ผลึกโปรตีนของเอนไซม์ glutaminyl cyclase ของมนุษย์และโครงสร้างอะตอมของสารยับยั้งใหม่ Photo : Lisa-Marie Funk
โรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในความท้าทายด้านการแพทย์และสังคมที่ยิ่งใหญ่ มีประชากรมากกว่า 50 ล้านรายทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโรคนี้ เฉพาะในเยอรมนีเองก็มีกว่า 1,200,000 ราย สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพในสมอง ทำให้ผู้ป่วยหลงลืมและหงุดหงิดมากขึ้น และไม่อาจใช้ชีวิตได้อย่างอิสระอีกต่อไป แม้จะมีการวิจัยอย่างเข้มข้นถึงหนทางรักษา แต่โรคอัลไซเมอร์ก็ยังถือว่าไม่สามารถรักษาได้ในปัจจุบัน
ล่าสุด นักวิจัยจากศูนย์ชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลแห่งมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน ร่วมกับสถาบันเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัดฟรอนโฮเฟอร์ ในเยอรมนี ได้ค้นพบแนวโน้มที่เป็นไปได้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากสิ่งที่ค้นพบเมื่อหลายปีก่อน ว่าเอนไซม์เฉพาะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเผาผลาญฮอร์โมนในสมองของมนุษย์ มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์และมีผลต่อการพัฒนาโรคนี้ ทีมวิจัยทำการตรวจสอบกลไกการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์โดยใช้ผลึกของโปรตีน ทำให้เห็นภาพรวมของเอนไซม์ที่ใช้งานได้เป็นครั้งแรก สิ่งนี้ทำให้สามารถสร้างสารยับยั้งตัวใหม่ นำไปสู่การเลือกที่มีผลผูกพันสูงโดยไม่มีความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
นอกจากนี้ นักวิจัยยังประสบความสำเร็จในการกำหนดโครงสร้างอะตอมของเอนไซม์ในมนุษย์ด้วยสารตัวใหม่ การค้นพบนี้จึงเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาตัวยับยั้งต่อไป และสร้างความมั่นใจว่าผลลัพธ์ของทีมวิจัยชุดนี้จะนำไปสู่การพัฒนายารักษารุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพ.