Credit : National Astronomical Observatory of the Chinese Academy of Sciences

เมื่อเร็วๆนี้ นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฟิสค์ ในเมืองแนชวิลล์ รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยข้อมูลครั้งแรกจากกล้องโทรทรรศน์แบบชมิดท์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก Large Sky Area MultiObject Fiber Spectroscopic Telescope (LAMOST) ที่เป็นเครื่องมือทรงประสิทธิภาพของจีน เกี่ยวกับการเฝ้าติดตามดูดาวแคระประเภท M ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่พบมากที่สุดในดาราจักรหรือกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา

ดาวแคระประเภท M หรือรู้จักกันทั่วไปคือดาวแคระแดง ถือเป็นเป้าหมายที่ยอดเยี่ยมสำหรับการตามล่าหาดาว เคราะห์นอกระบบ ซึ่งการสำรวจดาวฤกษ์เหล่านี้จะช่วยในการจำแนกดาวเคราะห์ใหม่ๆที่คล้ายโลก รวมถึงดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่คล้ายโลกแต่มีมวลมากกว่าโลก ที่เรียกว่าซุปเปอร์เอิร์ธ (Super-Earth) ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่า ได้สร้างแบบจำลองเพื่อทำการหาอุณหภูมิรัศมีมวลและความส่องสว่างของดาวแคระประเภท M

ซึ่งจากการวัดด้วยแบบจำลองดังกล่าว แม้จะยังมีความไม่แน่นอนอยู่บ้าง แต่นักดาราศาสตร์ก็ได้รับข้อมูลพารามิเตอร์พื้นฐานหรือค่าคงที่แสดงลักษณะของประชากรดาวแคระประเภท M โดยพบว่ามีจำนวน 29,678 ดวง ซึ่งทีมวางแผนที่จะปรับปรุงแบบจำลองให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น.