ภาพ : South African Radio Astronomy Observatory (SARAO)

เมื่อเร็วๆนี้ กล้องโทรทรรศน์วิทยุเมียร์แคท (MeerKAT) ตั้งอยู่ที่แคว้นการู ในแอฟริกาใต้ ได้ตรวจพบแสงสว่างวาบอย่างรวดเร็ว บนท้องฟ้ามากกว่า 3 ครั้งในช่วงเวลา 3 สัปดาห์ แบบที่ไม่เหมือนใครและไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งระบุว่าเป็นการปล่อยออกจากคลื่นวิทยุของระบบดาวคู่แห่งหนึ่งที่โคจรรอบกันและกันทุก 22 วัน ในกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา

นักดาราศาสตร์เรียกเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์นี้ว่า “ภาวะชั่วครู่” เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ปรากฏและหายไป ที่มีลักษณะเลือนหรือสว่างขึ้นไม่กี่วินาที ไม่กี่วัน หรือแม้กระทั่งไม่กี่ปี เหตุการณ์เหล่านี้มีความสำคัญเพราะแสดงว่าดวงดาวมีชีวิตวิวัฒนาการและตายไป ส่วนต้นเหตุของแสงลุกจ้าที่ปรากฏและลักษณะที่แน่นอนของดวงดาวที่ประกอบกันเป็นระบบดาวคู่นั้น นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่แน่ใจ แต่ก็คิดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของโคโรนา (corona) ซึ่งเป็นบรรยากาศอันเบาบางชั้นนอกสุดของดาวฤกษ์

ที่มาของปรากฏการณ์นี้อยู่ในกลุ่มดาว แท่นบูชา (constellation of Ara) ทางตอนใต้ พบว่ามีดาวขนาดใหญ่ดวงหนึ่งมีมวลประมาณ 2 เท่าของดวงอาทิตย์ ซึ่งตรวจจับระยะเวลาการโคจรด้วยการสังเกตแสงของกล้องโทรทรรศน์ยักษ์แห่งแอฟริกาใต้ (Southern African Large Telescope-SALT) พบว่าดาวฤกษ์สว่างเพียงพอที่จะตรวจสอบด้วยกล้องโทรทรรศน์แบบใช้แสงในช่วง 18 ปีที่ผ่านมา ดาวฤกษ์เปล่งออกมาเกือบทุกสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตั้งแต่รังสีเอกซ์ไปจนถึงรังสีอัลตราไวโอเลตจนถึงคลื่นวิทยุ ทำให้เห็นว่ามีความสว่างแตกต่างกันทุก 3 สัปดาห์ซึ่งตรงกับช่วงเวลาการโคจร.

...