มาตรการจากทางภาครัฐที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ในการจัดการสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้ผู้บริหารของ Toyota เชื่อมั่นว่าสถานการณ์กำลังจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ถึงแม้ว่าสถานการณ์การระบาดจะกลับมาอีกครั้งก็ตาม สำหรับยอดขายรถยนต์รวมในประเทศไทยปี 2563 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้ยอดขายลดลง 21.4% โดยมียอดขายอยู่ที่ 792,146 คัน

...

Toyota Motor Thailand แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2563 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์ไทยปี 2564 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 ผ่านช่องทางออนไลน์

สถิติการขายรถยนต์ในประเทศปี 2563

ยอดขายปี 2563 เทียบกับปี 2562

ปริมาณการขายรวม 792,146 คัน ลดลง -21.4%

รถยนต์นั่ง 274,789 คัน ลดลง -31.0%

รถเพื่อการพาณิชย์ 517,357 คัน ลดลง -15.1%

รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง PPV)

409,463 คัน ลดลง -16.8%

รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง)

364,887 คัน ลดลง -15.5%

สำหรับแนวโน้มตลาดรถยนต์ของปี 2564 คาดการณ์ว่า ในปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายอีกครั้งสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย เนื่องจากยังคงต้องเผชิญกับหลายปัจจัย จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 การพัฒนาวัคซีน และการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมถึงแนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ทั้งหมดนี้ จะส่งผลต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวต่างๆ ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เช่น การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ กิจกรรมทางการตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ โดยเฉพาะงานมอเตอร์โชว์และมอเตอร์เอ็กซ์โป จะมีบทบาทสำคัญต่อการกระตุ้นยอดขายรถยนต์ ดังนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 850,000 – 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 7-14% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”

...

ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2564

ปริมาณการขายรวม 850,000 – 900,000 คัน เพิ่มขึ้น + 7-14%

รถยนต์นั่ง 290,000 – 318,000 คัน เพิ่มขึ้น + 5-15%

รถเพื่อการพาณิชย์ 560,000 – 582,000 คัน เพิ่มขึ้น + 8-13%

ยอดขายรถยนต์ Toyotaในปี 2563
ยอดขายรวมของ Toyota ลดลง 26.5% หรือคิดเป็นจำนวน 244,316 คัน อย่างไรก็ตาม Toyota ยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 30.8% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด เนื่องจากมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆ อย่าง Corolla Cross Yaris Ativ Fortuner Legender Hilux REVO Facelift และ innova crysta ทั้งหมดนี้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า และส่งผลให้โตโยต้าสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดได้”

สถิติการขายรถยนต์ของ Toyota ในปี 2563

ยอดขายปี 2563 เทียบกับปี 2562

ปริมาณการขาย Toyota 
244,316 คัน ลดลง -26.5% ส่วนแบ่งทางการตลาด 30.8%

รถยนต์นั่ง 68,152 คัน ลดลง -42.1% ส่วนแบ่งทางการตลาด 24.8%

...

รถเพื่อการพาณิชย์ 176,164 คัน ลดลง -17.9% ส่วนแบ่งทางการตลาด 34.1%

รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง PPV) 149,635 คัน ลดลง -21.9% ส่วนแบ่งทางการตลาด 36.5%

รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 129,893 คัน ลดลง -21.5% ส่วนแบ่งทางการตลาด 35.6%

ปี 2564 Toyota ตั้งเป้าการขายอยู่ระหว่าง 280,000 - 300,000 คัน หรือคิดเป็นยอดขายที่เพิ่มขึ้น 15 – 23% จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาดที่ 33.3%”

ปริมาณการขายรถยนต์ของ Toyota ในปี 2564

ยอดขายประมาณการปี 2564 เทียบกับปี 2563

ปริมาณการขาย Toyota 280,000 – 300,000 คัน เพิ่มขึ้น + 15-23% ส่วนแบ่งทางการตลาด 33.0%

รถยนต์นั่ง 82,500 – 92,000 คัน เพิ่มขึ้น + 21-35% ส่วนแบ่งทางการตลาด 29.0%

รถเพื่อการพาณิชย์ 197,500 – 208,000 คัน เพิ่มขึ้น + 12-18%

ส่วนแบ่งทางการตลาด 36.0%

รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง PPV) 168,500 – 181,000 คัน เพิ่มขึ้น + 13-21% ส่วนแบ่งทางการตลาด 38.0%

...

รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 144,000 – 153,000 คัน

เพิ่มขึ้น + 11-18% ส่วนแบ่งทางการตลาด 38.0%

ตัวเลขการส่งออกรถยนต์ในปี 2563 Toyota ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปจำนวน 215,277 คัน ลดลง 18.7% ปริมาณการผลิตสำหรับการขายภายในประเทศ และการส่งออกมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 442,822 คัน ลดลง 22.4% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของ Toyota ปี 2563

ปริมาณปี 2563 เทียบกับปี 2562

ปริมาณการส่งออก 215,277 คัน ลดลง -18.7%

ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ 442,822 คัน ลดลง -22.4%

สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของ Toyota ในปีนี้ คาดการณ์ว่า ปริมาณการส่งออกจะอยู่ที่ 254,000 คัน เพิ่มขึ้น 18% จากปีที่แล้ว เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นจากภูมิภาคหลัก เช่น เอเชียและโอเชียเนีย Toyota ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 527,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 19% จากปี 2563 ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าว สอดคล้องกับเป้าหมายยอดขายของทั้งในระดับประเทศและระดับโลก

เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป และการผลิตของ Toyota ปี 2564

ปริมาณปี 2564 เทียบกับปี 2563

ปริมาณการส่งออก 254,000 คัน 18%

ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ

527,000 คัน 19%

ทิศทางการดำเนินธุรกิจของ Toyota ในประเทศไทยว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่าอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ของ Toyota ได้ก้าวสู่ยุคแห่งการปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยปฏิรูปองค์กรจากเดิมที่เป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์สู่การเป็น “องค์กรแห่งการขับเคลื่อน” (Mobility Company) มีเป้าหมายเดินหน้ามอบความสุขให้กับสังคมไทย ด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่ Toyota ดำเนินการเพื่อผลักดัน “ธุรกิจการขับเคลื่อน” จาก “พันธสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของ Toyota  2050” ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เป็น “ศูนย์” ในทุกกิจการที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ โดยในระดับโลก Toyota พยายามที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 90% เมื่อเทียบกับปี 2553

ที่ผ่านมา Toyota พัฒนายานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยรถยนต์ไฟฟ้าหลากหลายรุ่น เช่น รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ และรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิง เป็นการผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษต่ำ หรือไม่มีการปล่อยมลพิษ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คน และสอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย

Toyota Motor Thailand ริเริ่มการผลิตรถยนต์ไฮบริด ด้วยการแนะนำรถยนต์ Camry Hybrid ตั้งแต่ปี 2552 และตามมาด้วยรถยนต์ไฮบริดอีกหลากหลายรุ่น อาทิ Prius Corolla Altis Corolla Ceoss ทุกรุ่นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มียอดขายรวมทั้งสิ้นมากกว่า 100,000 คันในปัจจุบัน เป้าหมายของ Toyota คือส่งเสริมให้มีการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านพลังงานของภาครัฐ และวางรากฐานอันแข็งแกร่งเพื่อนำไปสู่ยุคแห่งการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ การประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคส่วนต่างๆ ที่มีวิสัยทัศน์และจุดยืนเดียวกันกับเราจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่ง

ปัจจุบัน Toyota มีพันธมิตรที่ร่วมกระบวนการบริหารจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฮบริดใช้แล้วแบบครบวงจร หรือ “3R Scheme” ประกอบด้วย การใช้ซ้ำ (Re-use) การผลิตแบตเตอรี่เกรดใช้งานแล้วลูกใหม่ (Re-build) และการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) นอกจากนี้ยังสนับสนุนหลากหลายโครงการเพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์ในการส่งเสริมยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า โดยในขั้นตอนแรก Toyota ได้สนับสนุนโครงการวิจัยร่วมกับบรรดามหาวิทยาลัย โดยศึกษาแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า เช่น ความต้องการของลูกค้า ผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง และข้อกำหนดที่จำเป็นต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยโครงการวิจัยดังกล่าวได้เสร็จสมบูรณ์แล้วเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และเราจะนำผลการศึกษาทั้งหมดไปหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ

นอกจากนี้เดือนที่ผ่านมา Toyota ร่วมมือกับเทศบาลเมืองพัทยา และโอซาก้า แก๊ซ เพื่อพัฒนา “โครงการการจัดตั้งเมืองที่ยั่งยืนโดยปราศจากมลภาวะ” ซึ่งเป็นโครงการสาธิตเพื่อนำรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าหลากหลายรุ่นมาใช้งาน โดยตอบโจทย์วัตถุประสงค์ในการสัญจรที่หลากหลายภายในเมืองพัทยา และจะยืนยันอีกครั้งว่าผลการศึกษาวิจัยสามารถนำมาใช้งานจริงได้หรือไม่ โดยหวังว่า ผลของโครงการจะเป็นต้นแบบที่ดีสำหรับการต่อยอดในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป

“ประสบการณ์การซื้อรูปแบบใหม่” (New Buying Experience) ผ่าน โครงการคินโตะ (KINTO) ซึ่งเป็นบริการเช่ารถของ Toyota โดยเพิ่มตัวเลือกของรุ่นรถสำหรับให้เช่า และแพ็กเกจการให้บริการ พร้อมทั้ง “การอนุมัติสินเชื่อรถยนต์รูปแบบใหม่” (Connected Auto Loan) หรือ CAL ที่ทำให้ลูกค้าสามารถ “เป็นเจ้าของรถยนต์ได้ง่ายขึ้น” ผ่านระบบเทเลมาติกส์

นอกจากนี้ Toyota ยังแนะนำแพลตฟอร์มใหม่ Toyota Wallet กระเป๋าเงินดิจิทัล เพื่อเพิ่มอิสระในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และตอบสนองต่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่ในยุคหลังโควิด-19 ในการยกระดับ “ประสบการณ์การใช้งานรูปแบบใหม่” (New Usage Experience) นำเทคโนโลยี “T-Connect” เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรถรุ่นใหม่ๆ หลากหลายรุ่น อาทิ Hilux REVO Fortuner Corolla Cross และ innova crysta โดยมี “ระบบติดตามรถหาย” “รายงานการเดินทาง” “ค้นหาตำแหน่งรถ” และ “บริการผู้ช่วยส่วนตัว” “T-Connect” ยังมีบทบาทสำคัญในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยได้แนะนำประกันภัยรูปแบบใหม่ นั่นคือ “ประกันภัยขับดีลดให้” (Toyota Care PHYD) ซึ่งถือเป็นประกันภัยที่มอบความคุ้มค่า โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่เพื่อการคำนวณเบี้ยประกันภัย

แม้ว่า Toyota จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาดของโรคโควิด-19 แต่ยังสนับสนุนสังคมไทย ด้วยการดำเนินโครงการ Toyota เคียงคู่ไทย สู้ภัยโควิด-19” (Toyota Stay With You) โดยร่วมมือกับผู้แทนจำหน่ายและผู้ผลิตชิ้นส่วนทั่วประเทศ นอกจากนี้ การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยโครงการ “โตโยต้า ถนนสีขาว” สร้าง “สังคมคนขับรถดี” ด้วยการเพิ่มจำนวนผู้ขับขี่ที่มีทักษะสูง และเมื่อปีที่ผ่านมา ได้ยกระดับหลักสูตรการขับขี่ปลอดภัยจากเดิมคือ “Safe Eco Driving Course” พัฒนาเป็นหลักสูตร “Toyota Mobility Driving Course” โดยที่ผ่านมา Toyota ได้จัดการอบรมหลักสูตรดังกล่าวให้กับผู้เข้าร่วมทั้งหมด 5,000 คน ประกอบด้วยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป 

โตโยต้า เมืองสีเขียว เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมของ Toyota ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ภายในโรงงานประกอบรถยนต์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชน เพื่อขยาย “โตโยต้า เมืองสีเขียว” ไปในภูมิภาคต่างๆ ร่วมกับผู้แทนจำหน่าย “โครงการ Toyota ธุรกิจชุมชนพัฒน์” มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการดำเนินธุรกิจของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยหลักการของระบบการผลิตแบบ Toyota ในปีที่แล้ว ประสบความสำเร็จในโครงการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ให้กับธุรกิจท้องถิ่น 6 แห่ง และในปีนี้ เราจะดำเนินการสร้างศูนย์การเรียนรู้ใหม่จำนวน 3 แห่ง ทั่วประเทศ ตลอดจนขยายผลการดำเนินงานต่อเนื่องให้กับธุรกิจต่างๆ อีก 10 แห่ง

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2563

ตลาดรถยนต์รวม
ปริมาณการขาย 104,089 คัน เพิ่มขึ้น 11.3%

อันดับที่ 1 Toyota 33,197 คัน เพิ่มขึ้น 12.6% ส่วนแบ่งทางการตลาด 31.9%
อันดับที่ 2 Isuzu 22,917 คัน เพิ่มขึ้น 45.3% ส่วนแบ่งทางการตลาด 22.0%
อันดับที่ 3 Honda 10,075 คัน เพิ่มขึ้น 5.6% ส่วนแบ่งทางการตลาด 9.7%

ตลาดรถยนต์นั่ง
ปริมาณการขาย 38,130 คัน เพิ่มขึ้น 3.1%

อันดับที่ 1 Toyota 8,811 คัน ลดลง 12.6% ส่วนแบ่งทางการตลาด 23.1%
อันดับที่ 2 Honda 8,378 คัน เพิ่มขึ้น 22.4% ส่วนแบ่งทางการตลาด 22.0%
อันดับที่ 3 Mazda 3,475 คัน ลดลง 3.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์
ปริมาณการขาย 65,959 คัน เพิ่มขึ้น 16.7%

อันดับที่ 1 Toyota 24,386 คัน เพิ่มขึ้น 25.7% ส่วนแบ่งทางการตลาด 37.0%
อันดับที่ 2 Isuzu 22,917 คัน เพิ่มขึ้น 45.3% ส่วนแบ่งทางการตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 Mitsubishi 4,595 คัน เท่าเดิม ส่วนแบ่งตลาด 7.0%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*

(Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 51,516 คัน เพิ่มขึ้น 14.4%

อันดับที่ 1 Toyota 21,566 คัน เพิ่มขึ้น 46.9% ส่วนแบ่งทางการตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 Isuzu 20,123 คัน เพิ่มขึ้น 17.5% ส่วนแบ่งทางการตลาด 39.1%
อันดับที่ 3 Ford 4,595 คัน เท่าเดิม ส่วนแบ่งทางการตลาด 8.9%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง PPV SUV ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 7,512 คัน
อันดับที่ 1 Isuzu MU-X 2,806 คัน
อันดับที่ 2 Toyota Fortuner 2,709 คัน 
อันดับที่ 3 Mitsubishi Pajero Sport 1,118 คัน
อันดับที่ 4 Ford Everest 856 คัน 
อันดับที่ 5 Nissan Terra 23 คัน

ตลาดรถกระบะ Pure Pick up
ปริมาณการขาย 44,004 คัน เพิ่มขึ้น 11.1%

อันดับที่ 1 Isuzu 18,760 คัน เพิ่มขึ้น 34.9% ส่วนแบ่งทางการตลาด 42.6%
อันดับที่ 2 Isuzu 17,414 คัน เพิ่มขึ้น 16.4% ส่วนแบ่งทางการตลาด 39.6%
อันดับที่ 3 Ford 3,739 คัน ลดลง 3.9% ส่วนแบ่งทางการตลาด 8.5%

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2563

ตลาดรถยนต์รวม
ปริมาณการขาย 792,146 คัน ลดลง 21.4%

อันดับที่ 1 Toyota 244,316 คัน ลดลง 26.5% ส่วนแบ่งตลาด 30.8%
อันดับที่ 2 Isuzu 181,194 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งตลาด 22.9%
อันดับที่ 3 Honda 93,041 คัน ลดลง 26.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.7%

ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 274,789 คัน ลดลง 31.0%

อันดับที่ 1 Honda 77,419 คัน ลดลง 19.5% ส่วนแบ่งทางการตลาด 28.2%
อันดับที่ 2 Toyota 68,152 คัน ลดลง 42.1% ส่วนแบ่งทางการตลาด 24.8%
อันดับที่ 3 Nissan 27,120 คัน ลดลง 24.3% ส่วนแบ่งทางการตลาด 9.9%

ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์
ปริมาณการขาย 517,357 คัน ลดลง 15.1%

อันดับที่ 1 Isuzu 181,194 คัน เพิ่มขึ้น 7.7% ส่วนแบ่งทางการตลาด 35.0%
อันดับที่ 2 Toyota 176,164 คัน ลดลง 17.9% ส่วนแบ่งทางการตลาด 34.1%
อันดับที่ 3 Mitsubishi 35,046 คัน ลดลง 29.0% ส่วนแบ่งทางการตลาด 6.8%

ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน
(Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 409,463 คัน ลดลง 16.8%

อันดับที่ 1 Isuzu 168,467 คัน เพิ่มขึ้น 10.0% ส่วนแบ่งทางการตลาด 41.1%
อันดับที่ 2 Toyota 149,635 คัน ลดลง 21.9% ส่วนแบ่งทางการตลาด 36.5%
อันดับที่ 3 Mitsubishi 35,046 คัน ลดลง 29.0% ส่วนแบ่งทางการตลาด 8.6%

ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 44,576 คัน
อันดับที่ 1 Toyota Fortuner 19,742 คัน 
อันดับที่ 2 Mitsubishi Pajero Sport 9,342 คัน 
อันดับที่ 3 Isuzu MU-X 8,139 คัน 
อันดับที่ 4 Ford Everest 5,343 คัน 
อันดับที่ 5 Nissan Terra 1,338 คัน
อันดับที่ 6 Chevrolet Trailblazer 672 คัน


ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 364,887 คัน ลดลง 15.5%

อันดับที่ 1 Isuzu D MAX 160,328 คัน เพิ่มขึ้น 11.6% ส่วนแบ่งทางการตลาด 43.9%
อันดับที่ 2 Toyota Hilux 129,893 คัน ลดลง 21.5% ส่วนแบ่งทางการตลาด 35.6%
อันดับที่ 3 Mitsubishi Triton 25,704 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่งทางการตลาด 7.0%

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-5253692475053