รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) เผยแพร่เมื่อ 21 ส.ค.ระบุถึงการพบปริมาณไมโครพลาสติก หรือพลาสติกขนาดเล็กในน้ำดื่ม ซึ่งขนาดชิ้นส่วนเล็กกว่า 5 มม. ที่พบตามก๊อกน้ำ น้ำดื่มบรรจุขวดและตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปทั้งแม่น้ำและตามทะเลสาบ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากกระบวนการบำบัดดูแลและระบบจ่ายน้ำ ไม่ส่งผลอันตรายต่อร่างกายมนุษย์มากนัก
อย่างไรก็ตาม ด็อกเตอร์ บรูซ กอร์ดอน ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การ อนามัยโลก ยอมรับว่าข้อมูลที่มีอยู่ยังน้อยและจำเป็นต้องวิจัยค้นคว้าผลกระทบเรื่องนี้เพิ่มเติม พร้อมเรียกร้องชาวโลกพยายามลดมลภาวะจากพลาสติก แต่สิ่งสำคัญอันดับแรกที่ยังต้องวิจัยพิสูจน์ปัจจัยเสี่ยงของน้ำดื่มมากขึ้น อาทิ เชื้อแบคทีเรีย สาเหตุของโรคไทฟอยด์และอหิวาตกโรค
ขณะเดียวกัน นายแอนดริว มาเยส อาจารย์อาวุโสด้านเคมีแห่งมหาวิทยาลัยในอังกฤษ ซึ่งไม่มีส่วนร่วมทำรายงานของ WHO ระบุแม้จะลดปัญหาพลาสติกลงได้ แต่ไมโครพลาสติกก็ยังมีอยู่และควรทำความเข้าใจถึงผลกระทบระยะยาว.