Credit : Tomsk Polytechnic University

พลังงานไฮโดรเจนนั้นเชื่อว่าเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก หรือเป็นพลังงานแห่งอนาคต ปัจจุบันจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ไฮโดรเจนสามารถเป็นทางออกสำหรับความท้าทายด้านพลังงานระดับโลก แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องแก้ไข โดยเฉพาะการค้นหาวิธีการให้พลังงานไฮโดรเจนมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคทอมส์ค และทีมจากมหาวิทยาลัยเคมีและเทคโนโลยีปราก รวมถึงมหาวิทยาลัยยัน เอวังเกลิสตา ปูร์กิเญ ในสาธารณรัฐเช็ก ได้พัฒนาวัสดุ 2 มิติแบบใหม่ เป็นโครงสร้าง 3 ชั้นที่มีความหนา 1 ไมโครเมตร ชั้นล่างเป็นแผ่นฟิล์มบางของทองคำ ชั้นที่ 2 ทำจากทองคำ 10 นาโนเมตร และชั้นที่ 3 เป็นแผ่นฟิล์มโลหะอินทรีย์ของสารประกอบโครเมียมและโมเลกุลอินทรีย์ วัสดุนี้ใช้เพื่อผลิตโมเลกุลไฮโดรเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพจากน้ำจืดเกลือและน้ำเสีย โดยการสัมผัสกับแสงแดด

ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่า โลหะอินทรีย์ทำหน้าที่เป็นตัวกรองสิ่งสกปรกให้ผ่านน้ำบริสุทธิ์แบบที่ไม่มีสิ่งเจือปนไปยังชั้นโลหะ เมื่อทำการทดลองก็พบว่าวัสดุขนาด 100 ตารางเซนติเมตรสามารถผลิตไฮโดรเจนได้ 0.5 ลิตรในหนึ่งชั่วโมง นับเป็นหนึ่งในอัตราสูงสุดที่บันทึกไว้ได้ของวัสดุ 2 มิติแบบใหม่นี้.