มุน แจ-อิน ประธานาธิบดีแห่งเกาหลีใต้ และ คิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดแห่งเกาหลีเหนือ จะร่วมประชุมกันในวันศุกร์ที่ 27 เม.ย. นี้อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบกว่าทศวรรษ หลังจากความสัมพันธ์ุระหว่างทั้ง 2 ประเทศพัฒนาขึ้นมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา
การประชุม มุน-คิม เกิดขึ้นท่ามกลางความคาดหวังมากมาย เรื่องการสร้างสันติภาพและการปลดอาวุธนิวเคลียร์ในคาบสมุทรเกาหลีเป็นประเด็นแรกที่จะมีการหารือกันอย่างไม่ต้องสงสัย แต่ทั้ง 2 ฝ่ายก็ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่กำลังรอการแก้ไข เช่นการคว่ำบาตรและการที่ครอบครัวต้องพลัดพรากจากกัน ซึ่งเชื่อว่าจะมีการพูดคุยการในการประชุมครั้งนี้ด้วย
*การประชุมนี้สำคัญไฉน?
...
การประชุมนี้นับเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะนอกจากจะเป็นการพบกันระหว่างผู้เกาหลีเหนือใต้และเหนือเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2550 แล้ว ยังเป็นครั้งแรกที่ คิม จอง-อึน พบปะกับผู้นำเกาหลีใต้อีกด้วย โดยมีการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์ แตกต่างเมื่อครั้งที่นายคิม แอบเดินทางไปพบกับสี จิ้นผิง ผู้นำจีน
นายคิมเริ่มการพบปะกับผู้นำเกาหลีใต้ตามรอย คิม จอง-อิล พ่อของเขา ที่เคยร่วมประชุมสุดยอดกับประธานาธิบดีแดนโสมขาวถึง 2 คนคือ คิม แด-จุง ในปี 2543 และ โน มู-ฮยอน ในปี 2550 เพื่อหาทางแก้ปัญหาภัยคุกคามนิวเคลียร์และสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 2 เกาหลี จนมีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม ‘แกซอง’ และครอบครัวที่พลัดพรากจากกันเพราะสงครามเกาหลีก็ได้กลับไปพบหน้ากันอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การประชุมในอดีตยังไม่สามารถทำให้เกิดการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ ขณะที่การยั่วยุทางนิวเคลียร์ของรัฐบาลคิม และการที่รัฐบาลหัวอนุรักษ์นิยมของเกาหลีใต้เริ่มใช้มาตรการแข็งกร้าวกับเปียงยางมากขึ้น ก็ล้มความพยายามสร้างสันติภาพต่างๆ ที่ผ่านมา จนกระทั่งในปีนี้ คิม จอง-อึน จู่ๆ เปลี่ยนท่าที หันมามุ่งเน้นมาตรการทางการทูต โดยเสนอจะเข้าพบกับผู้นำเกาหลีใต้กับสหรัฐฯ และถึงกับเอ่ยปากจะหยุดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ และขีปนาวุธด้วยตัวเอง
*สิ่งที่เกาหลีใต้ต้องการ
ผู้นำคนปัจจุบันของเกาหลีใต้คือนาย มุน แจ-อิน ผู้เคยเป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีโน และเคยมีส่วนร่วมในการเจรจาระหว่างเกาหลีมาแล้ว โดยหลังจากเขารับตำแหน่งผู้นำแดนโสมขาวเมื่อปีก่อน แนวคิดที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือก็ยังคงไม่แปรเปลี่ยน และผลักดันให้ประเทศมีปฏิสัมพันธ์กับแดนโสมแดงมากขึ้นด้วย
“ไม่มีข้อสงสัยเลยว่านายมุนต้องการให้การรวมชาติของเกาหลี เป็นส่วนหนึ่งในมรดกการปกครองของเขา” ศ. อี จี-ยอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรงเรียนนานาชาติแห่งมหาวิมยาลัยอเมริกัน (American University School of International Service) กล่าว
ขณะที่นายมุนแสดงความชัดเจนแล้วว่า สิ่งที่เขาต้องการจากประชุมสุดยอดที่หมู่บ้านปันมุนจอมคือ การทำสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างเกาหลีทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งในทางเทคนิคแล้วยังถือว่าอยู่ในภาวะทำสงครามต่อกันอยู่ เพื่อยุติความขัดแย้งที่ดำเนินมาอย่างยาวนานในคาบสมุทรเกาหลี
...
ด้านกระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งดูแลเรื่องความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ จัดเรื่องการปลดอาวุธนิวเคลียร์ และลดความตึงเครียดทางทหารเป็นเป้าหมายลำดับแรก ตามด้วยการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมกับเกาหลีเหนืออย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจรวมถึงการเปิดนิคมอุตสาหกรรมแกซอง ซึ่งเคยสร้างงานให้ชาวเกาหลีเหนือกว่า 55,000 ตำแหน่ง ก่อนถูกปิดเพราะปัญหาความขัดแย่งระหว่างประเทศในปี 2559 ด้วย
ทางการเกาหลีใต้ระบุด้วยว่า อาจจะมีการหารือให้จัดงานรวมญาติของสมาชิก 60,000 ครอบครัว ที่พลัดพรากในช่วงสงครามเกาหลี โดยการรวมญาติครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในประ 2558 ก่อนที่ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้จะเลวร้ายลงอีกครั้ง นอกจากนี้ยังอาจคุยเรื่องการปล่วยตัวนักโทษชาวต่างชาติด้วย
*เป้าหมายของเกาหลีเหนือ
สิ่งที่เกาหลีเหนือต้องการจากการประชุมสุดยอดครั้งนี้ไม่ชัดเจนเท่าเกาหลีใต้ แต่นักวิเคราะห์หลายคนจะระบุว่า สาเหตุที่นายคิมตัดสินใจเสนอเรื่องการเจรจาออกมาก็เพราะ ประเทศของเขาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการคว่ำบาตรของนานาชาติ โดยเฉพาะสหรัฐฯ เพื่อลงโทษต่อการยั่วยุต่างๆ
...
ดร. เจมส์ คิม ผู้อำนวยการ สถานบันการศึกษานโยบาย ‘อาซาน’ ระบุว่า เกาหลีเหนือมองว่าการเจรจากับเกาหลีเหนือ เป็นทางเลือกเดียวที่จะทำให้สหรัฐฯ ยอมเจรจากับพวกเขา แม้เกาหลีเหนือจะพยายามยืนยันว่าสาเหตุที่พวกเขาเสนอเรื่องการเจรจาขึ้นมาเป็นเพราะความ มั่นใจในตัวเอง ไม่ใช้ถูกกดดันจากการคว่ำบาตร
มีสัญญาณอีกอย่างที่บ่งชี้ว่าเกาหลีเหนืออยากให้มีการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรคือ 1 สัปดาห์ก่อนการประชุม มุน-คิม จะเกิดขึ้น รัฐบาลเปียงยางประกาศจะหยุดการทดสอบนิวเคลียร์รวมทั้งการยิงขีปนาวุธข้ามทวีปทั้งหมด ซึ่งสาเหตุหลังที่ทำให้พวกเขาถูกคว่ำบาตรตั้งแต่แรก
...
ด้านดร. ยวน เกรแฮม ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงระหว่างประเทศของสถานบัน ‘โลวี’ สำหรับนายคิมแล้ว นี่เป็นราคาที่เขาจะต้องจ่าย เพื่อการคุยกับนายมุนไปจนถึงการเจรจากับสหรัฐฯ และจัดเวทีที่นายทรัมป์สามารถยอมให้นายคิมได้รับในสิ่งที่เขาต้องการ
*ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้จากการประชุมซัมมิตครั้งนี้
หลายฝ่ายมองว่าการประชุมสุดยอดระหว่างมุน แจ-อิน กับ คิม จอง-อึน ในวันที่ 27 เม.ย.นี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้น เพื่อไปสู่ความเป็นไปได้ที่เกาหลีจะกลับมารวมเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง และกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือทั้งหมด “การเจรจานี้อาจเป็นแท่นยิงที่มีประโยชน์” ศ. อี ระบุ เขายังคาดด้วยว่า อาจมีการทำข้อตกลงหลายประการรวมถึงการแลกเปลี่ยนต่างๆ เกิดขึ้นตามหลังการประชุมครั้งนี้ด้วย
ส่วน ดร.คิม แห่งอาซาน กล่าวว่าให้จับตาดูความเชื่อมโยงระหว่างผู้นำทั้ง 2 คน เพราะความสำเร็จต่างๆ จะขึ้นอยู่กับว่า เคมีของนายมุนกับนายคิมตรงกันหรือไม่ “ผมคิดว่านี่จะเป็นการพบกันที่ดีมากระหว่างผู้นำทั้งคู่ แต่ถ้าถามว่าเรื่องนี้จะนำไปสู่การปลดอาวุธนิวเคลียร์หรือไม่ ผมกลับไม่แน่ใจนัก”