หัวอกคนเป็นพ่อเป็นแม่ ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าลูกน้อยที่ต้องปกป้องและทะนุถนอมอย่างดีที่สุด
หากคุณเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่มือใหม่ที่ต้องใช้รถเดินทางในชีวิตประจำวันตลอดเวลา โดยมีเจ้าตัวเล็กนั่งโดยสารไปในรถด้วยเสมอ หรือขับไปส่งลูกๆ ไปโรงเรียนในช่วงเวลาเร่งด่วนประจำแล้วละก็...
ข้อมูลจากศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี เผยว่าอุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุหลักอันดับ 2 ของการเสียชีวิตในเด็ก รองจากการจมน้ำ โดยสาเหตุเสียชีวิต 100% เกิดจากไม่ได้ใช้คาร์ซีท ในประเทศไทยมีผู้ปกครองใช้คาร์ซีทไม่ถึง 1% เพราะคนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงอันตราย และเจ้าคาร์ซีทเองก็มีราคาแพง
แม้จะมีการผลักดันให้คาร์ซีทเป็นสินค้ากลุ่มความปลอดภัยและลดภาษีนำเข้าให้เหลือ 5% แล้ว เพื่อไม่ให้มีราคาสูงเกินไป แต่ก็ยังไม่ได้รับผลตอบรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
ไทยรัฐออนไลน์ มีโอกาสได้พูดคุยกับ นิโคลัส ฟาร์เกต์
ประธานบริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท รู้ใจ จำกัด ประกันภัยรถยนต์ออนไลน์ ซึ่งครั้งนี้เขาจะมานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกลเม็ดเเละวิธีการเลือกใช้คาร์ซีทเพื่อป้องกันเจ้าตัวน้อยจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด
...
ทำความรู้จักคาร์ซีทสักนิด
คาร์ซีท (Car Seat) หรือเบาะนิรภัยสำหรับเด็กไม่ใช่เรื่องเก่าและไม่ใช่เรื่องใหม่จนเกินไป มีหลายหน่วยงานที่เข้าใจถึงความสำคัญและเคยจัดแคมเปญรณรงค์ให้ความรู้แก่ผู้ขับรถเกี่ยวกับเรื่องคาร์ซีทอยู่เสมอมาตั้งเเต่ปี 2557 เพื่อให้คุณพ่อ คุณแม่หรือผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญและหันมาใส่ใจกับประโยชน์ของเจ้าคาร์ซีทที่มีต่อลูกน้อยมากยิ่งขึ้น ผู้ปกครองหลายท่านมีความเชื่อว่าการให้เด็กนั่งตักสามารถปกป้องลูกได้ดีกว่านั้นคือความคิดอันเป็นที่ตั้งของความประมาท เพราะเวลาเกิดอุบัติเหตุจริงๆ นอกจากจะป้องกันเด็กไม่ได้จากเเรงกระเเทกอย่างแรงเเล้ว ทั้งตัวผู้ปกครองเองเเละเด็กก็อาจจะได้รับบาดเจ็บกว่าเดิมก็เป็นได้
เลือกคาร์ซีทอย่างไรให้เหมาะสมกับลูกน้อย?
อายุและน้ำหนักของลูกน้อยคือสองปัจจัยสำคัญที่คนเป็นพ่อเเม่ผู้ปกครองต้องทราบดีอยู่เเล้ว และเป็นสองสิ่งที่มีผลต่อการเลือกคาร์ซีทที่ใช่ให้กับลูก
1. โดยปกติเด็กแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 1 ปี น้ำหนักตัวมักไม่เกิน 10 กก. ควรใช้คาร์ซีทสำหรับทารก (Rear Facing)
ซึ่งเป็นคาร์ซีทแบบนั่งหันหน้าไปด้านหลังรถสามารถปรับเอนไปกับที่นั่งได้ประมาณ 45 องศา คาร์ซีทรูปแบบนี้สามารถปกป้องหัวของเด็ก ลำคอ และกระดูกสันหลังได้ดีที่สุด ข้อมูลสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา แนะนำว่า “ทารก” ควรนั่งแบบ Rear Facing หรือติดตั้งคาร์ซีทโดยหันหน้าไปทางด้านหลัง จนกว่าจะอายุ 2 ขวบ หรือความสูงและน้ำหนักถึงเกณฑ์ส่วนหนึ่งเพราะคอของทารกยังไม่แข็งแรง
2. เด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี หรือมีน้ำหนักระหว่าง 10-28 กก. ควรใช้คาร์ซีทแบบหันไปทางหน้ารถ (Forward Facing) ลักษณะคล้ายกับ Rear Facing
เป็นเบาะนิรภัยแบบชิ้นเดียวครอบคลุมทั้งร่างกายและศีรษะของเด็กเล็กแต่หันไปทางด้านหน้ารถ เนื่องจากคอเด็กจะมีความเเข็งเเรงกว่าและสามารถเริ่มนั่งได้
3. เด็กที่มีน้ำหนักตัว 15-18 กก. ควรใช้คาร์ซีทแบบมีพนักพิงด้านหลัง (Booster) เนื่องจากจะมีเบาะรองศีรษะเเละแผ่นหลังช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างกระชับยิ่งขึ้น
4. เด็กที่มีน้ำหนักตัว 22-25 กก. หรือเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปสามารถนั่งตัวตรงได้ และควรใช้คาร์ซีทแบบไม่มีพนักพิงด้านหลัง (Seat Belt) เพื่อความยืดหยุ่นของร่างกาย เพราะเด็กในวัยนี้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เเล้ว
ติดตั้งคาร์ซีทอย่างไร?
1. ศึกษาให้เข้าใจก่อนว่าคาร์ซีทมีกฎด้านหน้า-ด้านหลัง
2. อ่านคู่มือการติดตั้งให้ละเอียด หากไม่แน่ใจแนะนำว่าให้คนขายติดตั้งให้ดีที่สุดและทดสอบความเเข็งเเรงเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
3. คาดเข็มขัดให้ลูกน้อยอย่างถูกวิธี โดยไม่ปล่อยให้สายคาดหลวมซึ่งเข็มขัดไม่ควรรัดตัวเด็กหลวมเกินสอดนิ้วได้นิ้วเดียว สายคาดอกควรคาดอยู่บนอก และอุปกรณ์ต่างๆ ควรอยู่ในที่ที่ถูกออกแบบมา
...
ปกติเด็กที่อายุต่ำกว่า 9 ปี จะไม่สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยที่มากับตัวรถได้เนื่องจากไม่สมดุลกับสรีระร่างกาย อย่างสายเข็มขัดนิรภัยเมื่อคาดแล้วจะไปอยู่บริเวณคอและช่องท้องเมื่อเกิดอุบัติเหตุลูกอาจจะกระแทกกับหน้ารถได้ ซึ่งคาร์ซีทจะช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับศีรษะ คอและหลังของลูกน้อยได้เป็นอย่างดี ช่วยป้องกันไม่ให้สมองและไขสันหลังถูกทำลายจากแรงกระแทกเมื่อเบรกรถแรงหรือเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน…
เมื่อติดตั้งคาร์ซีทและมอบความปลอดภัยให้ลูกน้อยแล้ว อย่าลืมเซฟตัวคุณเองด้วยการคาดเข็มขัดนิรภัยและขับรถด้วยความเร็วในปริมาณที่กฎหมายกำหนด
นอกเหนือจากการดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัยภายในรถแล้ว การมีประกันภัยไว้คุ้มครองยามเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับผู้ขับและผู้โดยสารได้ โดยเฉพาะประกันภันที่ผู้บริโภคสามารถเปิดแอปพลิเคชันเช็กเบี้ยประกัน ตรวจดูความคุ้มครอง ซื้อประกัน รวมถึงแจ้งเคลมประกันได้ด้วยตัวเอง ช่วยให้สะดวกและรวดเร็วได้ดังใจมากขึ้น
...