เมื่อ Elon Musk เรียกเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน ในการสัมภาษณ์เมื่อเร็วๆ นี้ ว่าเป็น "สิ่งที่โง่ที่สุดที่จะสามารถจินตนาการได้สำหรับการจัดเก็บพลังงาน" นั่นหมายถึงการเย้ยหยันพลังงานทางเลือกที่จะเข้ามาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในอนาคต น่าเสียดายที่วิสัยทัศน์ของผู้ปลุกกระแสรถยนต์ไฟฟ้าเมื่อสิบกว่าปีก่อนจนได้รับความนิยม จะด้อยค่าพลังงานไฮโดรเจนแบบนั้น คนส่วนใหญ่อาจไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้มาก่อน และถ้าเคย ก็มีแนวโน้มในการรับรู้ว่า การใช้พลังงานไฮโดรเจนจะเชื่อมโยงกับเรื่องในอดีต เช่น เรือเหาะ Hindenburg ซึ่งเป็นอากาศยานที่เต็มไปด้วยไฮโดรเจน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องการเกิดไฟไหม้และระเบิดเมื่อ 85 ปีก่อน การจัดเก็บที่เคยยุ่งยากในอดีตและเต็มไปด้วยต้นทุน รวมถึงสถานีเติมที่มีอยู่เพียงน้อยนิด ทำให้รถไฮโดรเจนไม่แพร่หลายเท่าที่ควร 

ปัจจุบัน เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนมีความก้าวล้ำไปไกลมากแล้ว ทั้งในด้านของความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่เหนือกว่า และอาจมีบทบาทสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนผ่าน จากเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปเป็นเซลล์เชื้อเพลิงที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะจากการใช้งาน ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานต่างยกให้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนเป็นอนาคตของการขับเคลื่อนยานพาหนะควบคู่ไปกับพลังงานไฟฟ้า 

...

โดยพื้นฐานแล้ว เทคโนโลยีใหม่ ช่วยทำให้การใช้งานเซลล์เชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม โดยการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำหรือเชื้อเพลิงฟอสซิลคาร์บอน แล้วย้อนกลับกระบวนการ รวมเอาอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจน ในเซลล์ไฟฟ้าเคมี เพื่อผลิตไฟฟ้า จากความร้อนบางส่วนของไอน้ำ เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสองถึงสามเท่า นอกจากนี้ แบตเตอรี่ที่นำมาใช้งานในระบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนก็มีขนาดเล็กกว่ายานพาหนะไฟฟ้า 100% และมีศักยภาพมากพอในการจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ขับเคลื่อนของรถบรรทุกขนาดเล็กรวมถึงเครื่องจักรกลที่รับงานหนักอย่าง รถไฟ รถบัส เครื่องบินขนาดเล็ก และเรือเดินทะเล ตลอดจนสร้างพลังงานสำรองสำหรับโรงพยาบาลและศูนย์ข้อมูลที่ต้องการพลังงานหล่อเลี้ยงระบบอย่างต่อเนื่อง

ต้นทุนการผลิตที่สูง การขาดโครงสร้างพื้นฐานในการเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจน และค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวที่สะอาดอย่างแท้จริง ทำให้เมื่อเรานำไฮโดรเจนกลับมาแล้ว แต่สุดท้ายมันก็ยังไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร 

Toyota ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่าได้ร่วมมือกับ Isuzu และพันธมิตรรายอื่นๆ เพื่อพัฒนารถบรรทุกเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับงานบรรทุกขนาดเบา โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดตัวรถบรรทุกเล็กที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิงในญี่ปุ่น ภายในปีหน้านี้ (2566) Renault และ Hyundai กำลังทดสอบรถยนต์ไฮบริดไฟฟ้า-ไฮโดรเจน ส่วนการจดสิทธิบัตรของเทคโนโลยีนี้ก็มีตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมื่อเราเริ่มขยายขอบเขตการใช้งานของเซลส์เชื้อเพลิงให้ใหญ่ขึ้น ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนต่างๆ คาดว่าจะลดลงมาอีก

...

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน พร้อมที่จะลงนามในพระราชบัญญัติลดอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งมีโครงการริเริ่มด้านสภาพภูมิอากาศที่สำคัญ มีการเสนอเครดิตภาษี 3 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม สำหรับการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว ไฮโดรเจนสีเขียวสะอาดกว่าไฮโดรเจนสีน้ำเงิน ซึ่งผลิตจากก๊าซธรรมชาติ และไฮโดรเจนสีเทาที่ผลิตจากถ่านหิน ร่างกฎหมายดังกล่าว ยังขยายเครดิตภาษีรถยนต์ไฟฟ้าให้ครอบคลุมรถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน โดยภาครัฐของอเมริกาจะสนับสนุนเงินมูลค่าสูงถึง 7,500 ดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินบาทจะเท่ากับ 272,925 บาท สำหรับคนที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่

แต่ทุกวันนี้ มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว มันอาจจะสายเกินไปสำหรับเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนในตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ในเดือนมิถุนายน 2564 มีรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) เพียง 40,000 คันบนท้องถนนทั่วโลก ซึ่งน้อยกว่า 0.01% ของรถยนต์ทั้งหมด

มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ใช้ความพยายามร่วมกันกับภาคธุรกิจ ในการลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง แต่มีการคาดกันว่า ความคิดริเริ่มนี้อาจล้มเหลว เพราะต้องอาศัยไฮโดรเจนสีน้ำเงินและการขาดโครงสร้างพื้นฐานหรือสถานีเติมไฮโดรเจน เพื่อรองรับรถยนต์ไฮโดรเจนรุ่นใหม่ ที่สำคัญก็คือ ผู้ใช้รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิง ไม่สามารถหาสถานที่เติมไฮโดรเจนให้กับรถได้ทุกที่ สถานีเติมมีจำนวนน้อยเกินไป แต่ในอนาคต สถานีเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนจะมีแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

...

จนถึงปัจจุบันมีการผลิตไฮโดรเจนจำนวนน้อยมากที่เป็นสีเขียว เนื่องจากน้ำที่ใช้อิเล็กโทรไลต์ เป็นพลังงานที่เข้มข้นและมีราคาแพง มีพลังงานหมุนเวียนไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ ไฮโดรเจนสีน้ำเงินที่มีความยั่งยืนน้อยกว่า จึงยังคงเป็นปัจจัยสำคัญและมีราคาถูกกว่าอย่างเห็นได้ชัด

เอมี อดัมส์ รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงและไฮโดรเจนของคัมมินส์ บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ในรัฐอินเดียนา คาดการณ์ว่า รถยนต์เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน จะมีสมรรถนะเทียบเท่ากับเครื่องยนต์สันดาปภายในทั้งเบนซิน ดีเซล รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า ภายในสิ้นทศวรรษนี้ เนื่องจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ เข้ามาช่วยลดต้นทุนและสร้างโครงสร้างพื้นฐานการเติมเชื้อเพลิงไฮโดรเจนให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น 

อดัมส์ตั้งข้อสังเกตว่า การเติบโตส่วนใหญ่ อาจมาในรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนเพื่อการพาณิชย์ หรือรถบรรทุก ซึ่งการนำเซลล์เชื้อเพลิงมาใช้ ทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่า มีข้อได้เปรียบเหนือกว่าแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่ป้อนไฟฟ้าให้กับมอเตอร์ขับเคลื่อน

...

ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความก้าวหน้าด้านวัสดุและเทคโนโลยี มีส่วนอย่างมากในการลดต้นทุนวัสดุของเซลล์เชื้อเพลิง ประสิทธิภาพเซลล์เชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ปัจจุบัน เทคโนโลยีนี้สามารถจ่ายไฟให้กับไมโครกริดขนาด 200 เมกะวัตต์ได้แล้ว และความต้องการอิเล็กโทรไลเซอร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งช่วยลดต้นทุนลงได้อีก ปีที่แล้ว บริษัท Cummins ได้พัฒนาโมดูลเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับ Alstom ผู้ผลิตรถไฟของฝรั่งเศส ซึ่งเปิดตัว Coradia iLint รถไฟพลังไฮโดรเจนสำหรับผู้โดยสารเป็นรายแรกของโลก

ดักลาส มัวร์ ผู้จัดการทั่วไปในทีมโซลูชันเซลล์เชื้อเพลิงของ Toyota เห็นด้วยกับศักยภาพของไฮโดรเจน สำหรับรถบรรทุกงานหนักที่ต้องการน้ำหนักบรรทุกจำนวนมากและต้องเดินทางไกล เขากล่าวว่า "โซลูชันเซลล์เชื้อเพลิงจะเป็นผู้ชนะที่แท้จริง ในแง่ที่ว่าสามารถบรรลุตัวเลขกำลังแรงบิดและระยะทาง สำหรับลูกค้าที่มีธุรกิจขนส่งสินค้าขนาดใหญ่

นอกเหนือจากการใช้งานในด้านการขนส่งและผลิตพลังงานแล้ว ดักลาส มัวร์ ผู้จัดการทั่วไปในทีมโซลูชันเซลล์เชื้อเพลิงของ Toyota เชื่อว่า เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน สามารถเป็นเชื้อเพลิงแบบใหม่ที่เข้ามาสนับสนุนการแก้ปัญหามลภาวะ เพื่อทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ปราศจากคาร์บอน และช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายพลังงานไฮโดรเจนผ่านกระบวนการหมุนเวียนได้อย่างแท้จริง"

การแข่งขันระหว่างเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงไฟฟ้ากับไฮโดรเจนคือการแข่งขันที่ส่งผลดีต่อโลก มีการนำเสนอทางเลือกใหม่ๆ เพื่อให้แน่ใจว่า จะมีการใช้ไฮโดรเจนทุกที่ที่เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า วัตถุประสงค์หลักก็คือ ไฮโดรเจนและพลังงานไฟฟ้า จะเปลี่ยนแปลงระบบการขนส่งทั้งหมดของมนุษย์ในอนาคต และทำให้เป็นเส้นทางที่ปราศจากคาร์บอน ซึ่งสามารถใช้งานได้ในเชิงพาณิชย์และปรับใช้ได้ในทุกภาคส่วน.