศาล โดยเมื่อปีก่อน กูเกิลมีรายได้จากเรื่องนี้ถึง 1.348 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 4.2 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 84% ของรายได้จากธุรกิจทั้งหมดของกูเกิล
อย่างไรก็ตาม เคนต์ วอล์คเกอร์ รองประธานอาวุโส และหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายกับกิจการทั่วโลกของกูเกิล ออกแถลงการณ์ตอบโต้คำฟ้องร้องของกระทรวงยุติธรรม โดยระบุว่า การฟ้องร้องในวันนี้มีจุดบกพร่องใหญ่หลวง ผู้คนใช้กูเกิลเพราะพวกเขา “เลือก” ที่จะใช้ไม่ได้ “ถูกบังคับ” หรือเพราะไม่มีทางเลือกอื่น
แถลงกาณณ์ของวอล์คเกอร์ระบุต่อว่า การฟ้องร้องของกระทรวงยุติธรรมครั้งนี้เกิดจากข้อถงเถียงเรื่องการผูกขาดที่ยังคลุมเครือ ซึ่งไม่มีส่วนช่วยผู้บริโภคเลย และในทางกลับกัน การฟ้องร้องนี้จะทำให้บริการสืบค้นทางเลือกที่คุณภาพต่ำกว่า โผล่ขึ้นมามากมาย, ทำให้ราคาโทรศัพท์สูงขึ้น และทำให้ผู้คนเข้าถึงบริการสืบค้นที่พวกเขาต้องการใช้ยากขึ้นด้วย
...
นอกจากนี้ การจ่ายเงินเพื่อให้ กูเกิล เป็นเครื่องมือค้นหาหลักบนสมาร์ทโฟนอย่างแอปเปิล ก็ไม่ได้ต่างจากวิธีการของธุรกิจอื่นๆ ในการโปรโมตสินค้าตัวเอง เหมือนแบรนด์ซีเรียลอาหารเช้าเจ้าหนึ่ง อาจจ่ายเงินให้กับซุปเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้วางสินค้าของพวกเขาอยู่หน้าสุดของแถว หรือให้วางอยู่ในระดับสายตาของลูกค้า
อนึ่ง ความเคลื่อนไหวของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ นับเป็นการฟ้องร้องต่อต้านการผูกขาดของบริษัทเทคโนโลยีครั้งใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่กรณีของบริษัท ไมโครซอฟท์ ในปี 2541 และคดีของบริษัท AT&T ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจบลงโดยที่ AT&T ถูกแยกบริษัท โดยในกรณีล่าสุด นายเจฟฟรีย์ โรเซน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม ไม่ตัดความเป็นไปได้ที่จะมีการแยกบริษัทกูเกิล.