รัสเซียเริ่มทดสอบชุดระบบเอวิโอนิกส์ใหม่ของ ซูฮอย T-50 PAK-FA เครื่องบินขับไล่ยุค 5โดยจะอัพเกรดให้ทัดเทียม เอฟ-22 แร็ปเตอร์ และ เอฟ-35 เอ ไลท์นิ่งทู ของ ทอ.สหรัฐ ที่รวมข้อมูลจากเซนเซอร์ตรวจจับต่างๆ ให้นักบินใช้ตัดสินใจในการรบ

สำนักข่าวต่างประเทศอ้างรายงานของ ยูไนเต็ด แอร์คราฟท์ คอร์ปอเรชั่น หรือ ยูเอซี บริษัทแม่ของ ซูคอย (Sukhoi) ว่า ได้มีการอัพเกรดใหญ่ให้กับเครื่องบินขับไล่ล่องหน จากการตรวจจับด้วยเรดาร์ หรือมีคุณสมบัติสเตลธ์ ที-50 PAK-FA ด้วยชุดเอวิโอนิกส์ ที่เรียกว่า 'IMA BK' ที่เป็นระบบตรวจจับอัตโนมัติ และติดตามเป้าหมายที่เป็นภัยอันตราย แล้วเสนอทางเลือกที่ดีที่สุดในการจัดการเป้าหมายแก่นักบิน โดยระบบใหม่นี้จะเข้าควบคุมเซนเซอร์ตรวจจับหลักทั้งหมดบนเครื่องบิน เรดาร์ ระบบสื่อสาร ระบบนำร่อง ต่างจากเครื่องรุ่นก่อนหน้าที่แต่ละระบบต้องมีคอมพิวเตอร์แยกกันทำงานต่างหาก

ยูเอซี อ้างว่า ระบบที่เรียกว่า IMA BK หรือระบบเอวิโอนิกส์ควบคุมการรบแบบบูรณาการ เข้ามาทดแทนระบบที่ออกแบบมาก่อนหน้าในปี 2004 ที่เรียกว่า Baguette ระบบใหม่นี้มาพร้อมกับซอฟต์แวร์ที่มีชุดคำสั่งถึง 4 ล้านโค้ด โดยทั้งหมดยังอยู่ระหว่างกระบวนการทำงาน เพื่อที่ต้องการเพิ่มเติมชุดคำสั่งให้สมบูรณ์ เพื่อให้ใช้งานได้ในทุกฟังก์ชั่นในระบบอำนวยการรบของเครื่อง PAK-FA

...

สำหรับระบบ IMA BK ประกอบด้วย หน่วยประมวลผลไมโครโปรเซสเซอร์แบบมัลติคอร์ ระบบปฏิบัติการใหม่ที่ทำงานแบบเรียลไทม์ ใช้สายไฟเบอร์ออปติก ที่มีช่องสัญญาณส่งข้อมูลเร็วกว่า 8 กิกกะบิตต่อวินาที เหนือกว่าสายทองแดงแบบเก่าที่ใช้งานในเครื่องบินรุ่นเดิมๆ ที่มีช่องสัญญาณเพียง 100 เมกะบิตต่อวินาที ทั้งหมดออกแบบมาให้เป็นส่วนๆ ง่ายต่อการอัพเกรด

นายดิมิตรี กรีบอฟ หัวหน้าฝ่ายออกแบบ ซูฮอย กล่าวว่า ระบบมัลติคอร์ ทำให้เราตั้งค่าข้อจำกัดด้านความเสียหายได้แบบไร้ขีดจำกัด อีกทั้งยังลดน้ำหนัก และประหยัดพลังงาน และค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ลงด้วย

ด้านนักวิเคราะห์ของรัสเซีย ระบุกับ เนชั่นแนลอินเทอร์เรส ว่า ระบบใหม่มีแนวคิดคล้ายกันกับระบบการรบแบบบูรณาการที่มีติดตั้งในเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 ของสหรัฐฯ เป็นไปได้ว่านักพัฒนาของรัสเซียก็มีแนวทางมุ่งไปตามเทรนด์นี้เช่นกัน.

ที่มา nationalinterest