(Credit : The Australian National University)

นักโบราณคดีจากวิทยาลัยด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภาษาแห่งเอเชียแปซิฟิก ของมหาวิทยาลัยแห่ง ชาติออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย เผยถึงการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจะช่วยให้เข้าใจถึงประวัติศาสตร์ของภูมิภาคแถบนี้ได้ โดยสิ่งที่พวกเขาค้นพบคือตะขอเบ็ดตกปลาที่เชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก วางอยู่ในหลุมฝังศพของซากโครงกระดูกศีรษะของผู้หญิงคนหนึ่งที่พบบนเกาะอะลอร์ ในประเทศอินโดนีเซีย เกาะดังกล่าวตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศติมอร์ตะวันออก

ตะขอเบ็ดตกปลา 5 ตัววางไว้อยู่บริเวณใต้คางและรอบขากรรไกรของผู้หญิงที่ระบุว่าเคยมีชีวิตอยู่ในยุคไพลสโตซีน (Pleistocene) เมื่อประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว นักโบราณคดีเผยว่า ตะขอเบ็ดเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในบรรดาตะขอเบ็ดตกปลาที่เกี่ยวข้องกับพิธีการศพจากทั่วทุกแห่งในโลก ซึ่งการค้นพบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้คนในยุคไพลสโตซีนที่อาศัยบนเกาะอะลอร์ มีความเชื่อมโยงกับท้องทะเลทั้งตอนมีชีวิตและเมื่อตายไป การนำตะขอเบ็ดฝังกับศพยังบ่งชี้ถึงเรื่องของจักรวาลวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการประมงและสิ่งแวดล้อมของเกาะด้วย

ทั้งนี้ ตะขอเบ็ดตกปลาที่พบบนเกาะอะลอร์มี 2 แบบคือรูปทรงคล้ายตัวอักษรเจ (J) และอีก 4 แบบที่สามารถหมุนรอบได้ ซึ่งทำจากเปลือกของหอยทาก ลักษณะของมันมีความแปลกพิกลโดยการหมุนรอบคล้ายกับตะขอเบ็ดที่ใช้ในญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อาระเบีย แคลิฟอร์เนีย ชิลี เม็กซิโก และโอเชียเนีย นักโบราณคดีมองว่านี่คือการพัฒนารูปแบบการใช้เครื่องมืออย่างอิสระให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม มากกว่าการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม.