การเกาะยึดถนนของระบบรองรับ มีผลต่อการขับขี่ควบคุมช่วงล่างของรถ ทำงานสัมพันธ์กันกับระบบบังคับเลี้ยวและล้อยาง ระบบรองรับน้ำหนักที่ใช้อยู่มีหลายแบบ มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป บริษัทผู้ผลิตจะพิจารณาระบบรองรับน้ำหนักให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ และการใช้งานที่ตั้งไว้ ระบบรองรับน้ำหนักที่ใช้กันทั่วๆ ไปแบ่งออกได้ดังนี้
...
1. แบบล้ออิสระ (Independent Suspension) ระบบรองรับแบบนี้ ล้อแต่ละล้อจะเต้นขึ้น-ลงเป็นอิสระ ไม่ส่งผลไปยังล้อที่อยู่ตรงข้าม หรือถ้าจะมีบ้างก็น้อยมาก ระบบนี้น้ำหนักใต้สปริงจะมีน้อย การควบคุมรถจึงเป็นไปด้วยดีและการขับขี่จะเป็นไปอย่างนุ่มนวล ข้อเสียคือไม่แข็งแรงเท่ากับแบบความแข็ง รถยนต์นั่งในปัจจุบัน ล้อหน้ามักจะใช้ระบบรองรับน้ำหนักแบบล้ออิสระทั้งสิ้น ซึ่งแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
1.1 แบบปีกนกคู่ (Double Wishbone Suspension) ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับ
1. ปีกนกบนและล่างยาวเท่ากันและขนานกัน (Parallelogram) ปีกนกเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เป็นแบบที่ใช้ในระยะเริ่มแรก เมื่อล้อรถแล่นผ่านพื้นผิวถนนที่สูงๆ ต่ำๆ ล้อรถแต่ละข้างจะเต้นเป็นอิสระและขนานกับล้อ จึงตั้งอยู่ในแนวเดิมตลอดเวลา
2. ปีกนกบนและล่างยาวไม่เท่ากันแต่ขนานกัน ปีกนกแบบนี้เป็นแบบที่ได้รับการพัฒนาจากแบบแรก เพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหากรณีหน้ายางถูกับพื้นถนนขณะล้อเต้น การออกแบบให้ปีกนกด้านบนสั้นกว่าปีกนกล่าง
3. ปีกนกบนและล่างยาวไม่เท่ากันและไม่ขนานกัน ปีกนกแบบนี้ได้พัฒนามาจากแบบปีกนกบนล่างยาวไม่เท่ากันแต่ขนานกัน ปีกนกแบบนี้มีข้อเสียคือ จุดศูนย์กลางของการโคลง (Roll Center) อยู่ที่พื้นถนน ซึ่งสามารถปรับให้จุดศูนย์กลางของการโคลงอยู่ที่จุดใดก็ได้
จุดศูนย์กลางชั่วขณะ (Iastant Center) เป็นจุดที่ก้านต่อมีจุดศูนย์กลางใน การเคลื่อนที่ร่วมกันอยู่ชั่วขณะหนึ่ง เมื่อผ่านพ้นตำแหน่งเดิม
จุดศูนย์กลางชั่วขณะอยู่ด้านในตัวรถ ขณะที่รถแล่นผ่านพื้นผิวถนนที่ขรุขระ ล้อจะถูกยกขึ้น ทำให้เกิดมุมแคมเบอร์เป็นลม สภาพถนนลักษณะนี้จะทำให้ล้อรถเลี้ยวเข้าด้านใน การที่มุมแคมเบอร์เป็นลบจะยิ่งเสริมให้ล้อเลี้ยวมากยิ่งขึ้น
...
จุดศูนย์กลางชั่วขณะอยู่ด้านนอกตัวรถ แนวของปีกนกจะเอียงออกด้านนอกตัวถังรถ ทำให้จุดศูนย์กลางชั่วขณะอยู่ด้านนอกตัวถังรถ ขณะที่ล้อยกขึ้นด้านบนจะทำให้ยางแบะออก มุมแคมเบอร์เป็นบวก ส่งผลให้ล้อพยายามที่จะเลี้ยวออกนอกตัวถังรถ
ลักษณะแนวโน้มการเลี้ยวของรถเมื่อล้อผ่านสิ่งกีดขวางบนผิวถนน สภาพถนนจะทำให้ล้อรถเลี้ยวเข้าใน มุมแคมเบอร์ที่เปลี่ยนจะทำให้ล้อรถเลี้ยวออกนอก ซึ่งจะเป็นการหักล้างแนวโน้มการเลี้ยวของรถ ทำให้รถวิ่งในแนวตรง
ระบบรองรับน้ำหนักแบบปีกนกมีจุดเด่นที่สำคัญ คือ สามารถให้จุดศูนย์กลางชั่วขณะอยู่ตำแหน่งใดก็ได้ ทำให้จุดศูนย์กลางของการโคลงอยู่ตำแหน่งตามต้องการได้
...
แม็กเฟอร์สันสตรัต (MacPherson Strut Suspension)
ระบบรองรับแบบนี้พัฒนามาจากแบบเลื่อนตามสลัก โดยแบบแม็กเฟอร์สันสตรัตจะมีปีกนกล่าง ล้อรถจะแล่นขึ้นลงตามแกนสลัก ซึ่งทำหน้าที่เป็นโช้คอัพ การที่มีปีกนกล่างทำให้การออกแบบจุดศูนย์กลางชั่วขณะและจุดศูนย์กลางโคลงได้ตามต้องการ ซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับแบบปีกนก แต่มีชิ้นส่วนต่างๆ น้อยกว่าจึง ทำให้มีน้ำหนักเบากว่า มักใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
...
เทอลิงอาร์ม (Trailing Arm)
ระบบรองรับแบบนี้แขนเต้นอาจมี 2 แขน หรือแขนเดียวกันก็ได้ ถ้าเป็นแบบแขนเดียวจะเรียกว่า เซมิเทรลิงอาร์ม (Semi-Trailing Arm) แขนเต้นจะสวมอยู่กับแกนสลักในแนวขวางกับตัวรถได้ดี แต่จะรับแรงตามแนวทางขวางตัวรถได้ไม่ดี จุดศูนย์กลางชั่วขณะจะอยู่ไกล
สวิงแอกเซิล (Swing Axle Suspension)
ระบบรองรับแบบนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับแบบปีกนกหนา แต่มีปีกนกเพียงตัวเดียว โดยจะใช้เสื้อเพลาทำหน้าที่เป็นปีกนกแทน ระบบนี้จะรับแรงตามแนวยาวของตัวรถไม่ดี บางยี่ห้อจะออกแบบให้มีแขนควบคุม (Control Arm) เพื่อรับแรงตามแนวยาวของตัวรถ จุดศูนย์กลางการโคลงอยู่สูงตามไปด้วย
คานแข็ง (Solid Axle)
เป็นระบบรองรับแบบดั้งเดิมที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน มักจะใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ ส่วนรถยนต์นั่งจะใช้กันมากกับล้อหลัง แบบคานแข็งเป็นระบบรองรับที่แข็งแรงและมีราคาถูก แต่มีข้อเสียคือน้ำหนักใต้สปริง เมื่อล้อข้างหนึ่งเอียง จะทำให้ล้ออีกข้างหนึ่งเอียงตามไปด้วย
จุดศูนย์กลางการโคลง
จุดศูนย์กลางการโคลง เช่น (Roll Center) คือจุดที่โครงรถเอียงรอบจุดดังกล่าวนี้ เมื่อได้รับแรงกระทำทางด้านข้าง เช่น แรงหนีศูนย์กลาง ฯลฯ ระบบรองรับที่ล้อหน้าและหลังต่างก็จะมีจุดศูนย์การโคลงแยกจากกันเส้นที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางโคลงล้อหน้าและล้อหลัง เรียกว่าแนวแกนการโคลง (Roll Axis) การจัดความสัมพันธ์ระหว่างจุดศูนย์กลางการโคลงของล้อหน้าและล้อหลัง ทำให้เกิดลักษณะอาการเลี้ยวแบบต่างๆ เช่น ล้อยก ล้อรถลื่นไถลขณะเลี้ยวด้วยความเร็วสูง ฯลฯ
มุมลื่นไถล
มุมลื่นไถล (Slip Angle) คือ มุมที่เส้นศูนย์กลางของยางทำกับเส้นที่เป็นแนวการเคลื่อนที่ของล้อ มุมลื่นไถลเกิดขึ้นเมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วระดับหนึ่ง ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับโคลงสร้างของยาง ยางทุกชนิดจะเกิดมุมลื่นไถลเมื่อรถทำการหันเลี้ยวหรือเข้าโค้ง
โอเวอร์สเตียร์ (Ovre Steer)
หมายถึง มุมที่เกิดขึ้นจากการบังคับเลี้ยวของรถ จะมีค่ามากกว่ามุมที่ได้จากการหมุนพวงมาลัย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้เกิดอาการปัดท้าย คือ ท้ายรถจะปัดออกนั่นเอง
อันเดอร์สเตียร์ (Under Steer)
หมายถึง มุมที่เกิดขึ้นจากการบังคับเลี้ยวของรถ มีค่าน้อยกว่ามุมที่เลี้ยวได้จากการหมุนพวงมาลัย ท้ายรถจะปัดเข้า
สำหรับอาการอันเดอร์สเตียร์ ล้อคู่หน้าจะเกิดมุมลื่นไถลมากกว่าล้อคู่หลัง ส่วนอาการโอเวอร์สเตียร์ คือ ล้อคู่หลังจะเกิดมุมลื่นไถลมากว่าล้อคู่หน้า สามารถแก้ไขได้โดยการล็อกตรงกันข้าม (Opposite Lock) ซึ่งเป็นการล็อกพวงมาลัยเพื่อให้ล้อหันไปในทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของรถ การล็อกตรงกันข้ามใช้ในการควบคุมการลื่นไถลของล้อหลัง เช่น ในขณะที่ส่วนท้ายของรถยนต์ลื่นไถลไปทางซ้ายเมื่อเลี้ยวรถไปทางขวา สามารถควบคุมการลื่นไถลได้โดยการหมุนพวงมาลัยให้ล้อหันไปทางซ้าย
นิวทรัลสเตียร์ (Neutral Steer)
หมายถึง มุมลื่นซึ่งเป็นไปตามการออกแรงเลี้ยวพวงมาลัย ซึ่งจะทำให้วงเลี้ยวคงที่ ขณะที่ความเร็วเพิ่มขึ้นทำให้การปรับแก้ทิศทางพวงมาลัยมีอยู่ตลอดเวลาการเกาะยึดถนนที่ดี หน้ายางจะต้องสัมผัสกับพื้นเต็มหน้าอย่างมั่งคง ไม่ว่าผิวถนนจะมีสภาพเป็นอย่างไรก็ตาม มุมแคบเบอร์ไม่ควรเปลี่ยนเกิน 1 องศา เพราะถ้าหน้ายางกว้าง การเปลี่ยนมุมแคมเบอร์จะทำให้แนวแกนหมุนของยาง เปลี่ยนไปด้วย
จุดศูนย์ถ่วง
จุดศูนย์ถ่วง เป็นจุดรวมน้ำหนักของรถยนต์ เป็นจุดที่เปรียบเสมือนว่าน้ำหนักของรถทั้งคันรวมอยู่ที่จุดนี้ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์พยายามที่จะลดจุดศูนย์ถ่วงให้อยู่ต่ำที่สุด เพื่อให้รถเลี้ยวได้ด้วยความเร็วสูงและมีความปลอดภัย รถที่มีจุดศูนย์ถ่วงสูงจะคว่ำง่ายกว่ารถที่มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ รถชั้นดีจะคำนึงถึงตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงเป็นกรณีพิเศษ
การเฉลี่ยน้ำหนัก (Weight Distrbution) น้ำหนักของรถนั้นมีจุดรวมอยู่ที่จุดศูนย์ถ่วงล้อหน้าและล้อหลัง เป็นตัวรับน้ำหนักที่กดลงบนพื้นถนน น้ำหนักที่ล้อหน้าและล้อหลังจะเปลี่ยนไปตามการออกแบบ และตำแหน่งของอุปกรณ์ของรถ
การถ่ายเทน้ำหนัก (Weight Transfer)
หมายถึง การเคลื่อนของน้ำหนักที่กดลงบนล้อในขณะที่รถจอด น้ำหนักที่ล้อหน้าและล้อหลังจะเป็น 45-55 แต่ในขณะเบรกน้ำหนักที่กดลงบนล้อหน้าอาจเป็น 50% ก็ได้ การถ่ายเทน้ำมันเป็นได้ทั้งแนวตามยาวและทางขวางกับตัวรถ การถ่ายเทน้ำหนักตามยาวจะเกิดขึ้นเมื่อเร่งเครื่องหรือเบรก การถ่ายน้ำหนักตามขวางจะเกิดขึ้นจากสภาพหลายอย่าง
สมรรถนะของยางกับการเกาะยึดถนน
ยางรถยนต์ (Tire) เป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งของรถ การเลือกใช้ชนิดของยาง กำลังดันลมยาง และสภาพของดอกยางเป็นสิ่งสำคัญในการขับขี่ ซึ่งปัจจัยที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องในการเกาะยึดถนนของรถ ได้แก่
1. แรงดันลมยาง (Tire)
ยางที่มีแรงดันลมมากเกินกว่ามาตรฐานกำหนด ดอกยางตรงกลาง หน้ายางจะสึกมากกว่าด้านข้างของดอกยาง ยางที่มีแรงดันลมมาก หน้ายางจะสัมผัสกับพื้นผิวถนนได้น้อย ทำให้ยางเกิดการกระเด้งจนเหลือขอบสัมผัสน้อย รถเกิดอาการสั่นสะเทือนเวลาวิ่งมากกว่ายางที่มีแรงดันลมปกติ แรงดันลมยางมากจะทำให้การเกาะยึดถนนไม่ดีเท่าที่ควร การสูบลมยางให้พอดีตามคำแนะนำของบริษัทผลิตกำหนด
2. ชนิดของยาง
ยางเรเดียลจะเกิดมุมสลิปแองเกิลน้อยกว่ายางชนิดอื่นๆ และมีความต้านทานต่อการกระแทกสูง ดอกยางคงสภาพได้ และรับน้ำหนักบรรทุกได้มาก การลื่นไถลขณะเลี้ยวมีน้อย สามารถเลี้ยวได้ด้วยความเร็วสูง
3. ชนิดของดอกยาง
ดอกยางมีหลายชนิด การเลือกใช้ยางจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ รถที่วิ่งในที่ซึ่งมีฝน ตกมาก ดอกยางควรมีร่องระบายน้ำออกที่ดี มิฉะนั้นรถจะเกิดการลื่นไถล หรือใช้ยางสำหรับในที่ต้องการแรงตะกุยสูง นำมาใช้วิ่งบนถนนเรียบ
การเกาะยึดถนนของยาง (Tire Adhesion)
แรงที่ยางรถเกาะติดอยู่กับผิวถนนจะมีขีดจำกัด แรงดังกล่าวอาจเป็นแรงจากการเลี้ยวโค้ง การเร่งเครื่อง หรือการเบรกให้รถหยุด เมื่อรถวิ่งเลี้ยวโค้งพร้อม กับเหยียบเบรก แรงต้านจากการลื่นไถลจะลดลง แรงนี้เรียกว่า แรงต้านเลี้ยวโค้ง
การเลี้ยวโค้ง (Cornering)
ขณะที่รถเลี้ยวโค้งจะเกิดแรงเหวี่ยง หรือแรงหนีศูนย์กลาง (แรงหนีศูนย์กลางจะพยายามทำให้รถวิ่งออกนอกทางโค้ง) แรงเหวี่ยงนี้จะทำให้รถเลี้ยวออกเป็นมุมกว้างมากว่าที่บังคับพวงมาลัยไว้
1. น้ำหนักที่กดลงบนยาง (Load) แรงต้านเลี้ยวโค้งจะเพิ่มขึ้น เมื่อน้ำหนักที่กดลงบนหน้าสัมผัสของยางเพิ่มขึ้น
2. ลักษณะเฉพาะของยาง (Tire Specification) ซึ่งได้แก่ ลักษณะของดอกยาง มุมของเส้นใย โครงผ้าใบ และจำนวนชั้นของผ้าใบ
3. ขนาดและแรงดันลมของยาง ยางที่มีขนาดใหญ่กว่าจะทำให้แรงต้านเลี้ยวโค้งลดลง การเกาะยึดถนนไม่ดี
4. สภาพของผิวถนน ถ้าผิวถนนเปียกหรือมีโคลน จะทำให้แรงต้านเลี้ยวโค้งลดลง การเกาะยึดถนนไม่ดี
5. ความกว้างของขอบยาง (Rim Width) ขอบยางกว้าง แรงต้านเลี้ยวโค้งยิ่งเพิ่มมากขึ้น ทำให้การเกาะยึดถนนไม่ดี
อาการลื่นไถล
- สมาธิหลุดจากอารมณ์ที่หงุดหงิด แล้วใช้ความเร็วสูง
- ออกตัวด้วยการเร่งความเร็วอย่างรุนแรงบนผิวทางที่เปียกชื้น หรือมีกรวดทราย น้ำมัน ปกคลุมอยู่บนผิวถนน
- เบรกกะทันหัน หรือใช้เบรกอย่างเต็มกำลังขณะขับเคลื่อนในย่านความเร็วสูง
- ขับรถด้วยความเร็วสูง ท่ามกลางสภาพผิวถนนที่เปียกชื้น
- หักพวงมาลัยอย่างรวดเร็วในขณะที่ใช้ความเร็วสูง
- เบรกอย่างรุนแรงในโค้ง
- เบรกและหักพวงมาลัยหลบไปพร้อมๆ กัน
- เหยียบคลัตช์ขณะขับเข้าโค้งหรือเลี้ยว
การลื่นไถลจะเกิดขึ้นเมื่อรถวิ่งอยู่บนถนนที่มีน้ำเปียกอยู่ ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็วต่ำ ยางรถยนต์ยังเกาะยึดติดกับผิวถนนดี แต่ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็วสูงจะเกิดอาการลื่นไถล การยึดเหนี่ยวระหว่างดอกยางกับผิวถนนจะหมดไป เกิดการลื่นไถลที่ผิวสัมผัส ทำให้การบังคับรถเป็นไปได้ไม่ดี เนื่องจากยางกับผิวถนนจะลอยอยู่เหนือผิวน้ำ แทนที่จะยึดติดอยู่กับถนน
วิธีแก้ คือ ชะลอความเร็วลงก่อน อาจจะสวนพวงมาลัยช่วย ซึ่งในความเป็นจริง คนที่ทำได้และทำได้พอดีบนท้องถนนจริงแทบไม่มี ดังนั้นชะลอความเร็วในกรณีโอเวอร์ อาจต้องถึงกับใช้เบรกจนรถหยุดไว้ก่อน ไม่ใช่พยายามแก้อาการจนสะบัดเพิ่ม แล้วไปจบลงข้างทาง สิ่งที่สำคัญไปกว่าการจะแก้อาการต่างๆ คือคนขับต้องมีสติ มองในทางที่จะพารถไป แล้วแก้ไขตามอาการที่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าเป็นคนที่ไม่เคยฝึก ต้องบอกว่าทำได้ยาก เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บ่อยครั้งที่คนขับไม่มีเวลาพอที่จะคิด ทุกอย่างต้องออกมาตามจิตใต้สำนึกจากการฝึก ชะลอความเร็วคือคำตอบที่ง่ายที่สุด มีความเป็นไปได้มากที่สุดในคนทั่วไป
รถขับเคลื่อนสี่ล้อ
มักจะมาพร้อมกันสองอาการ เริ่มด้วยพวงมาลัยหักไม่เข้า ตามด้วยท้ายที่ปัดออกด้านข้างอย่างรุนแรง ทุกอย่างจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนไม่มีเวลา หรือระยะทางเหลือพอให้ทำการแก้ไขได้ ถ้าคุณขับจนรถขับเคลื่อนสี่ล้อเกิดอาการลื่นไถล โดยเฉพาะในรถยนต์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งมีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น 4Matic Quattro xDRIVE หรือ Symmetrical all-wheel drive ความเร็วในจุดที่ทำให้รถหลุดจากการควบคุม มักจะสูงมากกว่ารถขับเคลื่อนล้อหน้า หรือรถขับเคลื่อนล้อหลัง
วิธีแก้ไขก็คือไม่ควรทำให้รถขับเคลื่อนสี่ล้อสมรรถนะสูงเกิดอาการลื่นไถล เพราะคุณจะต้องแก้อาการอย่างรวดเร็วเป็นลิงพันแห เริ่มจากยกคันเร่ง สวนพวงมาลัย หรือแม้แต่การแก้ไขในขั้นตอนสุดท้ายที่ดีที่สุด นั่นก็คือการเบรกแบบเต็มกำลัง ก่อนที่รถจะแหกหลุดออกจากเส้นทางจนทำให้เกิดอุบัติเหตุรุนแรง สิ่งต่างๆ เหล่านั้นต้องเกิดขึ้นภายในพริบตาเดียวเท่านั้น ส่วนใหญ่เมื่อรถขับเคลื่อนสี่ล้อสมรรถนะสูง แล้วเกิดอาการสูญเสียการควบคุม มักจะจบลงด้วยอุบัติเหตุรุนแรงเสมอ
การแก้ไขอาการลื่นไถล
การแก้ไขเมื่อเกิดอาการลื่นไถลนั้นยากเย็นเหมือนลิงแก้แห ยิ่งแก้ยิ่งยุ่งเป็นยุงตีกัน แม้แต่นักแข่งมือขั้นเทพก็ยังเอาตัวแทบไม่รอด แทบจะทุกคนที่เป็นครูฝึกสอนการควบคุมรถยนต์ จะแนะนำว่าไม่ควรทำให้เกิดอาการลื่นไถลแล้วมาตามแก้ ควรป้องกันอาการนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยไม่ทำให้อาการลื่นไถลเกิดขึ้นด้วยการขับให้ช้าลง หรือใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด ก็จะช่วยลดอาการลื่นไถลลงไปได้มาก ความเร็วคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดอาการลื่นไถลเสียหลัก หากใช้ความเร็วให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตรงหน้า รู้ว่าฝนตกถนนลื่นก็ควรลดความเร็วลงมา ขับแบบไปเรื่อยๆ ทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้า ไม่ขับแบบรีบร้อนเปลี่ยนช่องทางเร็วๆ หรือขับเร็วอย่างต่อเนื่องบนผิวถนนที่เปียกชื้น แค่นี้คุณก็จะอยู่ไกลจากอาการลื่นไถลแล้วครับ
ข้อควรระวัง
การลื่นไถลบนน้ำ นอกจากจะทำให้การบังคับเลี้ยวไม่ดีแล้ว ระบบเบรกก็ทำงานลดประสิทธิภาพลงไปด้วย ดังนั้นการขับรถบนถนนที่เปียกหรือน้ำขัง อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ง่าย สิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก คือ
1. อย่าใช้ยางที่ดอกยางสึก ดอกยางสึกมากจนร่องระบายน้ำไม่มี ทำให้มีน้ำรองรับอยู่บนหน้ายางได้ง่าย เกิดลิ่มน้ำทำให้การบังคับรถได้ไม่ดี
2. เพิ่มแรงดันลมยาง การขับขี่รถบนถนนเปียกหรือมีน้ำควรเพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้น ซึ่งทำให้มีแรงต้านลิ่มน้ำเกิดขึ้น การเกิดคลื่นรองรับหน้ายางจึงลดลง ยางสัมผัสกับผิวถนนมากขึ้น
3. ขับรถด้วยความเร็วต่ำ เนื่องจากแรงดันของลิ่มน้ำที่หน้ายางจะเพิ่มมาเมื่อความเร็วรถเพิ่มขึ้น ทำให้หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนน้อยลง ทำให้การบังคับรถลำบากมาก
ประสิทธิภาพการยึดเกาะของยางและรูปแบบของรถกับช่วงล่างเป็นสิ่งสำคัญตราบใดที่ความฝืดของยางกับผิวถนนยังมีประสิทธิภาพดีอยู่ หมายความว่ายังมีแรงยึดเกาะของรถดีอยู่ บนถนนสภาพดีและแห้ง ยางยังคงอยู่ในสภาพใช้งาน การยึดเกาะกับถนนหรือความฝืดก็จะมีมาก เมื่อแรงยึดเกาะดี การควบคุมรถยนต์ก็จะดีตามไปด้วย สิ่งที่จะมาทำลายการยึดเกาะของยางกับผิวถนนมีพื้นฐานสำคัญอยู่ที่การใช้ความเร็วและการเบรก สภาพของรถและยาง การหมุนพวงมาลัย และสภาพของถนน พื้นฐานดังกล่าว นักขับควรเข้าใจองค์ประกอบขั้นพื้นฐานและควรให้ความสำคัญกับเรื่องดังต่อไปนี้
การเกิดความร้อนที่ยาง
ยางรถยนต์ประกอบด้วยส่วนต่างๆ หลายอย่างด้วยกัน เช่น เนื้อยางผ้าใบและส่วนประกอบอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่วัสดุที่ยืดหยุ่น การใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติต่างกัน ในขณะที่ยางเกิดการยืดหยุ่น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง พลังงานที่ดูดกลืนไว้ในวัสดุต่างๆ
1. โครงสร้างยาง
ยางเรเดียลจะมีชั้นสายพานรองรับหน้ายาง ทำให้หน้ายางแข็งแรง การเปลี่ยนรูปร่าง หรือการยืดหดตัวของหน้ายางจึงเกิดขึ้นน้อย เมื่อเทียบกับยางธรรมดา สายพานเรเดียลทำด้วยลวดถัก จะช่วยให้ระบายความร้อนดีขึ้น
2. น้ำหนักบรรทุก การเพิ่มน้ำหนักบรรทุกทำให้ยางต้องรับน้ำหนักมากขึ้น น้ำหนักบรรทุกยิ่งมากจะทำให้ยางร้อนมากขึ้น และการบรรทุกน้ำหนักที่มากเกินไป
3. ความเร็วรถ อุณหภูมิของยางจะสูงขึ้นถ้าความเร็วรถเพิ่มขึ้น ขณะที่รถวิ่งด้วยความเร็วสูงนั้น ความร้อนจะสะสมมากขึ้น อุณหภูมิของยางจึงสูงขึ้น
4. แรงดันลมยาง ถ้าลมยางอ่อน ยางจะยืดหยุ่นมาก ทำให้ยางเกิดการบิดตัวมากจนเกิดการเสียดสีภายในเนื้อยาง จึงเกิดความร้อนมากกว่าลมยางแข็ง
การเกิดคลื่นที่โครงสร้างยาง (Standing Wave) ขณะรถวิ่ง ล้อที่หมุนจะทำให้ยางเกิดการบิดตัว ทุกครั้งที่ดอกยางกลิ้งสัมผัสกับถนน เมื่อดอกยางพ้นผิวถนน แรงดันลมยางและความยืดหยุ่นของยาง จะทำให้โครงสร้างยางกลับคืนสภาพปกติ แต่ถ้ารถวิ่งด้วยความเร็วสูง ยางรถยนต์จะหมุนด้วยความเร็วสูงเช่นเดียวกัน
การเกิดคลื่นโคลงสร้างยางจะไม่ทำให้รถเกิดอาการสั่นสะเทือน เพราะตำแหน่งที่เกิดขึ้นจะอยู่ที่รอยสัมผัสของหน้ายางและถนนก่อนที่จะหมุนขึ้นพ้นพื้น การเกาะยึดและการบังคับรถเป็นไปได้ไม่ดี และคลื่นที่เกิดขึ้นจะทำให้รถวิ่งช้าลง เพราะเครื่องยนต์จะสูญเสียพลังงานไปกับการเกิดคลื่น.