Credit : NIGPAS
โลกของเรานั้นผ่านการการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่มาหลายครั้ง นักวิจัยพยายามค้นคว้ามาตลอด เพราะในอนาคตข้างหน้าก็อาจเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ดังนั้น การเรียนรู้อดีตก็อาจช่วยให้รับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ล่าสุดมีการศึกษาเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ปลายยุคเพอร์เมียน เมื่อประมาณ 252 ล้านปีก่อน ที่ก่อวิกฤตการณ์ทางระบบนิเวศทางทะเลและทางบกอย่างรุนแรง ทำให้ 75% ของสายพันธุ์ชีวภาพบนโลกหายไป
แต่การกู้คืนระบบนิเวศบนโลกนั้นใช้เวลานานเท่าไรยังเป็นที่สงสัย ทีมวิจัยนำโดยสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง ในประเทศจีน (Nanjing Institute of Geology and Palaeontology of the Chinese Academy of Sciences-NIGPAS) ได้หาคำตอบจากการศึกษาตะกอนในทะเลสาบกลางยุคไทรแอสสิก ที่ปัจจุบันเป็นลุ่มน้ำ Ordos ของจีนครอบคลุมพื้นที่ 370,000 ตารางกิโลเมตรผ่านมณฑลส่านซี มณฑลกานซู่ มณฑลซานซี และเขตการปกครองหนิงเซี่ย
การวิจัยในพื้นที่ดังกล่าวทำให้ประเมินได้ว่าทั้งทะเลสาบและระบบนิเวศป่าพรุที่ฟื้นฟูสร้างขึ้นใหม่ อาจใช้เวลานานถึง 10 ล้านปี หลังจากการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ปลายยุคเพอร์เมียน และคาดคะเนว่าระบบนิเวศทางทะเลน่าจะฟื้นตัวอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่ารูปแบบของการฟื้นตัวของระบบนิเวศทะเลสาบจะยังไม่ชัดเจนนัก.