(ภาพจาก : Andrea Baden/Hunter College)

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อระบบนิเวศโลก แต่ก็อาจไม่ได้ร้ายแรงที่สุดต่อสิ่งมีชีวิต เมื่อเร็วๆนี้ มีงานศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของธรรมชาติในปัจจุบัน โดยทีมวิจัยจากศูนย์ Northeast Climate Adaptation Science Center ที่มหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฮิร์สต์ สังกัดองค์กรสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐอเมริกา และวิทยาลัยฮันเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ชี้ให้เห็นว่าการเสื่อมสภาพและการกระจายตัวของที่อยู่อาศัย รวมถึงการทำลายที่มากเกินไป ได้รุกรานและก่อหายนะแก่สิ่งมีชีวิต นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เพื่อทำความเข้าใจกับภัยคุกคามนี้ ทีมได้จำลองผลกระทบจากการตัดไม้ทำลายป่าและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในศตวรรษหน้า ที่มีผลต่อสัตว์จำพวกลิง 2 ชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์ในสกุล Varecia ที่มีลำตัวสีดำสลับกับสีขาว ขนมีลักษณะยาว ลิงพวกนี้มีบทบาทสำคัญในการแพร่พันธุ์รายใหญ่ที่เกาะมาดากัสการ์และจะไวต่อการสูญเสียถิ่นอาศัย ทีมวิจัยได้รวบรวมข้อมูล 88 ปีเพื่อศึกษาว่าการตัดไม้ทำลายป่าจะส่งผลกระทบต่อลิงชนิดนี้อย่างไร

ทีมประเมินว่า ความยั่งยืนของอยู่อาศัยในป่าฝนอาจลดลงได้มากถึง 59% จากการตัดไม้ทำลายป่า และ 75% จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพียงอย่างเดียว มีความเป็นไปได้ที่ความยั่งยืนของที่อยู่อาศัยอาจสูญเสียจากทั้ง 2 ประการก่อนปี พ.ศ.2623 ดังนั้น การปกป้องพื้นที่คุ้มครองจึงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ซึ่งต้องมุ่งเน้นการบำรุงรักษาและเพิ่มความสมบูรณ์ของพื้นที่คุ้มครองให้ได้.