(Credit : Bene et al., International Center for Tropical Agriculture)
ความไม่ยั่งยืนของระบบอาหารในโลกนั้นมีความสำคัญ เนื่องจากโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับคุณภาพอาหารและความมั่นคงด้านอาหารในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า มีการวิจัยพบว่าอาหารของมนุษย์ทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น ในขณะที่ไม่สามารถเลี้ยงดูประชากรมากกว่า 800 ล้านคนได้อย่างเหมาะสม
การศึกษาระบบอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก จึงมีข้อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงอาหารเพื่อสุขภาพมนุษย์และสุขภาพของโลก แต่ทีมวิจัยจากศูนย์เกษตรเขตร้อนนานาชาติ (The International Center for Tropical Agriculture-CIAT) ได้ให้เหตุผลว่า ต้องรวมตัวแปรทางสังคมและเศรษฐกิจเพื่อให้เข้าใจว่าระบบอาหารที่ยั่งยืนนั้นเป็นอย่างไร ทีมเผยว่าได้ตัดสินตัวชี้วัด 20 อย่างที่มีอยู่ใน 97 ประเทศ จากภูมิภาคที่มีรายได้น้อย ปานกลาง และสูง โดยเรียงลำดับประเภทตัวชี้วัดดังกล่าวให้เป็น 4 มิติ คือสิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจ, สังคม, อาหาร และโภชนาการ ตัวชี้วัดจะครอบคลุมปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตร ขนาดของแรงงานสตรี การค้าที่เป็นธรรม ความผันผวนของราคาอาหาร การสูญเสียอาหารและอาหารเหลือทิ้ง จากนั้นก็สร้างแผนที่เพื่อจัดอันดับความยั่งยืนของระบบอาหารทั่วโลก
ทีมเผยว่าตัวบ่งชี้นี้สามารถใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดเวลา และมีศักยภาพเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการทำงาน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประชากรที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง.