การสร้างเครือข่ายการจัดหาพลังงานสะอาด ทั่วโลกนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็มีข้อจำกัดด้านการขนส่งพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบของกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล จึงเกิดความต้องการเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนพลังงานหมุนเวียนจำนวนที่ล้นเหลือให้เป็นไฮโดรเจน เพื่อขนส่งไฮโดรเจนไปยังเป้าหมายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

ลดความต้องการนั้นเป็นไปได้แล้ว เมื่อทีมวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกาหลี (The Korea Institute of Science and Technology-KIST) คิดค้นเทคโนโลยีสกัดไฮโดรเจนที่มีความบริสุทธิ์สูงจากแอมโมเนียและผลิตพลังงานไฟฟ้าร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิง แต่ก๊าซไฮโดรเจนไม่อาจขนส่งได้ในปริมาณมาก การเอาชนะปัญหาดังกล่าวจึงต้องใช้สารเคมีในรูปของเหลว ให้เป็นตัวพาไฮโดรเจน วิธีนี้จะคล้ายกับวิธีการขนส่งเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลในรูปของเหลวที่ใช้กันในปัจจุบัน

ทีมวิจัยเผยว่าแอมโมเนียเหลวสามารถกักเก็บไฮโดรเจนได้มากกว่าไฮโดรเจนเหลวประมาณ 1.5 เท่าภายใต้ปริมาตรเดียวกัน แตกต่างจากวิธีการผลิตไฮโดรเจนแบบเดิมที่เปลี่ยนแปลงไอก๊าซธรรมชาติ ที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากในกระบวนการผลิต ซึ่งวิธีการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้แอมโมเนียจะนำไปสู่การผลิตไฮโดรเจนและไนโตรเจนเท่านั้น.

(ภาพประกอบ Credit : Korea Institue of Science and Technology (KIST))