"บุญเราไม่เคยสร้าง...ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า..."

คำสอนของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) หรือ "สมเด็จโต" หรือ "หลวงพ่อโต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" พระเกจิอาจารย์สุดเลื่องชื่อตั้งแต่ครั้นสมัยอยุธยาจนมาถึงยุคปัจจุบัน ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาของ หญิงใบ้ ที่มีต่อคำสอนและองค์ท่านมาตั้งแต่เด็กๆ ทำให้ หญิงใบ้ มักจะไปกราบไหว้และนั่งสมาธิต่อหน้าองค์ท่านอยู่บ่อยๆ โดยวัดที่หญิงใบ้กราบไหว้สักการะองค์ท่าน ก็ล้วนแต่เป็นวัดที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้สร้างพระไว้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นวัดสะตือ วัดไชโย หรือวัดอินทรวิหาร แต่ในวันนี้หญิงใบ้จะพาทุกคนไปขอพรสมเด็จพระพุฒาจารย์โต ที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

หญิงใบ้ออนทัวร์หาเลขเด็ด "หลวงพ่อโต" วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

...

พิกัดวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร 

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ในแขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1

วัดโบราณสมัยอยุธยา

วัดระฆังฯ แห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อวัดบางว้าใหญ่ หรือบางหว้าใหญ่ ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์

ขุดพบระฆัง ที่มาของชื่อวัด

ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัด ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆัง 1 ลูก ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก

...

มีชื่อใหม่แต่คนไม่นิยม

จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดระฆังโฆสิตาราม" นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้ และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ "วัดระฆังโฆสิตาราม" เป็น "วัดราชคัณฑิยาราม" (คัณฑิแปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา

หอพระไตรปิฎก สมัยรัชกาลที่ 1

วัดระฆังโฆสิตาราม มีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

"สมเด็จโต" สุดยอดพระเกจิของไทย

หญิงใบ้จะพาทุกคนไปรู้จักหลวงพ่อโตให้มากขึ้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) นามเดิมว่า "โต" หรือนามที่นิยมเรียกกันจนติดปาก คือ "สมเด็จโต" หรือ "หลวงปู่โต" หรือ "สมเด็จวัดระฆัง" เป็นพระภิกษุมหานิกาย เป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความนิยมนับถืออย่างมากในประเทศไทย ท่านเคยดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4-5

...

โดดเด่นความสมถะ คาถาอาคม และเมตตามหานิยม

"สมเด็จโต" นับเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพนับถือทั่วไป มาตั้งแต่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ตั้งแต่พระมหากษัตริย์จนถึงสามัญชน และนอกจากจริยาวัตรด้านความสมถะอันโดดเด่นของท่านแล้ว ท่านยังทรงคุณทางด้านวิชชาคาถาอาคม เมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุมงคล "พระสมเด็จ" ที่ท่านได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา ได้ถูกจัดเข้าในพระเครื่องเบญจภาคี หรือสุดยอดของพระเครื่องวัตถุมงคล 1 ใน 5 ของประเทศไทย

...

เกิดสมัยรัชกาลที่ 1 ที่อยุธยา

หลวงพ่อโต เกิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หลังสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว 7 ปี เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จุลศักราช 1150 เวลาพระบิณฑบาต ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 ณ บ้านไก่จ้น (บ้านท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อายุ 12 ปี บรรพชาเป็นสามเณร

เมื่อถึงวัยพอสมควรแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2343 ต่อมาปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดและเมตตาสามเณรโตเป็นอย่างยิ่ง ครั้นอายุครบอุปสมบทปี พ.ศ. 2350 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นาคหลวง อุปสมบท ณ วัดพระแก้ว มีฉายานามในพุทธศาสนาว่า "พฺรหฺมรํสี" เนื่องจากเป็นนาคหลวงจึงเรียกว่า "พระมหาโต" มานับแต่นั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดเกล้าฯ ให้รับพระมหาโตไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์

นิสัยใจคอ "หลวงพ่อโต"

ท่านมีอุปนิสัยทำสิ่งใดตามความพอใจของตน ไม่ถือเอาความนิยมขอผู้อื่นเป็นหลัก และไม่ปรารถนายศศักดิ์หรือลาภสักการะใดๆ แม้ได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน ก็ไม่ยอมเข้าสอบเปรียญธรรม ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะ แต่ท่านไม่ยอมรับ จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดรัชกาล

สร้างพระใหญ่วัดสะตือ วัดไชโย

ต่อมากล่าวกันว่า พระมหาโตได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้สร้างปูชนียสถานในที่ต่างๆ กัน เช่น สร้างพระพุทธไสยาศน์ไว้ที่วัดสะตือ ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างพระพุทธรูปหลวงพ่อโต วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งปูชนียสถานทุกแห่งที่ท่านสร้าง จะมีขนาดใหญ่โตสมกับชื่อของท่านอยู่เสมอ ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้ทุนทรัพย์และแรงงานจำนวนมากในการก่อสร้างจึงจะทำได้สำเร็จ

มรณภาพอายุ 84 ปี

ราวปี พ.ศ. 2410 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มาเป็นประธานก่อสร้างปูชนียวัตถุครั้งสุดท้ายที่สำคัญของท่าน คือ พระพุทธรูปหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) ที่วัดอินทรวิหาร ที่ในสมัยนั้นเรียกว่า วัดบางขุนพรหมใน ทว่าการก่อสร้างก็ยังไม่ทันสำเร็จ โดยขณะนั้นก่อองค์พระได้ถึงเพียงระดับพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ได้มรณภาพบนศาลาเก่าวัดบางขุนพรหมใน ณ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2415 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สิริรวมอายุได้ 84 ปี อยู่ในสมณเพศ 64 พรรษา เป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามได้ 20 ปี เลขเด็ด ก็จะเยอะใหญ่ๆ หญิงใบ้ ว่า...ก็แล้ววาสนาของแต่ละคน

กราบไหว้ขอพร ขอ "เลขเด็ด"

เล่ามาขนาดนี้แล้ว ไปดูเลขเด็ดของวัดแห่งนี้กัน หญิงใบ้ หรือไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ต้องสะดุดกับป้ายนี้อยู่แล้ว พ.ศ.ชัดเจน 2507 ชอบมากๆ กลับด้วยจ้า 705-750-057-075-507-570 แล้วก็ 05-50-07-70-57-75

เซียมซีพระศรีอริยเมตไตรย

พระศรีอริยเมตไตรย ท่านคือความเมตตา หญิงใบ้จึงขอโชคลาภกับท่าน เซียมซีตกลงมาสวยงาม 172 ไปเรียง ไปสลับกันให้ดี 127-217-271-712-721 และ 27-72-12-21-27-72 วันนี้อิ่มเอมใจที่สุด กราบไหว้พระเสร็จไปปล่อยปลา ทำทานกัน เคล็ดลับความเฮง และความโชคดีของหญิงใบ้อีกอย่างคือ การทำทาน ใครยังไม่ได้รีบทำ รบกวนทำกันเช้านี้ด่วนๆ แต่ขอให้ตั้งใจจริงนะคะ รับรองร่ำรวยโชคลาภแน่นอน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง