เมื่อไม่กี่วันก่อน ฯพณฯ หลู่ย์ เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย ได้เขียนบทความแสดงความยินดีซึ่งมีหัวข้อว่า “ผลักดันความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง เพิ่มและสร้างเสริมความร่วมมือจีน-ไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบสามปี ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง
ด้วยห้วงสัปดาห์ก่อน เป็นสัปดาห์ล้านช้าง-แม่โขง ครั้งที่สอง และก็เป็นการครบรอบ 3 ปีที่ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงได้ริเริ่ม จีน กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และเวียดนาม ซึ่งเป็น 6 ประเทศตามสองฟากฝั่งแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงได้เริ่มกลไกความร่วมมือระดับอนุภูมิภาครูปแบบใหม่นี้ในปี 2016 และเห็นพ้องกันว่าจะถือวันที่ 23 มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการจัดประชุมผู้นำครั้งแรกเป็นสัปดาห์ล้านช้าง-แม่โขงของทุกปี
ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขงก่อตั้งมา 3 ปี สามารถใช้ข้อได้เปรียบของ 6 ประเทศ เช่น ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ลักษณะเกื้อหนุนกับทางเศรษฐกิจ ผลักดันความร่วมมืออย่างรอบด้าน สร้างกรอบความร่วมมือหลายระดับ หลายมิติ ดำเนินการโครงการความร่วมมือทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและโครงการอุตสาหกรรมกว่า 30 โครงการ และโครงการขนาดกลาง ขนาดเล็กนับร้อยโครงการ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมในอนุภูมิภาคนี้
ส่วนโครงการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น โครงการแสงสว่างล้านช้าง-แม่โขง โครงการค่ายวัฒนธรรมผู้นำเยาวชนล้านช้าง-แม่โขง โครงการโรงหนัง กลางแจ้ง
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่เสนอความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ซึ่งจีนและประเทศไทยมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดภายใต้กรอบความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ผ่านการดำเนินโครงการหลายโครงการ เช่น โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โครงการการค้าข้ามแดนหมู่บ้านอีคอมเมิร์ซ มีทั้งด้านเกษตรกรรม อาชีวศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการแลกเปลี่ยนเยาวชนเป็นต้น
...
หลักการของสมาชิก 6 ประเทศล้านช้าง-แม่โขง นั่นคือ “การพัฒนาต้องมาก่อน หารืออย่างเสมอภาค เน้นการปฏิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพ เปิดกว้างยอมรับกัน” และถือว่า “ดื่มน้ำจากแม่น้ำเดียวกัน โชคชะตา เชื่อมโยงกัน” นั่นเอง...
ฤทัยรัช จันทร์เพ็ญ