ปลาเสี่ยงสารปรอท ที่แม่ให้นมไม่ควรกิน มีปลาอะไรบ้างที่ไม่ควรกิน แล้วเรารู้ไหมว่าเพราะอะไรถึงไม่ควรกิน ทั้งที่ปลาส่วนใหญ่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 แต่ก็ยังมีปลาบางชนิดที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงที่ให้นมลูกเช่นกัน

ปลาเสี่ยงสารปรอท ที่แม่ให้นมไม่ควรกิน เพราะคุณแม่ตอนที่ให้นมลูก นอกจากจะต้องดูแลเรื่องอาหารการกิน กินของที่มีประโยชน์เพื่อความต้องการด้านสุขภาพของตัวเองแล้ว อาหารที่กินเข้าไป ยังมีผลต่อลูกน้อยอีกด้วยค่ะ

ปลาแบบนี้ กินได้กินดี

ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาดุก ปลาพอลล็อค และกุ้ง คือโปรตีนที่ร่างกายต้องการค่ะ คุณแม่ให้นมควรกินปลาอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 ครั้ง และควรปรุงให้สุกด้วยนะคะ นอกจากนั้นควรเลือกปลาที่มีอัตราการปนเปื้อนสารปรอทต่ำ อย่างปลาแซลมอน ปลาเทราต์ ปลานิล และปลาทู

ปลาที่มีประโยชน์เหล่านี้ มีโปรตีนสูงและไขมันโอเมก้า 3 ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาระบบประสาทของทารกได้ดีที่สุด แต่ปลาหลายๆ ตัวที่คุณแม่ไม่ทราบเลยว่าอยู่ในแหล่งน้ำที่มีมลพิษและการสะสมของสารเคมี โดยเฉพาะสารปรอทซึ่งส่งผลเสียต่อสมองของเด็กทารกได้

กินปลาแค่ไหน

ปลาและอาหารทะเลสามารถกินได้สัปดาห์ละ 2 ครั้งค่ะ ปริมาณประมาณ 8 ออนซ์ต่อครั้ง หรือประมาณ 1 ฝ่ามือ และทางที่ดีไม่ควรกินปลาหรืออาหารทะเลที่ได้จากแหล่งเดียวกัน ภายในสัปดาห์เดียวกันนะคะ เช่น หากกินปลาแซลมอนจากนอร์เวย์ในครั้งแรกแล้ว ควรกินปลาทูของไทยเราในครั้งที่ 2 ค่ะ

ปลาเสี่ยงสารปรอท อย่ากิน

ปลาทะเล ยิ่งเป็นปลาที่ตัวใหญ่ จะยิ่งมีโอกาสเสี่ยงในการสะสมสารปรอทให้ร่างกายของปลาสูง และโดยทั่วไปแล้วสารปรอทที่ปนเปื้อนปลาทะเลนั้น สามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากการหายใจ การสัมผัสทางผิวหนัง สารปรอทจะดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดทันที แล้วกระจายไปยังสมองและส่วนอื่นของร่างกายได้อย่างรวดเร็วค่ะ

...

สารปรอทที่เข้าไปในร่างกายของคุณแม่จะสามารถส่งผ่านไปยังลูกในท้องและนมแม่ไปสู่ลูกได้ด้วย ซึ่งได้แก่ปลาเหล่านี้นั่นเอง

ปลาฉลาม (Shark)
ปลากระโทงดาบ (Swordfish)
ปลาอินทรี (King Mackerel)
ปลาไทล์ (Tilefish)

นอกจากนี้แม้ว่าการกินอาหารรสเผ็ดจะเป็นเรื่องปกติของหญิงไทย แต่สำหรับคุณแม่ที่กินอาหารเผ็ดๆ แล้วลูกมีอาการไม่ปกติ เช่น งอแงทุกครั้งที่ดูดนมเข้าเต้า ให้ลองลดความเผ็ดลงหน่อยนะคะ