กองทัพอากาศ ได้นำเฮลิคอปเตอร์ AIRBUS EC725 (เฮลิคอปเตอร์เเบบที่ 11) มาใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติต่างๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรือการค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่เกิดสาธารณภัย โดยกองทัพอากาศ ได้ดำเนินการฝึกอบรมนักบินและเจ้าหน้าที่ประจำเฮลิคอปเตอร์อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือประชาชน การฝึกอบรมนี้มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหา การกู้ภัย และการลำเลียงผู้ประสบภัยในสถานการณ์ต่างๆ เฮลิคอปเตอร์ EC725 มีความสามารถในการบินระยะไกล สามารถปฏิบัติการในสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย และมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับลำเลียงผู้บาดเจ็บหรือสิ่งของบรรเทาทุกข์ ทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

...

กองทัพอากาศมุ่งมั่นในการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นในยามปกติหรือยามเกิดภัยพิบัติ เพื่อสร้างความปลอดภัยและความมั่นคงให้แก่ประชาชนทุกคน

...

EC725 อากาศยานปีกหมุนที่ประจำการอยู่ในกองทัพอากาศไทยเมื่อ 9 ปีก่อน นับเป็น ฮ. ลำเลียงและกู้ภัยทางยุทธวิธีที่มีประสิทธิภาพ เข้าประจำการในกองบินที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2558 จำนวน 4 ลำ และเป็นการจัดซื้อในระยะที่ 1 จาก Airbus Helicopter โดยกองทัพอากาศไทยถือเป็นประเทศที่ 3 ในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนต่อจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ที่มีเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงทางยุทธวิธีขนาดกลางรุ่นดังกล่าวไว้ใช้งานในภารกิจของกองทัพ

...

EC725 ฝูงบิน 416 กองบิน 41 หน่วยบิน 2033 กองทัพอากาศ เข้ารับหน้าที่เฮลิคอปเตอร์กู้ภัยค้นหาและช่วยชีวิตในเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำป่าไหลหลากที่จังหวัดเชียงราย 

คุณลักษณะของ Airbus Helicopter EC725 ฮ. ลำเลียงทางยุทธวิธีและค้นหากู้ภัย มีความยาวลำตัว 19.50 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดประธาน 16.2 เมตร ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ Turboshaft รุ่น Turbomeca Makila 2A1 จำนวนสองเครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ 2,382 แรงม้า หรือ 1,776 Kw สามารถบินด้วยสปีดความเร็วสูงสุดได้ถึง 324 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนความเร็วในการบินเดินทางปกติอยู่ที่ 277 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัยบินปฏิบัติการสูงสุด (บินไกล) 1,452 กิโลเมตร มีเพดานบินสูงสุด 6,095 เมตร บินได้นาน 4 ชั่วโมง สามารถเพิ่มพิสัยบินได้ด้วยการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศจากเครื่องบินบรรทุกเชื้อเพลิง KC-130 หรือ A400 M

...

Cockpit นักบินของเครื่อง EC725 ใช้ระบบ Glass Cockpit ติดตั้งจอภาพ LCD Active Liquid Crystal Display ขนาด 6x8 นิ้ว จำนวน 4 จอ และจอภาพขนาด4x5 นิ้ว จำนวน 2 จอ ติดตั้งระบบ advanced helicopter cockpit avionics system AHCAS ประกอบด้วยระบบควบคุมการบินอัตโนมัติ automatic flight control system ระบบเดินอากาศและข้อมูลภารกิจทางยุทธวิธี tactical mission data ติดตั้งอุปกรณ์เซนเซอร์ เช่น เรดาร์ หรืออุปกรณ์ FLIR forward looking infrared มีขีดความสามารถในการค้นหาและกู้ภัยทั้งกลางวันและกลางคืน สามารถติดตั้งระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์เพื่อป้องกันตนเอง ได้แก่ radar warning receiver / Laser warning receiver / missile approach warner และ chaff and flare dispenser

Airbus Helicopter EC725 มีสี่รุ่น ได้แก่

รุ่นลำเลียงทางอากาศ troop transport helicopter บรรทุกทหารได้ 29 นาย ใต้ลำตัวติดตั้งขอเกี่ยว Sling สำหรับขนส่งสัมภาระน้ำหนักสูงสุด 5 ตัน (น้ำหนักประมาณ Ford Everest 2 คัน)

รุ่นรับ-ส่งบุคคลสำคัญ VIP transport helicopter ตกแต่งห้องโดยสารใหม่เพื่อความสะดวกสบาย มีเบาะนั่งสำหรับบุคคลสำคัญ 8-12 ที่นั่ง

รุ่น ฮ.พยาบาลและลำเลียงผู้ป่วยหรือทหารที่ได้รับบาดเจ็บ casualty transport helicopter โหลดเปลสนามได้ถึง 12 เปล พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์

รุ่น Combat SAR (combat sar configuration) ติดตั้งอุปกรณ์หรืออาวุธสำหรับปฏิบัติภารกิจโจมตี ค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่การรบ ติดตั้งรอกกว้านข้างลำตัว โดยมีอุปกรณ์ทางทหารและอาวุธประจำตัว เช่น ปืนกลอากาศ FN MAG ขนาด 7.62 มิลลิเมตร จำนวน 2 กระบอก ติดตั้งบริเวณหน้าต่างด้านซ้ายและขวา กระเปาะจรวดขนาด 68 มิลลิเมตร จำนวน 2 กระเปาะ บรรจุจรวดกระเปาะละ 19 นัด กระเปาะปืนใหญ่อากาศ GIAT ขนาด 20 มิลลิเมตร ข้างละ 1 กระเปาะ พร้อมกระสุนกระเปาะละ 180 นัด อุปกรณ์แจ้งเตือน radar warning receiver เพื่อป้องกันตัวเองเมื่อโดนส่องด้วยจรวดต่อต้านอากาศยานพื้นสู่อากาศ

Airbus Helicopter EC725 ได้รับความนิยมจากกองทัพอากาศทั่วโลก เช่น บราซิล ฝรั่งเศส อินโดนีเซีย มาเลเซีย คาซัคสถาน เม็กซิโก โปแลนด์ และประเทศไทย โดยแยกรุ่นใช้งานเพื่อประจำการในหน่วยงานของรัฐ เช่น กองทัพอากาศ กองทัพบก กองทัพเรือ และหน่วยปฏิบัติการพิเศษที่ต้องการความรวดเร็วในการเดินทาง เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่มีศักยภาพสูง มีขีดความสามารถทางการบินทั้งลำเลียงทางยุทธวิธีและค้นหากู้ภัยที่ดีเยี่ยม.

ภาพจาก  https://www.facebook.com/PararescueJumperThai/
กองบิน 2 กองทัพอากาศไทย

Specifications

Type long-range tactical transport helicopter
Country user Brazil, France, Indonesia, saudi Arabia, malaysia, Mexico Thailand

Country producer France
Crew 1 or 2 pilot
Capacity 28 troops + 1 cabin attendant (or 5,670kg / 12,500 lb payload)
Engine 2 × Turbomeca Makila 2A1 turboshafts, 1,776 kW (2,382 shp) each
Speed Maximum speed: 324 km/h
Cruise speed 285 km/h (177 mph; 154 kn)
Range 857 km (533 mi; 463 nmi)
Ferry Range 1,452 km maximum
Service ceiling 6,095 m (19,997 ft)
Weight 5,330 kg empty

Avionic Advanced helicopter cockpit and avionics system (AHCAS), radar and FLIR (forward-looking infrared) for day and night-time search and rescue capability, Doppler radar, global positioning system and inertial navigation system.

Dimension
Length: 19.50 m; Rotor Diameter: 16.2 m; Height: 4.6 m