ระบบนิเวศชายฝั่งนับว่ามีความสำคัญต่อมนุษยชาติในหลายๆด้าน แต่ตกอยู่ใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบการใช้ที่ดิน การเติบโตของประชากร สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ก่อเกิดการขยายตัวของสาหร่ายที่เป็นอันตรายเพราะออกซิเจนจะหมดลง ส่งผลต่อการท่องเที่ยว การประมง และสุขภาพของมนุษย์
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือองค์การนาซา จึงตั้งเป้าหมายจัดการกับปัญหาดังกล่าว โดยเลือกเครื่องมือสังเกตการณ์น่านน้ำชายฝั่งเพื่อช่วยปกป้องความยั่งยืนของระบบนิเวศ เครื่องมือดังกล่าวคิดค้นโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวแฮมพ์เชียร์ วิทยาเขตเดอรัม ในรัฐนิวแฮมพ์เชียร์ สหรัฐอเมริกา จะใช้สังเกตเอกลักษณ์ทางชีววิทยาของมหาสมุทร, เคมี และนิเวศวิทยาในอ่าวเม็กซิโก ตามแนวชายฝั่งของอเมริกา รวมถึงเส้นทางไกลลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกจากแม่น้ำอเมซอน เพื่อปรับปรุงการจัดการทรัพยากร และเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจของน่านน้ำชายฝั่งเหล่านี้
เครื่องมือชื่อ Geosynchronous Littoral Imaging and Monitoring Radiometer หรือ GLIMR ที่องค์การนาซาเลือกมาใช้ จะปล่อยขึ้นสู่วงโคจรใน พ.ศ.2569-2570 เพื่อตรวจสอบธรณีวิทยาในวงกว้างมีศูนย์กลางอยู่ที่อ่าวเม็กซิโกเป็นเวลา 15 ชั่วโมงต่อวัน โดยจะวัดความเข้มมหาสมุทร วัดการสะท้อนแสงจากน้ำชายฝั่งที่ซับซ้อน ซึ่งสำคัญต่อการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น วงจรชีวิตของแพลงก์ตอนพืชที่ชายฝั่งและการรั่วไหลของน้ำมัน.
Credit : NASA