Credit : WSU

กรรมวิธีการทำคอนกรีตแบบดั้งเดิมจะใช้การผสมปูนซีเมนต์กับทรายและกรวด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 5–8% เพราะปูนซีเมนต์นับเป็นส่วนประกอบสำคัญในคอนกรีตที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงและใช้พลังงานมหาศาลในการผลิต

แต่เมื่อไม่นานนี้ อาจารย์และนักศึกษาด้านวิศวกรโยธาและสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยรัฐวอชิงตันในสหรัฐอเมริกา ได้คิดค้นทางเลือกใหม่ในการทำคอนกรีตให้ยั่งยืนคงทน ทั้งยังช่วยลดโลกร้อน โดยใช้ของเสียคือเถ้าลอยจากถ่านหินที่เหลือจากการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งทีมวิศวกรเผยว่า วิธีการผลิตแบบใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนหรือใช้ปูนซีเมนต์ใดๆ แต่ใช้กราฟีนออกไซด์ (graphene oxide) ซึ่งเป็นวัสดุนาโน (nanomaterial) ที่ค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ มาทำปฏิกิริยาระหว่างเถ้าลอยและน้ำ จนเปลี่ยนเถ้าลอยให้กลายเป็นวัสดุซีเมนต์ที่แข็งแรง

เถ้าลอยที่หลงเหลือหลังถ่านหินถูกเผาไหม้กลายเป็นประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิธีจัดการขยะในสหรัฐอเมริกา เถ้าลอยมากกว่า 50% จะถูกดักจับและทิ้งลงในหลุมฝังกลบซึ่งจะกรองการลอยเข้าสู่สิ่งแวดล้อมใกล้เคียง ซึ่งการนำขยะจากถ่านหินมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ถือเป็นความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากการผลิตคอนกรีตได้ อย่างมาก.