กรดในมหาสมุทรเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกลายเป็นอุปสรรคต่อความสามารถของปะการังที่ต้องผลิตโครงสร้างกระดูกแคลเซียมคาร์บอเนต ภาวะของน้ำทะเลเป็นกรดจะทำให้โครงสร้างของปะการังอ่อนแอ กรดจะไปลดความหนาแน่นของโครงสร้างแข็งและทำลายปะการังจนเสียหาย แต่เมื่อไม่นานนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกษัตริย์อับดุลลาห์ ในซาอุดีอาระเบีย เกิดความสงสัยว่าปะการังอาจมีวิธีเอาตัวรอดจากภาวะกรดในมหาสมุทรด้วยตัวเอง

Credit : © 2018 Eric Tambutté.
Credit : © 2018 Eric Tambutté.

ทีมวิจัยจึงเลียนแบบสภาพภาวะกรดในมหาสมุทรในตู้ปลาทะเล แล้วนำปะการัง 2 สายพันธุ์ที่มักใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ อย่างปะการังดอกกะหล่ำที่อ่อนนุ่ม และปะการังสไตโลโฟรา พิสติลลาตา (Stylophora pistillata) มาวางลงในตู้ปลาที่มีระดับความเป็นกรดต่างกันเป็นเวลา 2 ปี ทีมอธิบายว่าเซลล์จะควบคุมการแสดงออกของยีน โดยการเพิ่มสารกลุ่มเมธิล (Methyl) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) ที่เรียกว่า “การเติมหมู่เมธิลที่สายดีเอ็นเอ” (DNA methylation) ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีอ่านข้อมูลในดีเอ็นเอโดยไม่ต้องเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม

...

Credit : © 2018 Eric Tambutté.
Credit : © 2018 Eric Tambutté.

หลังจากครบ 2 ปี ทีมวิจัยได้เรียงลำดับข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนม (genome) ของปะการังและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ซึ่งสังเกตพบว่าปะการังที่เจริญเติบโตภายใต้สภาพที่เป็นกรดมากขึ้น จะมีระดับการเติมหมู่เมธิลที่สายดีเอ็นเอที่สูงขึ้น นั่นหมายความว่ายีนที่มีเมธิลเพิ่มขึ้น จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์และการตอบสนองต่อความเครียดของมัน จึงเป็นไปได้ว่าปะการังอาศัยกระบวนการเปลี่ยนแปลงการควบคุมยีน และเซลล์อาจเป็นตัวช่วยให้ปะการังปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป.