Credit : Jun Chen Lab/UCLA

การสื่อสารนั้นอาจไม่จำเป็นต้องเอ่ยเป็น ภาษาพูด แต่มนุษย์ยังสามารถใช้อวัจนภาษา อย่างอวัยวะของร่างกายเป็นตัวช่วยในการสื่อสารกับคนรอบข้าง โดยเฉพาะผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหรือพิการทางหู ที่จะเห็นบุคคลกลุ่มนี้ใช้ภาษามือในการสื่อสารกัน ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ภาษามือมากกว่า 300 ภาษา โดยคนพิการทางหูจำนวนกว่า 70 ล้านคนทั่วโลก

ล่าสุด ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุน เฉิน นักวิศวกรรมชีวเวชจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียลอสแอนเจลิส หรือยูซีแอลเอ (UCLA) ได้ออกแบบอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายถุงมือ แต่แปลภาษามืออเมริกันให้เป็นภาษาอังกฤษได้แบบเรียลไทม์หรือตามเวลาจริงผ่านแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟนถุงมือจะติดตั้งตัวรับรู้หรือเซ็นเซอร์ที่บางและยืดหยุ่น ใช้กับ ความยาวของนิ้วทั้งห้า เซ็นเซอร์เหล่านี้ทำจากเส้นด้ายที่มีกระแส ไฟฟ้ารับการเคลื่อนไหวของมือและตำแหน่งนิ้วที่ใช้แทนตัวอักษร ตัวเลข คำ และวลี จากนั้นอุปกรณ์จะเปลี่ยนการเคลื่อนไหวนิ้วเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกส่งไปยังแผงวงจรขนาดเท่าเหรียญดอลลาร์ที่ติดไว้บนหลังมือ บอร์ดจะส่งสัญญาณแบบไร้สายไปยังสมาร์ทโฟน และแปลสัญญาณที่
ได้รับให้เป็นคำพูดในอัตราประมาณหนึ่งคำต่อวินาที

นักวิจัยเผยว่าอุปกรณ์นี้จะเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับผู้ที่ใช้ภาษามือสำหรับสื่อสารโดยตรง กับผู้ที่ไม่รู้ภาษามือ โดยไม่ต้องรอล่ามแปลภาษามือให้กับบุคคลเหล่านั้น และหวังว่าจะช่วยให้ผู้คน เรียนรู้ภาษามือได้มากขึ้น.