ได้ผลดีเกินคาด และประชาชนที่ได้รับสิทธิ์รวมถึงร้านค้ารายย่อยต่างพอใจกันอย่างมาก สำหรับโครงการ “คนละครึ่ง” ที่รัฐบาลช่วยจ่ายค่าสินค้า อาหาร และเครื่องดื่มให้ 50% โดยให้ใช้สิทธิ์ผ่านแอปฯ “เป๋าตัง” ในเวลา 06.00-23.00 น. ไม่เกินวันละ 150 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาทตลอดโครงการ ตั้งแต่วันที่ 23 ต.ค. 2563 เป็นต้นมา 

โครงการ “คนละครึ่ง” ช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังเศรษฐกิจซบเซาเพราะพิษโควิด-19 (COVID-19) และตอนนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาเตรียมจะเปิดให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ “คนละครึ่ง” เฟส 2 เร็วๆ นี้ ซึ่งคาดว่าเป็นวันที่ 1 ม.ค. 2564

เงื่อนไขสิทธิ์คนละครึ่ง จำกัดใช้ไม่เกินวันละ 150 บาทต่อคนต่อวัน ประชาชนที่ได้รับสิทธิ์นอกจากใช้จ่ายซื้ออาหารจากผู้ประกอบการรายย่อยตามร้านค้า หาบเร่ แผงลอย เครื่องดื่มชา กาแฟ เครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นแล้ว ในความเป็นจริงผู้บริโภคบางคนต้องการสินค้าอื่นๆ ชิ้นใหญ่ที่จำเป็น ราคาสูงแต่ไม่มีเงินมาพอมาจ่ายเพิ่ม เช่น อาหารสัตว์ อุปกรณ์การเกษตร ปุ๋ยเคมีเป็นกระสอบ โทรศัพท์มือถือ หม้อหุงข้าว ข้าวสารเป็นถุงหรือกระสอบ พัดลม ถังแก๊ส น้ำตาลทราย 10 กระสอบ หรือตุนนมไว้ให้ลูกกิน น้ำปลา ซอสต่างๆ เป็นลัง ล่ะจะทำอย่างไร?

...

หลังเกิดปัญหาดังกล่าว พบว่าผู้ประกอบการรายย่อย เจ้าของร้านโชห่วย ร้านของชำบางร้าน ใจดี ใจป้ำ ให้ใช้สิทธิคนละครึ่งด้วยวิธีสแกน “สะสมยอดเงิน” จนจำนวนเงินครบตามราคาขายก็ได้รับสินค้าของใช้จำเป็นที่ต้องการไปใช้

หลักวิธี “สะสมยอดเงิน” หรือรวมยอดเงินนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องได้รับความยินยอมทั้งสองฝ่าย คือ ผู้บริโภคและเจ้าของร้าน โดยผู้บริโภคต้องไปเจรจาต่อรองกับร้านที่รู้จักคุ้นเคย แจ้งความประสงค์ว่าต้องการของชิ้นไหน เช่น พัดลม ราคา 600 บาท

จากนั้นทางร้านจะทำเอกสาร ระบุชื่อ ราคาของสินค้า จำนวนครั้งที่สแกนจ่ายเงิน เบอร์โทรติดต่อของลูกค้า หรือสำเนาบัตรประชาชน จากนั้นผู้บริโภคก็ทยอยสแกนจ่ายเงินสะสมไปเรื่อยๆ ครั้งละ 150 บาท จำนวน 2 ครั้ง จนครบ จากนั้นรับพัดลมกลับไปใช้

หลักการใช้สิทธิ์คนละครึ่งด้วยการ “สะสมยอด” ที่เกิดจากความยินยอมของทั้งสองฝ่าย คือ ผู้ซื้อ ผู้ขาย ทางด้านกฎหมาย ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช บอก โดยหลักส่วนใหญ่เกิดจากความอะลุ่มอล่วย และยินยอมกันทั้งสองฝ่าย

สามารถทำได้หากไม่ทำผิดเงื่อนไขต่างๆ ของโครงการคนละครึ่งที่ระบุไว้ คือ จำกัดสิทธิไม่เกิน 150 บาทต่อวัน และเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการสำหรับร้านค้า 1.เป็นกิจการประเภท ร้านอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อย 2.ไม่ได้จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล 3.ไม่เป็นร้านสะดวกซื้อที่เป็นธุรกิจแฟรนไชส์.

อย่างไรก็ดีการใช้สิทธิ์คนละครึ่งในลักษณะ “สะสม” เจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทยที่คอยให้ข้อมูลหรือความช่วยเหลือผู้ใช้สิทธิ์คนละครึ่ง เปิดเผยว่า การกระทำดังกล่าวไม่ตรงตามเงื่อนไขของรัฐที่กำหนดให้ใช้งาน ถือเป็นการผิดเงื่อนไขในการใช้งาน เพราะรัฐให้ใช้เพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภค สินค้าทั่วไป วันต่อวัน ไม่สามารถตัดยอดและสะสมยอดได้ หากรัฐมีการตรวจสอบว่าผิดเงื่อนไข ร้านค้าที่ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมโครงการคนละครึ่งจะถูกตรวจสอบจากทางภาครัฐ และจะไม่สามารถดำเนินการต่อได้

...

สำหรับกรณีร้องเรียนร้านค้าขาดการดำเนินการ ต่างๆ สามารถติดต่อไปยังพาณิชย์จังหวัดนั้นๆ ในเขตพื้นที่ที่ใช้งานอยู่ สำหรับผู้ใช้สิทธิ์คนละครึ่ง ปัจจุบันมีการร้องเรียนเรื่องขาดการลงทะเบียน ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาเปิดลงทะเบียนเพิ่มเติม ให้รอประกาศจากทางภาครัฐอีกครั้งทางหน้า www.คนละครึ่ง.com

: ข่าวน่าสนใจ :