คนที่เติบโตขึ้นมาในยุค 80 หรือทศวรรษอื่นๆ จะชอบรถยนต์หลังคาปีกนกนางนวลใน DeLorean DMC-12 ของศาสตราจารย์สติเฟื่อง Dr. Emmett Brown จากหนังคลาสสิกสุดฮิต Back to the Future ด้วยวิธีการที่นำเสนอในภาพยนตร์ หากคุณกำลังจะสร้างจักรกลไทม์แมชชีนที่เป็นรถยนต์ ทำไมไม่ทำมันอย่างมีสไตล์และคล้ายกับ DeLorean ล่ะครับ? หลักการเดียวกันนี้ กลับกลายเป็นความจริงขึ้นมา เมื่อบริษัทรถยนต์เกาหลีแบรนด์ใหญ่ ต้องการสาธิตการขับเคลื่อนยานพาหนะด้วยประสิทธิภาพของเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับอนาคต นี่คือรถยนต์ต้นแบบ N Vision 74 ของ Hyundai ไม่เพียงแต่มีความคล้ายคลึงกับสัดส่วนของรถยนต์ DeLorean เท่านั้น แต่ยังมีการเชื่อมโยงกับรถสปอร์ตตัวถังทรงเหลี่ยมอีกหลายรุ่นในยุค 1970 อีกด้วย
...
แนวคิดรถสปอร์ตไฮบริดพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง/ไฟฟ้า คันนี้ ทำให้โลกอินเทอร์เน็ตหน้ายานยนต์เกิดความแตกตื่นกันมาแล้ว หลังจากมีการเปิดตัว N Vision 74 เป็นครั้งแรกเมื่อสามเดือนก่อน N Vision 74 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ Hyundai Motor ในด้านการวิจัยและพัฒนาพลังงานไฮโดรเจน ผ่านการผสมผสานของระบบส่งกำลังไฟฟ้า ที่สร้างเรี่ยวแรงได้มากถึง 670 แรงม้า ความสามารถในการสร้างมุมดริฟต์ที่น่าประทับใจของรถต้นแบบขณะขับโชว์สื่อมวลชนในยุโรป N Vision 74 หลอมรวมซุปเปอร์สตาร์ภาพยนตร์สุดฮิตในอดีต และความสามารถในการเร่งความเร็ว นี่คืออนาคตที่เราทุกคนสามารถทำได้ด้วยโปรแกรมช่วยเหลือการขับขี่แบบใหม่
น่าเสียดายที่ Hyundai ยังไม่มีแผนที่จะนำ N Vision 74 ไปสู่สายการผลิตเพื่อจำหน่ายอย่างเป็นเรื่องเป็นราว รถต้นแบบเวอร์ชันที่ขับได้นั้น ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้ช่างและวิศวกรของ Hyundai ได้เรียนรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับสิ่งที่บริษัทเรียกว่า "ความแตกต่างเสมือนจริง" N Vision 74 มาพร้อมมอเตอร์ไฟฟ้ากำลัง 335 แรงม้า 2 ตัว ที่แยกจากกัน (แต่ละตัวขับเคลื่อนล้อหลังในแต่ละข้าง) โดยไม่มีการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างการทดกำลังล้อหลังของมัน และกลายเป็นว่าจริงๆ แล้ววิศวกรของ Hyundai พยายามปรับจูนให้ N Vision 74 วิ่งได้เหมือนกับรถสปอร์ตทั่วไป เพียงแต่กำลังในการขับเคลื่อนนั้นรุนแรงเท่ากับซุปเปอร์คาร์
...
“มันคือ Stinger” Albert Biermann ชาวเยอรมันวัย 66 ปี กล่าว หลังจากลาออกจากแผนก M ของ BMW เพื่อมาเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ Hyundai-Kia และยังก่อตั้งแผนก N หรือแผนกมอเตอร์สปอร์ตของ Hyundai อีกด้วย แม้ว่าตอนนี้จะเกษียณจากงานแล้ว แต่เขาก็ยังทำงานให้กับกลุ่ม Hyundai / Kia ภายใต้ลักษณะงานที่ปรึกษาด้านเทคนิคของผู้บริหารระดับสูง เป็นบทบาทที่ชัดเจนและทำให้ Biermann ใช้โครงสร้างของรถที่มีอยู่แล้วอย่าง Kia Stinger ซึ่งใกล้เคียงที่สุดในแง่ของขนาด มาปรับแต่งให้กลายเป็นรถสปอร์ตทรงคลาสสิกพลังงานเซลล์เชื้อเพลิง
...
...
ต้นแบบ Stinger จำนวน 4 คันถูกถอดออกเป็นชิ้นๆ แล้วสร้างขึ้นมาใหม่ N Vision 74 มีเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 85 กิโลวัตต์จากรถไฮโดรเจนอย่าง Hyundai Nexo ชุดแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง ขนาด 62.4 กิโลวัตต์ชั่วโมง เนื่องจาก 85 กิโลวัตต์แปลงเป็น 114 แรงม้า ตัวเลขเหล่านี้ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไฮโดรเจนไม่ได้ให้กำลังโดยตรงตามที่มอเตอร์กำลังสูงต้องการ และทำหน้าที่เป็นเครื่องชาร์จออนบอร์ด เพื่อขยายระยะทางการขับ Hyundai ให้ไกลมากยิ่งขึ้น Hyundai อ้างว่า N Vision 74 ทำระยะทางได้ประมาณ 595 กิโลเมตร จากชุดแบตเตอรี่ที่ชาร์จจนเต็ม และถังเก็บไฮโดรเจน 9.3 ปอนด์ สองถังที่ด้านหลัง
แน่นอนว่า N Vision 74 ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปทรงของยานยนต์ในทศวรรษ 1970 เมื่อ Hyundai มอบหมายให้ Giorgetto Giugiaro สร้างรถคูเป้คันแรก รถยนต์ Pony hatchback ที่ถูกดีไซน์อย่างอิสระเป็นรถรุ่นแรกของบริษัทผู้ผลิตจากเกาหลี โดยมีรูปลักษณ์ที่มีความคล้ายคลึงกับ Alfa Romeo Alfasud Sprint และรถยนต์ต้นแบบแนวคิด Porsche Tapiro ปี 1970 รถยนต์ต้นแบบพลังงานไฮโดรเจน N Vision 74 ใส่ยาง Pirelli P Zero 4S และหนักประมาณสองตัน การตอบสนองของมันเหมือนกับรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความแตกต่างจากรถยนต์เครื่องสันดาปภายในแบบดั้งเดิม มันมี Limited Slipe -LSD และเกียร์คลัตช์คู่แปดสปีด ในระบบส่งกำลังประสิทธิภาพสูงที่ใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน แม้ว่าผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Mercedes-Benz และ Honda จะเลิกทำการวิจัยเซลล์เชื้อเพลิงไปแล้ว แต่ Hyundai กำลังพัฒนาระบบขับเคลื่อน FCEV ซึ่งเหมือนกับ Mirai ของ Toyota และรถยนต์ Hyundai Nexo SUV ก็ยังเป็นหนึ่งในรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงที่มีขายในสหรัฐอเมริกาเหมือนกับ Toyota Miria อีกด้วย
แม้ว่าจะมีการวิจัยและพัฒนาระบบเซลล์เชื้อเพลิงมานานแล้ว แต่โครงสร้างพื้นฐานหลัก เช่น สถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในปัจจุบันยังคงมีอยู่เพียงน้อยนิด Hyundai เชื่อว่า รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงมีศักยภาพมากพอที่จะกลายเป็นทางเลือกใหม่ในระยะยาว มันสามารถทดแทนรถยนต์ไฟฟ้าแบบใช้แบตเตอรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของระยะทาง ศักยภาพของการใช้งาน และความสามารถในการเติมเชื้อเพลิงอย่างรวดเร็ว ระบบส่งกำลังเซลล์เชื้อเพลิงยังมีความเป็นไปได้ในกีฬามอเตอร์สปอร์ตระดับบนสุด เพื่อช่วยลดการปล่อยคาร์บอน ยานยนต์ต้นแบบแนวคิดเซลล์เชื้อเพลิง N Vision 74 มีศักยภาพในการแข่งแบบเอนดูลานซ์ หรือการแข่งมาราธอน 24 ชั่วโมง เป็นเพราะระบบขับเคลื่อนของมันใช้ไฟฟ้าจากทั้งเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนและจากแบตเตอรี่ขนาด 62.4 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่สามารถเสียบปลั๊กและชาร์จใหม่ได้เหมือนกับในรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป
สำหรับการขับขี่ในเมืองหรือการขับบนทางด่วน เซลล์เชื้อเพลิงขนาด 85 กิโลวัตต์ ให้กระแสไฟฟ้าที่จำเป็นในการขับเคลื่อนของมอเตอร์สองตัวที่ติดตั้งไว้ที่ด้านหลัง โดยมอเตอร์หนึ่งตัว จะขับเคลื่อนแต่ละล้อ ส่วนในสนามแข่ง ภายใต้สภาวะโหลดสูงซึ่งมีการเร่งความเร็วอย่างต่อเนื่อง ชุดแบตเตอรี่จะทำหน้าที่จ่ายพลังงานให้กับมอเตอร์ เพื่อสปีดตัวเองจากปลายโค้งเข้าสู่ทางตรงในแทรคได้เร็วพอๆ กับรถยนต์สันดาปภายใน วิศวกรในแผนก Hyundai N กล่าวว่า สิ่งที่ยุ่งยากของรถต้นแบบก็คือ การปรับความสมดุลของแรงบิดในมอเตอร์ เอาต์พุตหรือแรงบิดระหว่างเซลล์เชื้อเพลิงและแบตเตอรี่ ตลอดจนการไหลของประจุไฟฟ้าที่ราบรื่น เมื่อไม่ได้ใช้เพื่อช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เซลล์เชื้อเพลิงสามารถใช้เพื่อเติมสถานะการชาร์จของแบตเตอรี่ได้ การรักษาอุณหภูมิของแบตเตอรี่และมอเตอร์ขับเคลื่อนให้เย็นอยู่เสมอ นับเป็นความท้าทายที่เข้มข้น อีกอย่าง ระบบระบายความร้อนอิสระสามระบบ จะควบคุมอุณหภูมิของแบตเตอรี่ เซลล์เชื้อเพลิง และอุณหภูมิของมอเตอร์ขับเคลื่อน เซลล์เชื้อเพลิงและถังไฮโดรเจนแรงดันสูงสองถัง มาจาก Hyundai Nexo สถาปัตยกรรมไฟฟ้า 800V เช่นเดียวกับ Hyundai Ioniq 5 และ Kia EV6 มอเตอร์มีความคล้ายคลึงกับมอเตอร์ที่จะใช้ใน Ioniq 5 N ที่กำลังจะเปิดตัว ระบบกันสะเทือนแบบมัลติลิงก์ที่ไม่เหมือนใครและซับเฟรมแบบพิเศษ องค์ประกอบหลักของโครงสร้างบอดี้รถใช้ร่วมกับ Hyundai Genesis G70
N Vision 74 ไม่ได้เป็นเพียงรถต้นแบบเพื่อสร้างสิ่งเชิดหน้าชูตาทางเทคนิคเท่านั้น มันยังเกี่ยวข้องกับกรณีศึกษาทางธุรกิจของเซลล์เชื้อเพลิงในอนาคต การใช้ฮาร์ดแวร์ที่สมดุล จะช่วยลดต้นทุนของการพัฒนา "เราต้องการสร้างรถคันนี้โดยเร็วที่สุด" Joonwoo Park หัวหน้าฝ่ายบริหารแบรนด์ N กล่าว Park และเพื่อนวิศวกร กำลังพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ N Vision 74 เข้าสู่สายการผลิตจริง สำหรับการขับขี่ในเมืองหรือบนทางด่วน เซลล์เชื้อเพลิงขนาด 85 กิโลวัตต์ จะให้กระแสไฟฟ้าที่จำเป็นในการขับเคลื่อนมอเตอร์สองตัวที่ติดตั้งไว้ที่ด้านหลัง ยาง Pirelli P Zero 270/35R20s ที่ด้านหน้าและ 315/30R21s ที่ด้านหลัง ด้วยน้ำหนัก 2470 กิโลกรัม ทำให้ Vision 74 มีน้ำหนักมากเกินไป วิศวกรกล่าวว่า รุ่นผลิตจริงจะเบากว่ารถต้นแบบมาก Hyundai ยังพยายามปรับให้รถตอบสนองได้ดีเมื่อเข้าโค้ง จุดศูนย์ถ่วงต่ำเข้ามาช่วยในเรื่องของการทรงตัวในย่านความเร็วสูง แต่น้ำหนักมหาศาลของมันส่งผลต่อการเลี้ยวในโค้งมุมแคบ รวมถึงความคล่องตัวที่ลดลงเมื่อเจอกับเส้นทางคดเคี้ยว สำหรับตัวเลขอัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงอยู่ที่ 4.0 วินาที โดยมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ในอนาคต หากโครงการนี้เป็นความจริง เวอร์ชันการผลิตออกขายของ N Vision 74 จะมีราคาไม่ถูก แม้ว่า N Vision 74 จะมีความสามารถและประสิทธิภาพที่เหนือกว่ารถยนต์ไฟฟ้า ทั้งในด้านของระยะเวลาในการเติมไฮโดรเจนและระยะทางที่ทำได้ Hyundai ต้องปรับปรุงอีกหลายจุดของรถ รวมถึงการเพิ่มจำนวนสถานีเติมไฮโดรเจนให้มีความครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน.