มีข้อความหนึ่งกล่าวว่า “แม่เปรียบเสมือนอาชีพที่ไม่มีวันเกษียณอายุ” ก็คงจะมีแต่คนเป็นแม่เท่านั้นที่เข้าใจเรื่องนี้ได้ดีที่สุด ชีวิตของลูกแต่ละคนเปรียบเสมือนการเดินทางระยะยาว แม่จึงต้องเอาใจใส่ตั้งแต่วันแรกเพื่อให้ส่งผลดีไปจนถึงอนาคต ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ช่วงเวลาทองที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งในการเลี้ยงลูกคือ ช่วงขวบปีแรก และมีความลับของการเลี้ยงดูบางอย่างที่แม่ต้องทราบ เพื่อเลี้ยงลูกให้มีพัฒนาการทางสมองที่ดี และมีร่างกายที่แข็งแรง ความลับที่ว่านั้น ได้แก่ อาหารและโภชนาการ กับการเสริมพัฒนาการผ่านสิ่งที่เรียกว่า การเล่นเพื่อเรียนรู้

ความลับของอาหารและโภชนาการ

การให้ความสำคัญกับอาหารของลูกน้อย ไม่เพียงส่งผลดีต่อสุขภาพในอนาคตของลูกๆ เท่านั้น แต่รู้หรือไม่ว่าอาหารยังมีส่วนสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมองของลูกด้วย โดยเฉพาะอาหารเด็กในช่วงขวบปีแรกที่แม่ต้องใส่ใจอย่างมาก

ความลับของอาหารและโภชนาการสำหรับลูกน้อย
ความลับของอาหารและโภชนาการสำหรับลูกน้อย

ในวัย 0 - 6 เดือน จุดกำเนิดของสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกคือ น้ำนมของแม่ โปรตีนและไขมันที่อุดมอยู่ในน้ำนมแม่ จะช่วยให้ลูกแข็งแรง สุขภาพดี และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน จนเมื่อถึงวัยที่ลูกเริ่มรับประทานอาหารได้ อาหารเด็กวัย 6 - 12 เดือน จึงเป็นสิ่งแม่ต้องใส่ใจมากขึ้นอีกขั้น เพื่อให้ได้รับสารอาหารอื่นๆ ควบคู่กับน้ำนมแม่ เพื่อเข้าไปช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย ขณะเดียวกันสารอาหารต่างๆ เหล่านั้น ก็ยังส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ลูกได้อีกทางหนึ่งด้วย

เชื่อว่าแม่ทุกคนย่อมอยากให้ลูกน้อยกินอิ่มและอร่อยในทุกมื้อ แต่ทริกง่ายๆ ที่เราอยากจะแนะนำ ก็คือ คุณแม่พึงระลึกว่าลูกๆ จำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้เด็กๆ เติบโตขึ้นสมวัย นอกจากนี้ในอาหารเด็ก วัย 6 เดือน หรือแม้แต่เมนูเด็ก 1 ขวบขึ้นไป ก็ควรต้องมีความหลากหลายทางโภชนาการ และยังมีสารอาหารสำคัญอีกหลายชนิด รวมถึงวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่แม่เจนฯ อนาคต ต้องใส่ใจเป็นพิเศษอีกด้วย ตัวอย่างเช่น

สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการสร้างไมอีลิน
สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการสร้างไมอีลิน

- แคลเซียม : มีช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง แหล่งแคลเซียมสำหรับเด็กคือ นม
วิตามิน ดี : มีความสำคัญต่อการช่วยดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ แหล่งอาหารสำคัญได้แก่ ไข่แดง ตับ เห็ด รวมถึงปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน เป็นต้น

- เบต้าแคโรทีน : มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาสุขภาพและสร้างระบบภูมิคุ้มกันเช่นกัน พบมากในผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง หรือสีส้มจัด เช่น แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง นอกจากนี้ยังพบในผักใบเขียว เช่น ผักบุ้ง เป็นต้น

- สังกะสีและซีลีเนียม : นับเป็นอีกแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอีกเช่นกัน โดยแหล่งอาหารที่หาได้ง่ายสำหรับเด็ก คือ ไข่ นั่นเอง

ดีเอชเอ : ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง การมองเห็นของทารก และระบบประสาท นอกจากเป็นสารสำคัญที่พบได้ในน้ำนมแม่แล้ว แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย ดีเอชเอ ยังได้แก่ ปลาทะเลน้ำลึก สาหร่ายทะเล เมล็ดพืชตระกูลวอลนัต เป็นต้น

ขณะเดียวกันก็ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นในปัจจุบันที่ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงกันของสารอาหารกับพัฒนาการ ยกตัวอย่าง สฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีส่วนช่วยในการสร้างไมอีลิน ซึ่งเป็นสารอาหารที่พบได้ในน้ำนมแม่ นอกจากนั้นยังพบได้ใน ไข่ นม และชีส เป็นต้น ซึ่งเจ้า “สฟิงโกไมอีลิน” นี้ มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองและการทำงานของสมองให้มีประสิทธิภาพ จึงนับเป็นอาหารสมองชั้นดีที่หาได้จากแหล่งอื่นนอกเหนือจากนมแม่

นอกจากนี้ยังมี “แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” สารอาหารสำคัญที่พบมากในน้ำนมแม่ จะให้กรดอะมิโนจำเป็นที่ชื่อว่า “ทริปโตเฟน” ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสื่อสารประสาท ที่ช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการด้านสติปัญญาของลูก

เสริมสร้างทักษะแห่งอนาคต ผ่านการเล่นเพื่อเรียนรู้
เสริมสร้างทักษะแห่งอนาคต ผ่านการเล่นเพื่อเรียนรู้

นอกจากให้ความสำคัญเรื่องอาหารเด็กแล้ว แม่ยังต้องเสริมพัฒนาการทางสมองให้กับลูกในช่วงวัยขวบปีแรก อันเปรียบเสมือนช่วงเวลาทองนี้ด้วย แนวทางที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำคือ การเล่นเพื่อเรียนรู้ หรือการเรียนรู้ผ่านการเล่นรูปแบบต่างๆ โดยในขวบปีแรกนี้ มีแนวทางการเล่นเพื่อเรียนรู้ที่แม่สามารถปรับใช้ได้ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของลูกไปทีละน้อย

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้แม่นำของเล่นที่มีสีสันสดใสให้ลูกได้เล่น หรือสัมผัส เพื่อกระตุ้นการรับรู้ ขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมทักษะด้านการจดจำ จนเมื่อถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงเริ่มเล่น หรือทำกิจกรรมบนพื้น (Floor - Based Play) มากขึ้น นอกจากจะเป็นออกกำลังกายสำหรับเด็กขวบปีแรกแล้ว การทำกิจกรรมบนพื้นยังส่งผลดีต่อทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งสัมพันธ์กับพัฒนาการทางสมองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้คุณแม่สามารถหาพื้นที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับช่วงวัยของลูก

แต่ทั้งหมดทั้งมวล แม่เองก็ต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป และทำอย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อปลูกฝังลูกทีละเล็กทีละน้อย จึงจะเกิดผลดี ซึ่งการเล่นเพื่อเรียนรู้สำหรับลูกๆ ในขวบปีแรกนี้ ไม่เพียงช่วยเสริมพัฒนาการทางสมอง แต่ยังมีความลับหนึ่งแฝงอยู่ในกิจกรรมเหล่านี้สำหรับคุณแม่ด้วย เพราะนี่คือการสร้างปฏิสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างพ่อแม่กับลูกด้วยนั่นเอง

ขวบปีแรกของแม่สู่ลูก พร้อมสฟิงโกไมอีลิน สำหรับลูกน้อย
ขวบปีแรกของแม่สู่ลูก พร้อมสฟิงโกไมอีลิน สำหรับลูกน้อย

จากทั้งหมดที่กล่าวมา คุณแม่ที่มีลูกน้อย หรือแม้แต่คุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกในเจนอนาคตหลายท่านน่าจะเริ่มเห็นภาพว่า จากอาหารเด็ก 1 ขวบ ไปจนถึงการเสริมสร้างทักษะผ่านการเล่นเพื่อเรียนรู้ แม้จะดูเหมือนเรื่องธรรมดาๆ แต่ก็มีรายละเอียดเล็กๆ ซ่อนอยู่ที่คุณแม่ต้องมองเห็น และใส่ใจให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป้าหมายของเราคือ การเลี้ยงลูกให้ฉลาด และสุขภาพดี พร้อมรับมือกับโลกวันหน้าที่เต็มไปด้วยความท้าทายที่รออยู่

หากคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกเพิ่มเติม สามารถปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom Club ได้ตลอด 24 ชม.ไม่มีค่าใช้จ่าย

ข้อมูลอ้างอิง