ประวัติ ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล บุตรสาวคนเล็กของตระกูลสิริวัฒนภักดี กับบทบาทแม่ทัพหญิงคนแรกของ BJC ในรอบ 140 ปีขององค์กร

ประวัติ ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล

ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล หรือ โอ๊ะ เป็นบุตรสาวคนเล็กของเจริญ สิริวัฒนภักดี และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เธอมีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ได้แก่

  1. อาทินันท์ พีชานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทอาคเนย์ เป็นพี่สาวคนโต
  2. วัลลภา ไตรโสรัส กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัท ทีซีซี แลนด์ แอสเสท เวิรด์ จำกัด เป็นพี่สาวคนรอง
  3. ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นพี่ชายคนโต
  4. ฐาปนี เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
  5. ปณต สิริวัฒนภักดี รองประธานกรรมการ บริษัท แผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นน้องชายคนเล็ก

ฐาปนี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จากสถาบันเอ็มไอที (MIT) สหรัฐอเมริกา

ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล เคยได้รับรางวัลสตรีนักบริหารภาคเอกชนดีเด่น ประเภทสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ประจำปี 2557 และ 2561
ฐาปณี เตชะเจริญวิกุล เคยได้รับรางวัลสตรีนักบริหารภาคเอกชนดีเด่น ประเภทสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ประจำปี 2557 และ 2561

...

ด้านการทำงาน นอกจากตำแหน่งล่าสุดคือประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC แล้วเธอยังเป็นกรรมการบริหาร กรรมการการลงทุน และเลขานุการคณะกรรมการสรรหา กำหนดค่าตอบแทน และกำกับดูแลกิจการของ BJC อีกด้วย รวมทั้งดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ บริษัท ทีซีซี อินเตอร์เทรด จำกัด บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทีซีซี โฮลดิ้งส์ จำกัด 

นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการนำกลุ่มบีเจซี และบิ๊กซี เข้าร่วมในกิจกรรมโครงการจิตอาสาพัฒนา 'เราทำความดี ด้วยหัวใจ' และได้รับรางวัลสตรีนักบริหารภาคเอกชนดีเด่น ประเภทสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ประจำปี 2557 และ 2561

ด้านชีวิตส่วนตัว เธอสมรสกับ อัศวิน เตชะเจริญวิกุล ซึ่งเดิมเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ BJC ได้เปลี่ยนมาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท บิ๊กซี รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BRC ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ BJC ตามแผนปรับโครงสร้างธุรกิจ

ฐาปณี และอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ผู้เป็นสามี เชื่อว่าการให้เวลากับการดูแลลูกๆ ทั้ง 3 คนอย่างใกล้ชิด จะสร้างความทรงจำที่ดีร่วมกันได้
ฐาปณี และอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ผู้เป็นสามี เชื่อว่าการให้เวลากับการดูแลลูกๆ ทั้ง 3 คนอย่างใกล้ชิด จะสร้างความทรงจำที่ดีร่วมกันได้

ฐาปณี และอัศวิน เตชะเจริญวิกุล มีลูกด้วยกัน 3 คน เป็นผู้หญิง 2 คน และผู้ชาย 1 คน ซึ่งเธอและสามีได้ทำหน้าที่พ่อและแม่ที่ดีอย่างเต็มที่ ด้วยการให้เวลาดูแลลูกๆ อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งทำหน้าที่บริหารงานไปด้วยกัน

“โอ๊ะโชคดีค่ะ ที่คุณวินเป็นคนดี จิตใจดี ให้ความสำคัญกับครอบครัว ตั้งใจขยันทำงานและมีความสามารถ โอ๊ะจึงสามารถใกล้ชิดและให้เวลากับลูกๆ เต็มที่ โอ๊ะตั้งใจตั้งแต่วันแรกที่เป็นคุณแม่ว่า อยากเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง ได้ลงมือทำกิจกรรมต่างๆ กับลูก และใช้เวลากับเขาอย่างเต็มที่ อาจจะไม่ได้เป็นรูปแบบที่สมบูรณ์นะคะ แต่โอ๊ะเชื่อว่าการได้ใช้เวลาใกล้ชิดกับลูกๆ ได้ทำทุกอย่างกับเขาด้วยตัวเอง ด้วยความหวังดีที่สุดต่อเขา ซึ่งวันนี้เด็กๆ อาจยังไม่เข้าใจ แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเกิดเป็นความผูกพัน และเมื่อเขาเติบโตขึ้นได้มองย้อนกลับมา ก็จะเป็นความทรงจำที่ดีร่วมกัน”

คุณพ่อคุณแม่คือต้นแบบของการใช้ชีวิต

ฐาปณี เคยเล่าให้กับทีมข่าวไทยรัฐฟังว่า เธอได้แบบอย่างการใช้ชีวิตที่ดีมาจากคุณพ่อและคุณแม่ โดยคุณพ่อ (เจริญ สิริวัฒนภักดี) เป็นต้นแบบของความอดทน ขณะที่คุณแม่ (คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี) จะให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตัวให้สุภาพเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ และให้ความสำคัญเรื่องการประหยัด

“คุณแม่จะทำให้เห็นและเล่าให้ฟัง โดยเฉพาะเรื่องชุดที่ใส่แล้ว และข้าวของเครื่องใช้ของคุณพ่อคุณแม่ ท่านทั้งสองภูมิใจเสมอที่ใช้ข้าวของต่างๆ ได้นานและยังรักษาไว้เป็นอย่างดี เพราะการรักษาสุขภาพออกกำลังกายทำให้รูปร่างไม่เปลี่ยนแปลง เสื้อผ้าและของใช้ต่างๆ จึงสามารถใช้ได้นานกว่า 10 ปี ท่านเน้นให้ประหยัดและเห็นคุณค่าของสิ่งของอย่างแท้จริง”

ขณะเดียวกันยังได้ต้นแบบของการใช้ชีวิตคู่ที่ดีจากคุณพ่อคุณแม่ ที่มักไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ถึงจะมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่บ่อยๆ แต่ก็ได้ข้อตกลงและข้อสรุปร่วมกันเสมอ เพราะให้ความสำคัญว่าครอบครัวคือแกนกลางของชีวิต หากครอบครัวไม่ดี เวลาที่เราทำงาน หรือออกไปข้างนอก จะทำให้มีภาระทางใจ เวลาทำอะไรอาจไม่ราบรื่น และไม่ประสบความสำเร็จ คุณพ่อคุณแม่จึงเป็นแบบอย่างของการให้เวลากับครอบครัวเท่ากับเวลางานตั้งแต่เธอยังเป็นเด็ก จึงทำให้เธอคุ้นชินกับการไปเที่ยวในครอบครัวร่วมกับคณะผู้บริหารขององค์กร จนเกิดเป็นความผูกพันและเคารพนับถือผู้ใหญ่ในองค์กรเสมือนเป็นผู้ใหญ่ของครอบครัว

...