ทุกวันนี้มีการใช้น้ำมากกว่า 141,000 ล้านลิตรเพื่อเพียงล้างห้องน้ำเท่านั้น ขณะที่ประชากรโลกจำนวนหลายล้านคนกลับประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าจำนวนการใช้น้ำในสุขาลดลง 50% ซึ่งไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ หลังจากตัก ซิง หว่อง ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากห้องปฏิบัติการหว่องวิศวกรรมทางธรรมชาติ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต คิดค้นวิธีการที่จะช่วยประหยัดน้ำที่ใช้ในห้องสุขาได้

นักวิจัยเผยว่าได้พัฒนาสารเคลือบผิวที่ได้แรงบันดาลใจจากชีวภาพ ของเหลว กากตะกอนและการต้านทานแบคทีเรีย ที่จะช่วยลดปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในการใช้ชักโครกแบบดั้งเดิมซึ่งมักจะต้องใช้ 6 ลิตร สารเคลือบนี้ยังต้านทานแบคทีเรียที่แพร่กระจายโรคติดเชื้อและกลิ่นไม่พึงประสงค์ วิธีการทำงานคือพ่นสารเคลือบไปที่โถสุขภัณฑ์เซรามิกใน 2 ขั้นตอน เมื่อพ่นครั้งแรกและปล่อยให้แห้ง สารเคลือบจะสร้างโมเลกุลลักษณะคล้ายขนเล็กๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลางบางกว่า 1,000,000 เท่าของเส้นผมมนุษย์ โมเลกุลจะสร้างพื้นผิวที่เรียบเนียน จากนั้นพ่นครั้งที่ 2 สารจะซึมผ่านชั้นบางๆ ของน้ำมันหล่อลื่นที่เกาะรอบๆเส้นขนขนาดนาโนเหล่านั้นเพื่อสร้างพื้นผิวที่ลื่นมากขึ้น

ทั้งนี้ ทีมได้ทดลองพ่นสารเคลือบผิวนี้ที่โถส้วมในห้องแล็บและหย่อนอุจจาระสังเคราะห์ไว้ในนั้น อุจจาระปลอมก็เลื่อนไหลลงอย่างสมบูรณ์และเหลือเกาะบนพื้นผิวโถส้วม ทำให้เห็นว่าสารเคลือบได้ทำความสะอาดของเสียตกค้างภายในโถสุขภัณฑ์ได้ดีและใช้น้ำเพียงเล็กน้อย นักวิจัยคาดว่าการเคลือบจะติดทนนานต่อชักโครกของเสียทิ้งราวๆ 500 ครั้งในห้องสุขา ก่อนที่จะพ่นสารเคลือบซ้ำลงไปอีกเพื่อใช้งานครั้งต่อไป.

Credit : Wong Laboratory for Nature Inspired Engineering, Penn State