(Credit : Leiden University)
หนึ่งในความสงสัยของนักโบราณคดีที่มีต่อเครือญาติเก่าแก่ของมนุษย์เราอย่างมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล (Neanderthals) ที่อาศัยอยู่ในทวีปยุโรปและเอเชียเมื่อประมาณ 400,000-40,000 ปีก่อน นั่นคือเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วนี้ อาศัยอยู่ในเวลาเดียวกันกับมนุษย์ยุคใหม่ หรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ใด และใช้ชีวิตอย่างไร
นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยไลเดน ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ใช้แบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ “โฮมินินสเปซ” (Homininspace) ค้นหาคำตอบเกี่ยวกับสถานที่และยุคของการอาศัยอยู่ของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัลในยุโรปตะวันตก โดยป้อนข้อมูลจากพื้นที่ 83 แห่งในยุโรปตะวันตกที่พบหลักฐานมนุษย์กลุ่มนี้ลงในแบบจำลอง พร้อมด้วยข้อมูล 470 รายการของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล ซึ่งพื้นที่จำลองส่วนใหญ่อยู่ในฝรั่งเศส โดยระบบจะเปรียบเทียบข้อมูลนี้กับผลการจำลอง
ผลวิจัยพบว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลมีอัตราการเกิดสูง อาจมีลูกมากและน่าจะเป็นผู้หญิง 40% ซึ่งสามารถดูได้ว่าตัวเลขนี้สอดคล้องกันหรือไม่ กับข้อมูลทางโบราณคดีอื่นๆ เช่น เส้นบางเส้นบนฟันชี้ให้เห็นถึงช่วงเวลาของความเครียด เช่น ผู้หญิงที่มีลูก 6 คน และมีอาการเจ็บครรภ์ 6 ครั้ง ก็อาจเห็นเส้นบนซากฟัน นอกจากนี้ เป็นไปได้ว่ามนุษย์โบราณกลุ่มนี้จะอาศัยกันอยู่ในกลุ่มที่เล็กกว่าที่เคยคิดไว้ก่อนหน้า.