กระแสความนิยมของผู้บริโภคกำลังหันมาชื่นชอบโปรตีนที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น เบอร์เกอร์ปลอดเนื้อวัว ไข่เจียวปลอดไข่ ไอศกรีมปลอดนม
เมื่อ 13 ก.ย.62 สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน นายบรูซ ฟรายริช ผู้อำนวยการสถาบัน Good Food (กู้ด ฟู้ด) เจ้าภาพจัดการประชุมที่เมืองซาน ฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐฯ ตลอด 3 วันเผย มีเจ้าหน้าที่จากญี่ปุ่น และสิงคโปร์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตัวแทนรัฐบาลหลายประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิต นักวิทยาศาสตร์ พ่อค้าผู้ประกอบการ และนักลงทุน เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กับสินค้าเพื่อบริโภคให้กับนักมังสวิรัติรุ่นใหม่
บริษัทฟาสต์ ฟู้ดรายใหญ่อย่างเบอร์เกอร์ คิง ก็เสนอเมนูปลอดเนื้อ ที่ชื่อว่า “อิมพอสซิเบิล ว็อบเปอร์” แม็คโดนัลด์ ก็มีการทำงานร่วมกับบริษัท เนสเล่ คิดค้นเบอร์เกอร์จากพืชผักที่ปลูกเอง ล่าสุด บริษัท ไทสัน ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐอาร์คันซอ ในสหรัฐฯ ประกาศเข้าถือหุ้น นิว เวฟ ฟู้ดส์ สตาร์ท-อัพ ในเมืองซาน ฟรานซิสโก ที่พัฒนาเนื้อกุ้งเทียมที่ทำจากสาหร่ายกับโปรตีนจากถั่วเหลือง ต่อไปก็จะทำเนื้อปูและกุ้งล็อบสเตอร์
...
บริษัท โครเกอร์ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีเครือข่ายสาขาใหญ่อันดับ 2 ในสหรัฐฯ ก็ประกาศเตรียมออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่ปลอดเนื้อ แล้วขายภายใต้แบรนด์ “ซิมเปิล ทรูธ” จำหน่ายหลายอย่าง ตั้งแต่เบอร์เกอร์ไปถึงซอสเนื้อโบลองเนส แต่อุปสรรคสำหรับการผลิตให้ดูสมจริงได้รสชาติเนื้อแท้ยังเป็นโจทย์ใหญ่ รวมถึงเรื่องราคาและปัจจัยอื่น ทั้งการวางสินค้าตามร้านค้าและบนเมนูตามร้านอาหาร
อีกทั้งอุปสรรคใหญ่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ข้อวิพากษ์วิจารณ์การทำเบอร์เกอร์จากพืชผักที่ปลูกไม่ใช่ทางเลือกของสุขภาพ เพราะกรรมวิธีการทำที่มีเครื่องปรุงกว่า 20 ชนิดนั้นมีปริมาณเกลือค่อนข้างสูง ซึ่งหลายรัฐในสหรัฐฯ ยังผ่านข้อกฎหมายห้ามผู้ค้าปลีกที่ขายเนื้อทางเลือกติดฉลากดูเหมือนว่าเป็น “เนื้อ” หรือแม้แต่ “ซอสมะเขือเทศ” ที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรคนรากหญ้า ไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรมเนื้อ เป็นผู้ผลักดันกฎหมายนี้