พื้นมหาสมุทรเมื่อเกือบ 540 ล้านปีก่อนมีสิ่งมีชีวิตผุดขึ้นจำนวนมาก เช่น สัตว์คล้ายหนอนหรือสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่ขุดหลุมเป็นโครงสร้างซับซ้อนในโคลนหรือทราย โดยก่อนหน้านั้นสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ปราศจากความอุดมสมบูรณ์ ของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศทางทะเลยุคแรกๆ จึงเป็นสิ่งที่นักวิจัยพยายามค้นคว้ามาอย่างต่อเนื่อง

เมื่อเร็วๆนี้ทีมวิจัยนานาชาตินำโดยลูอิส บัวโตส์ นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยซัสแคตเชวัน ในแคนาดา ได้ลงงานวิจัยที่ได้ทำมานานกว่า 20 ปีในวารสารความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยตรวจสอบการก่อตัวของหินหลายร้อยแห่งในสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกทวีป ที่ทำให้เห็นชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับระบบนิเวศของมหาสมุทรยุคโบราณและสิ่งมีชีวิตในช่วงเวลานั้น ทีมระบุว่าเบาะแสสำคัญก็คือร่องรอยซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลที่เหมือนเป็นโพรงทางเดินของสัตว์ ซึ่งมักจะหลงเหลืออยู่ตามสภาพแวดล้อม เฉพาะของพื้นมหาสมุทรนอกชายฝั่ง

ทีมเผยว่าปรากฏการณ์ทางชีวภาพที่จู่ๆสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอุบัติขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน อย่าง แคมเบรียน เอ็กโพลชั่น และเหตุการณ์ขยายตัวของความหลากหลายทางชีวภาพครั้งใหญ่ในมหายุคออร์โดวิเชียน เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนผ่านซากฟอสซิล เผยให้เห็นการทำงานของสิ่งมีชีวิตที่มีร่างกาย อ่อนนุ่มและเนื้อเยื่อเน่าเร็วมาก อีกทั้งการวิจัยยังให้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆทางมุมมองวิวัฒนาการของการก่อตัวชั้นหิน และอาจช่วยให้มนุษย์เผชิญกับความท้าทาย ของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน.

(ภาพประกอบ Credit : Luis Buatois)