เรื่องราวของ แฝดสยาม “อิน-จัน” ซึ่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก จากการที่เป็นแฝดติดกันที่มีชีวิตอยู่ และมีทายาทสืบสกุลมาจนปัจจุบันมากมาย และได้รับยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯอย่างแนบแน่น

ย้อนอดีตแฝด “อิน-จัน” เกิดวันที่ 11 พ.ค.2354 ที่ จ.สมุทรสงคราม บิดาชื่อนายที ชาวจีนอพยพ กับมารดาชาวไทยชื่อนางนาก ทั้ง 2 คนสร้างความประหลาดใจแก่ผู้คน เนื่องจากเป็นฝาแฝดลำตัวติดกัน ไม่เหมือนฝาแฝดอื่นๆที่เสียชีวิต แต่ “อิน-จัน” มีชีวิตเติบโตและใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ

แฝด “อิน–จัน” ผู้สร้างตำนานความผูกพันสานสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ.
แฝด “อิน–จัน” ผู้สร้างตำนานความผูกพันสานสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐฯ.
ผู้เข้าร่วมงานชมนิทรรศการประวัติแฝด “อิน-จัน” และงานวันรวมญาติ.
ผู้เข้าร่วมงานชมนิทรรศการประวัติแฝด “อิน-จัน” และงานวันรวมญาติ.

...

ในขณะนั้นตามกฎหมาย ทั้งคู่ต้องถูกประหารชีวิต เนื่องจากความเชื่อว่าเป็นกาลกิณี แต่เวลาผ่านไปไม่มีเหตุการณ์ใดๆตามความเชื่อ โทษนั้นจึงได้รับการยกเลิก

ภายหลังบิดาเสียชีวิตขณะอายุได้ 2 ขวบ มารดาจึงยึดอาชีพค้าขายเลี้ยงดูบุตรฝาแฝด จนในปี 2367 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 2 ทรงทราบถึงความเป็นเด็กพิเศษของทั้งคู่ จึงโปรดเกล้าฯให้ นางนาก มารดา นำ “อิน-จัน” เข้าเฝ้าฯ และในปี 2370 มีพระบรมราชานุญาตให้ อิน-จัน เดินทางร่วมไปกับคณะทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศโคชินไชน่า (เวียดนามในปัจจุบัน)

ต่อมาปี 2367 นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ หรือ “นายหันแตร” พ่อค้าชาวอังกฤษ มาเห็น “อิน-จัน” ตัวติดกันว่ายน้ำเล่นจึงประหลาดใจและสนใจตีสนิทกับครอบครัว เพื่อจะนำ “อิน-จัน” ไปแสดงโชว์ตัวที่สหรัฐฯ จากนั้นวันที่ 1 เม.ย.2372 นายอาเบล คอฟฟิน กัปตันเรือสินค้า “เดอะ ชาเคม” เป็นผู้นำแฝด “อิน-จัน” ขณะอายุได้ 18 ปี ไปยังนครบอสตัน รัฐแมสซาชูเสตต์ สหรัฐฯ ใช้เวลาเดินทาง 180 วัน

พญ.อุทัยวรรณ สุวรรณนพรัตน์ โชว์รำวงตามประเพณีไทยบนเวที.
พญ.อุทัยวรรณ สุวรรณนพรัตน์ โชว์รำวงตามประเพณีไทยบนเวที.
นายเดวิท โรว์ นายกเทศมนตรีเมืองเมาท์แอรี ร่วมรำวงอย่างสนุกสนาน.
นายเดวิท โรว์ นายกเทศมนตรีเมืองเมาท์แอรี ร่วมรำวงอย่างสนุกสนาน.

แฝด “อิน-จัน” เปิดโชว์ตัวที่นครบอสตัน ก่อนจะออกแสดงทั่วสหรัฐฯและยุโรป 2 ปีแรก ทั้งคู่ได้ส่วนแบ่ง จนอายุครบ 20 ปี สัญญาจึงสิ้นสุด ทั้งคู่จึงเปิดการแสดงเองทั่วสหรัฐฯ จนกระทั่งอายุได้ 28 ปี จึงปักหลักใช้ชีวิตที่หมู่บ้านแทรปฮิลล์ ชานเมืองวิลล์ โบโร เคาน์ตี้วิลล์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา เปลี่ยนชื่อและสัญชาติเป็นอเมริกันในชื่อ เอ็ง-ชาง บังเกอร์

แม้จะเป็นแฝดตัวติดกัน แต่ “อิน-จัน” ก็แต่งงานกับหญิงอเมริกัน อินมีบุตร 11 คน จันมีบุตร 10 คน รวม 21 คน ระหว่างมีชีวิตทั้งคู่เคยคิดจะผ่าตัดแยกร่าง แต่สุดท้ายไม่ได้ผ่าตัด จนกระทั่งวันที่ 17 ม.ค.2417 จันผู้น้องป่วยเสียชีวิตลงก่อน จากนั้น 2 ชั่วโมงอินจึงเสียชีวิตตามไป ลูกหลานเหลนสืบทายาทจนปัจจุบันกว่า 1,500 คน

...

ทุกปีทายาทของ แฝด “อิน-จัน” จะจัดงาน “วันรวมญาติ ทายาทแฝดอิน-จัน” ทุกวันเสาร์สุดท้ายของเดือน ก.ค. เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษคือ “อิน-จัน” ที่โบสถ์เฟิร์สต์แบพติสท์เฟลโลว์ชิพฮอลล์ เมืองเมท์แอรี รัฐนอร์ทแคโรไลนา ที่อินและจันใช้ชีวิตกว่า 30 ปี

สุรพล–พญ.ไพลิน สัจจวาณิชย์, พญ.อุทัยวรรณ สุวรรณนพรัตน์, ฤดีวรรณ ศุขเกษม, นพ.โกวิท–พญ.จิราภา สินธุเสก และชาวไทยที่ไปร่วมงาน.
สุรพล–พญ.ไพลิน สัจจวาณิชย์, พญ.อุทัยวรรณ สุวรรณนพรัตน์, ฤดีวรรณ ศุขเกษม, นพ.โกวิท–พญ.จิราภา สินธุเสก และชาวไทยที่ไปร่วมงาน.

สำหรับปีนี้เพิ่งจัดงานเป็นครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ที่ผ่านมา โดย นายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. พร้อมด้วย นายภิเษก ภาณุภัทร อัครราชทูตที่ปรึกษาพิเศษ และคณะเจ้าหน้าที่จากสถานทูตไทยได้ไปร่วมงาน

...

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้สนับสนุนการจัดงานวันรวมญาติดังกล่าว ด้วยการจัดอาหารไทย นิทรรศการ หนังสือและสิ่งพิมพ์นำเที่ยวประเทศไทย รวมทั้งของที่ระลึกแบบไทยๆ ให้ผู้เข้าร่วมงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นทายาทสกุล “บังเกอร์” รุ่นที่ 4-6 ประมาณ 300 คน

นายเดวิด โรว์ นายกเมืองเมาท์แอรี นายดีน บราวน์ ผู้ช่วยนายกเทศมนตรี รวมทั้งชุมชนคนไทยในรัฐนอร์ทแคโรไลนาและใกล้เคียง นำโดย นายสุรพล สัจจวาณิชย์ นายกสมาคมคนไทยในรัฐนอร์ทแคโรไลนา ตลอดจนสื่อมวลชนท้องถิ่นสนใจรายงานข่าว และเข้าร่วมงานจำนวนมาก

นายพิศาล กล่าวในนามประเทศไทยถึงความสำคัญของ อิน-จัน ที่นำมาซึ่งการสานสัมพันธ์ในระดับประชาชน เรื่องราวของ อิน-จัน เป็นเรื่องราวของความรัก ความอดทน ความฝันของชาวอเมริกันที่อยู่บนรากฐานของการทำงานหนักและความมีน้ำใจต่อกันและกัน ลูกหลานของ อิน-จัน จึงควรภูมิใจที่ได้เป็นกำลังสำคัญในการยึดโยงความสัมพันธ์ระดับประชาชนของประเทศทั้งสองไว้

ออท.พิศาล ถ่ายภาพกับทายาทคนสำคัญของแฝด “อิน-จัน” ได้แก่ เบตตี (เมม่า) แซค, เชอรี แบลคมอน, อเล็กซ์ ซิงค์ และ ธันยา โจนส์ ภายในงาน.
ออท.พิศาล ถ่ายภาพกับทายาทคนสำคัญของแฝด “อิน-จัน” ได้แก่ เบตตี (เมม่า) แซค, เชอรี แบลคมอน, อเล็กซ์ ซิงค์ และ ธันยา โจนส์ ภายในงาน.

...

“ภายหลังจากที่ อิน-จัน เดินทางมาถึงสหรัฐฯเพียงสี่ปี ประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็คสัน ได้ลงนามสนธิสัญญาไมตรีกับ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเป็นมิตรเก่าแก่ในเอเชียประเทศแรกๆ ที่มีสนธิสัญญากับสหรัฐฯ ได้เป็นพันธมิตรด้านการทหาร มีความร่วมมือที่แน่นแฟ้นด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และด้านต่างๆ ขณะนี้ประธานาธิบดี ทรัมป์ ได้แสดงความปรารถนาชัดเจนที่จะกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรเก่าแก่เช่นประเทศไทยให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น” นายพิศาล กล่าว

พร้อมกันนี้ นายพิศาล ได้กล่าวเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ในฐานะที่ทรงพระราชสมภพในสหรัฐฯ และมีบทบาทสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ ไทย-สหรัฐฯ ให้แน่นแฟ้นมาจนถึงทุกวันนี้

ด้านทายาทของแฝด “อิน-จัน” โดยเฉพาะสองพี่น้อง นายแซค แบลคมอน และ นางธันยา โจนส์ กำลังผลักดันและหางบประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาสนับสนุนการขยายห้องชุดนิทรรศการประวัติอิน-จัน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอาคารเดียวกันกับพิพิธภัณฑ์ แอนดี กริฟฟิธ ดารานักแสดงนำที่มีชื่อเสียงของสหรัฐฯ มีคนชมปีละหลายหมื่นคน

นายพิศาล มาณวพัฒน์ ออท. ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหัฐฯ เปิดงานวันรวมญาติ แฝด “อิน-จัน” ที่เมืองเมาท์ แอรี รัฐนอร์ทแคโรไลนา.
นายพิศาล มาณวพัฒน์ ออท. ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหัฐฯ เปิดงานวันรวมญาติ แฝด “อิน-จัน” ที่เมืองเมาท์ แอรี รัฐนอร์ทแคโรไลนา.

ที่สำคัญคือกำลังหาแบบก่อสร้างหุ่นสัมฤทธิ์ “อิน-จัน” คล้ายอนุสรณ์สถานที่ จ.สมุทรสาคร ไปตั้งหน้าพิพิธภัณฑ์ที่เมืองเมาท์-แอรี เพื่อเป็นแหล่งศึกษาประวัติ “อิน-จัน” และสานสัมพันธ์ระดับประชาชนชาวไทย-อเมริกันอย่างแนบแน่นตลอดไป.


วิชัย มะลิกุล