Thunderbirds ชื่อนี้มาจากตำนานของพวกอินเดียแดงในสหรัฐอเมริกาที่ใช้เรียกชื่อนกนักล่า ที่มีลักษณะคล้ายกับนกอินทรีสีน้ำตาล โดยมีสิ่งพิเศษนอกจากจะเป็นนกอินทรีขนาดยักษ์แล้วยังมีฤทธิ์ที่เป็นสายฟ้าสะท้อนมาจากจงอยปากอันคมกริบเมื่อไรที่มันกระพือปีกเพื่อที่จะบินก็จะทำให้ เกิดสายฟ้าซึ่งมีพลังมหาศาลสามารถทำลายทุกสิ่งรอบตัวลงไปได้ทันทีลักษณะ ทั่วไปคล้ายนกอินทรีสีน้ำตาล จงอยปากและกรงเล็บแหลมคมมาก ปลายปีกออกสีเลื่อมทองอาศัยอยู่บนยอดเทือกเขาสูงหรือในบริเวณที่เป็นหน้าผา บางครั้งรูปร่างก็คล้ายเหยี่ยวสีน้ำตาลซึ่งเป็นนกนักล่าที่มีขนาดใหญ่กว่านกทั่วไปมาก

ประวัติความเป็นมาของฝูงบิน Thunderbirds ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2496 ณ ฐานทัพอากาศ Luke มลรัฐ Arizona สหรัฐอเมริกา โดยมีเครื่องบินแบบ F - 84G Thunderjet ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ร่วมปฏิบัติการในสงครามเกาหลีเข้าประจำการในฝูงบินเป็นแบบแรก หลังจากนั้นในปี 2498 ได้เปลี่ยนแบบเป็นเครื่องบินแบบ F - 84F Thunderstreak ในช่วง 3 ปีแรกของฝูงบิน Thunderbirds ได้ทำการบินด้วยเครื่องบินแบบ F - 84 ต่อสายตาผู้ชมกว่า9ล้านคน ในการแสดงการบิน 222 ครั้ง รวมทั้งประเทศในแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ในเดือนมิถุนายน 2499 ฝูงบิน Thunderbirds ได้ย้ายที่ตั้งไปอยู่ ณ ฐานทัพอากาศ Nellis มลรัฐ Nevada และได้ทำการเปลี่ยนแบบจากเครื่องบินแบบ F - 84เป็นเครื่องบินแบบ F - 100 Super Sabreซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียงแบบแรกของโลกและได้ทำ หน้าที่ในฝูงบินอยู่ถึง 13 ปี ทั้งแบบ F - 100 C และ D ได้ทำการแสดงการบินผาดแผลงรวมกันกว่า 1,100 ครั้ง ในประเทศตั้งแต่ตะวันออกไกลถึงอาฟริกาเหนือ แม้ว่าจะได้มีการเปลี่ยนแบบเป็นเครื่องบินแบบ F - 105B Thunderchief ในช่วงสั้น ๆ แต่หลังจากเครื่องบินแบบ F - 105B ทำการแสดงได้เพียง 6 ครั้งในปี 2507 ฝูงบิน Thunderbirds ได้เปลี่ยนกลับมาใช้เครื่องบินแบบ F - 100D ซึ่งสามารถเติมเชื้อเพลิงในอากาศได้ เป็นผลให้ทำการบินได้ ระยะทางไกลกว่าแต่ใช้เวลาน้อยกว่า



ในช่วงปี 2512 - 2516 ฝูงบิน Thunderbirdsได้ใช้เครื่องบินขับไล่ชั้นแนวหน้ารุ่นอมตะในสงครามทางอากาศ เหนือน่านฟ้าเวียดนามของกองทัพอากาศสหรัฐ ฯคือเครื่องบินแบบ F - 4E Phantom II และทำการแสดงกว่า 500 ครั้ง ใน 5ฤดูกาล ใน 30 รัฐของสหรัฐ ฯ และประเทศแคนนาดา กลุ่มประเทศแถบลาตินอเมริกาและบางประเทศในทวีปยุโรป ฝูงบิน Thunderbirds ได้เปลี่ยนแบบเครื่องบินอีกครั้งหนึ่ง ในปี 2517 เป็นเครื่องบินแบบ T - 38 Talonซึ่งเป็นเครื่องบินฝึกความเร็วเหนือเสียงแบบแรกของโลกที่ประหยัดน้ำมัน และมีค่าบำรุงรักษาที่น้อยกว่าเครื่องบินแบบ F-4 ที่กินน้ำมันและมีความสิ้นเปลืองสูงกว่ามาก เครื่องบินแบบ Talon ได้แสดงการบินประมาณ 600 ครั้ง ใน 8 ฤดูกาล

ในต้นปี 2526 ฝูงบิน Thunderbirdsได้หันกลับมาใช้เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงอีกครั้งโดยได้บรรจุ เครื่องบินแบบ F - 16A Fighting Falcon เข้าประจำการ และในปี 2530 Thunderbirds ได้เป็นฝูงบินผาดแผลงฝูงแรกที่ได้แสดงการบินบนแผ่นดินประเทศคอมมิวนิสต์ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี 2534 Thunderbirds ได้กลับไปแสดงการบินในทวีปยุโรปอีกครั้งหนึ่ง เป็นเวลา 30 วัน ซึ่งได้ทำการแสดงการบินผาดแผลง 11 เที่ยวบิน ใน 8 ประเทศ รวมทั้งได้ไปเยือนประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ และฮังการี เป็นครั้งแรก

...


ฝูงบิน Thunderbirds ได้ทำการเปลี่ยนแบบอีกครั้งจากเครื่องบินแบบ F - 16A เป็น F-16 C ในปี 2535 เนื่องจากฝูงบินส่วนใหญ่ของกองทัพอากาศสหรัฐ ฯได้เปลี่ยนแบบเป็นเครื่องบินแบบเดียวกันทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการส่งกำลัง บำรุงและในฤดูกาลนั้น ฝูงบินThunderbirds ได้นำเครื่องบินแบบ F-16C ไปแสดงการบินเป็นระยะเวลา 17วัน ในประเทศแถบลาตินอเมริกา รวมทั้งสิ้น 75 เที่ยวบินต่อสายตาผู้ชมประมาณ 6.6 ล้านคน ในปี 2535 ช่วงปี 2536 ซึ่งเป็นการแสดงครั้งที่ 800 ของเครื่องบินแบบ F - 16 ฝูงบิน Thunderbirds มีผู้ชม ถึงกว่า 8 ล้านคน ในปี 2537 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบปีที่ 50 ของฝูงบิน Thunderbirds ได้ทำการแสดงการบิน 67 ครั้ง ต่อหน้าผู้ชม 6 ล้านคน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2537 ได้ออกเดินทางทำการแสดงในประเทศตะวันออกไกลเป็นเวลา 26 วัน โดยใช้ชื่อว่า "Thunder Over the Pacific"ซึ่งได้ทำการแสดงให้ผู้ชม 1.3 ล้านคน ในมลรัฐ Alaska และในประเทศต่าง ๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาะกวม มลรัฐ Hawaii และประเทศไทย เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางอากาศของกองทัพอากาศสหรัฐ ฯ

สำหรับ ในปีนี้ Thunderbirds เลือกใช้เครื่องบินรบแบบ F-16 C/D Block 52 แบบใหม่โดยจะเปิดการแสดง 75 แห่ง สำหรับนอกประเทศสหรัฐฯปีนี้มีเพียงเปอโตรีโก้ ออสเตรเลีย กวม มาเลเซีย ไทย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่ได้รับเกียรติเปิดการแสดงในครั้งนี้ มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับการแสดงการบินผาดแผลงสุดยอดของโลกจาก กองทัพอากาศสหรัฐฯของฝูงบินผาดแผลงวิหกสายฟ้า Thunderbirdsโดยใช้เครื่องบินขับไล่แบบ F-16C ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สามที่เครื่องบินฝูงนี้จะมาแสดงในประเทศไทย(เดิม การแสดงการบินผาดแผลงครั้งที่สามได้ถูกยกเลิกไปเมื่อเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน) ในครั้งแรก F-16 ได้มาทำการแสดงในราวๆ ปี 2530ช่วงที่กองทัพอากาศไทยจะซื้อ F-16 A/B ในครั้งนั้น สหรัฐฯ ยังใช้ F-16 A/B ในฝูงบิน Thunderbirds มาถึงการแสดงการบินผาดแผลงในครั้งที่สองคนไทยต้องตื่นตาตื่นใจอีกครั้งกับ การแสดงการบินอันยิ่งใหญ่ของวิหกสายฟ้า เมื่อราวๆปี 2537 ครั้งนั้น Thunderbirdsเปลี่ยนมาใช้เครื่องบินแบบ F-16 C Block 30/32ที่ทันสมัยกว่ารุ่นเก่าและในครั้งนี้ (10 ตุลาคม 2552) อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกในการแสดงนอกประเทศของธันเดอร์เบิร์ด ที่จะใช้เครื่องบินขับไล่แบบ F-16 CBlock 50/52 ที่ก้าวล้ำไปอีก (ชั้นเดียวกับที่เคยเสนอขาย ทอ.ไทย)และครั้งนี้จะเป็นการตื่นตาตื่นใจกับเที่ยวบินผาดแผลงที่สุดสวยและ สุดยอด(แอบทราบมาว่า จะมี คนไทย และนายทหารจากกองทัพอากาศไทย ได้รับเกียรติขึ้นไปบินด้วย) สำหรับการกำหนดวันแสดงอย่างไม่เป็นทางการ นั้นฝูงบิน Thunderbirds จะเดินทางมาถึงท่าอากาศยานดอนเมือง ในวันที่ 5 ตุลาคม2552โดยในช่วงดังกล่าวจะมีการบินซ้อมโชว์เหนือฟ้าดอนเมืองเป็นระยะ สำหรับกำหนดการแสดงจะเป็นวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2552 เวลาประมาณ 13.00น. ณ ลานแสดงการบินดอนเมือง (ลานจอดอากาศยานคลังสินค้าท่าอากาศยานดอนเมืองถนนวิภาวดีรังสิต)


F-16 เป็นเครื่องบินรบแบบพหุบทบาท (Multi Role)ซึ่งสามารถทำภารกิจการโจมตีทั้งบนพื้น บนทะเลและบนอากาศได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ F-16 สามารถปฏิบัติการได้ทุกสภาวะอากาศไม่ว่าจะฝนตก แดดออก ลมแรง ก็สามารถทำการขึ้นบินได้หมด โดยถูกผลิตมามากกว่า 4000 ลำเพื่อตอบสนองต่อคำสั่งซื้อของกองทัพอากาศกว่า 20 ประเทศทั่วโลกโดยได้แสดงให้เห็นถึงสมรรถณะมาแล้วทั้งในสงครามอ่าวเปอร์เซีย สงครามโคโซโว สงครามอัฟกานิสถาน สงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งที่สองรวมทั้งในสงครามทางอากาศระหว่างปากีสถานและ โซเวียต/อัฟกานิสถานและการโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียของอิรักโดยอิสราเอล ทั้งในไม่เคยมี F-16เครื่องใดถูกเครื่องบินฝ่ายตรงข้ามยิงตกเลยแม้แต่เครื่องเดียว F-16 มีการพัฒนามาหลากหลายรุ่น โดยแต่ละรุ่นจะเรียกชื่อว่า Block XXโดยมีทั้งหมด 11 Block คือ Block 1, 5, 10, 15, 15OCU, 20 25 30/32, 40/42,50/52, และ Block 60 ส่วนกองทัพไทยใช้เครื่อง Block 15OCU และ ADFซึ่งเป็น Block 15OCU ที่ปรับปรุงแล้ว สหรัฐอเมริกานั้นเสนอ F-16C/D Block 50/52+ ซึ่งติดถึงน้ำมันข้างลำตัวหรือถัง CFT (Comformal FuelTank) เพื่อเพิ่มพิสัยบินให้ไกลขึ้น โดยสามารถบรรจุเชื้อเพลิงได้ 2,271ลิตร และเพิ่มพิสัยบินให้ไกลขึ้น 20 - 40% ติดระบบสร้างออกซิเจนบนเครื่อง(On-board Oxygen Generator) พร้อมเรดาห์ AGP-68(V)9 รุ่นล่าสุดซึ่งเพิ่มระยะการตรวจจับมากขึ้นจากเดิมถึง 30%

F-16 C/D Block 52 Specifications

นักบิน................................................. 1 นาย
ความยาว...........................................14.8 เมตร
ความสูง..............................................
4.8 เมตร
ระยะระหว่างปลายปีก.........................
9.45 เมต
พื้นที่ปีก.............................................. 27.87 ตารางเมต
น้ำหนักเปล่า....................................... 8,670 กิโลกรัม
น้ำหนักพร้อมอาวุธ
............................. 12,000 กิโลกรัม
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด
............................. 14,968 กิโลกรัม
เครื่องยนต์ .........................................เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแบบเอฟ 110-จีอี-100 ให้แรงขับ 17,155 ปอนด์และ 28,600 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย
ความเร็วสูงสุด....................................1.2 มัค (1,470 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับน้ำทะเล
...........................................................มากกว่า 2.0 มัค (2,414 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับสูง
รัศมีทำการรบ.....................................
550 กิโลเมตรพร้อมระเบิด 450 กิโลกรัม
ระยะในการขนส่ง...............................
4,220 กิโลมตรพร้อมติดตั้งถังน้ำมันที่สลัดทิ้งได้
เพดานบินทำการ................................
60,000 ฟุต
อัตราการไต่ระดับ...............................
50,000 ฟุตต่อนาที
น้ำหนักบรรทุกที่ปีก
............................ 194 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก
1.095
อาวุธ..................................................ปืนแกทลิ่งเอ็ม61 วัลแคนขนาด 20 ม.ม.หนึ่งกระบอก พร้อมกระสุน 515 นัด
จรวด.................................................. กระเปาะจรวดแบบแอลเอยู-61/แอลเอยู/68 4 อัน (แต่ละอันมีจรวดไฮดรา 70 19 และ 7 ลูกตามลำดับ)
..........................................................กระเปาะจรวดแบบแอลเอยู-5003 4 อัน (แต่ละอันมีจรวดซีอาร์วี7 19 ลูก)
..........................................................กระเปาะจรวดแบบแอลเอยู-10 4 อัน (แต่ละอันมีจรวดซูนิ 4 ลูก)
ขีปนาวุธ
ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ
...........................................................เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ 2 ลูก
...........................................................เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ 6 ลูก
...........................................................เอไอเอ็ม-120 แอมแรม 6 ลูก
ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น
...........................................................เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก 6 ลูก
...........................................................เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม 4 ลูก
...........................................................เอจีเอ็ม-45 ไชรค์ 6 ลูก
ขีปนาวุธต่อต้านเรือ
...........................................................เอจีเอ็ม-119 เพนกวิน 4 ลูก
...........................................................เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน 2 ลูก
ระเบิด
............................................................
ซีบียู-87 2 ลูก
............................................................ซีบียู-89 2 ลูก
............................................................ซีบียู-97 2 ลูก
............................................................จีบียู-10 เพฟเวย์ 2 4 ลูก
............................................................จีบียู-12 เพฟเวย์ 2 6 ลูก
...........................................................ระเบิดวิถีด้วยเลเซอร์ตระกูลเพฟเวย์ 6 ลูก
...........................................................เจแดม 4 ลูก
...........................................................ระเบิดมาร์ค 84 4 ลูก
...........................................................ระเบิดมาร์ค 83 8 ลูก
...........................................................ระเบิดมาร์ค 82 12 ลูก
...........................................................ระเบิดนิวเคลียร์ บี61 1ลูก
........................................................... เครื่องปล่อยพลุล่อเป้าแบบเอสยูยู-42เอ/เอ หรือ อีเอ็มซีแบบเอเอ็น/เอแอลคิว-131 และเอเอ็น/เอแอลคิว-184 หรือ กระเปาะหาเป้าแบบแลนเทิร์น ล็อกฮีด มาร์ติน สไนเปอร์ เอ็กซ์อาร์ และไลท์นิ่ง
........................................................... ถังเชื้อเพลิงทิ้งได้ขนาด 300/330/370 แกลลอนสหรัฐฯ ได้มากถึง 3 ถังเพื่อทำการขนส่งหรือเพิ่มระยะ
เรดาร์..................................................แบบเอเอ็น/เอพีจี-68

ข้อมูลอ้างอิงจาก
www.wikipedia.org
www.bloggang.com

arcom roumsuwan [chang]
chang.arcom@thairath.co.th
photo by
www.airliners.net

...