แม่น้ำเจ้าพระยามีความลึก 16 เมตร ยาวถึง 372 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลางหลายจังหวัด แม่น้ำเจ้าพระยามีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน เป็นทั้งเส้นเลือดหล่อเลี้ยงเกษตรกรรมภาคกลาง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร มาทำความรู้จักแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่แหล่งกำเนิดและจุดสิ้นสุด

แม่น้ําเจ้าพระยา ลึกกี่เมตร

ตลอดช่วงความยาวของแม่น้ำเจ้าพระยามีความลึกไม่เท่ากัน ความลึกของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ระหว่าง 5 - 20 เมตร ขึ้นอยู่กับระดับน้ำขึ้นลงแต่ละฤดูกาลด้วย ประชาชนสามารถติดตามระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาได้จากจุดวัดที่ตั้งไว้ ยกตัวอย่างเช่น จุดวัดสะพานพระราม 8 มีความลึกของแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณ 16 เมตร

แม่น้ําเจ้าพระยา กว้างที่สุดเท่าไร

ภาพ จุดวัดระดับน้ำ สะพานพระรามแปด https://weather.bangkok.go.th/flow/StationDetail?id=21
ภาพ จุดวัดระดับน้ำ สะพานพระรามแปด https://weather.bangkok.go.th/flow/StationDetail?id=21

...

ความกว้างของแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ระหว่าง 200 - 1,200 เมตร บางจุดเมื่อถึงช่วงน้ำลง จะแคบและตื้นจนเห็นสันดอนขึ้นมากลางแม่น้ำ

แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดใดบ้าง

แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ โดยแยกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท

ความเชี่ยวของกระแสแม่น้ําเจ้าพระยา

ภาพจาก https://weather.bangkok.go.th/flow
ภาพจาก https://weather.bangkok.go.th/flow

ในกรุงเทพมหานคร ติดตามอัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ที่ https://weather.bangkok.go.th/flow ดูย้อนหลังได้ 48 ชั่วโมง

ประวัติ แม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มต้น และสิ้นสุดที่ไหน

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศไทย เกิดจากการบรรจบกันของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่านที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และไหลลงมาทางทิศใต้ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ

ภาพจาก กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม water.dwr.go.th
ภาพจาก กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม water.dwr.go.th

แม่น้ำเจ้าพระยาทำให้เกิดพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ หรือเรียกได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทย โดยครอบคลุมพื้นที่ราว 20,125 ตารางกิโลเมตร

  • ทิศเหนือ ติดกับลุ่มน้ำปิงและลุ่มน้ำน่าน
  • ทิศใต้ ติดกับอ่าวไทย
  • ทิศตะวันออก ติดกับลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำบางปะกง
  • ทิศตะวันตก ติดกับลุ่มน้ำท่าจีนและลุ่มน้ำสะแกกรัง

...

แม่น้ําเจ้าพระยา สิ้นสุดที่ไหน

หลายคนสงสัยว่าแม่น้ําเจ้าพระยา สิ้นสุดที่ไหนนั้น คำตอบคือ แม่น้ำเจ้าพระยาผ่านปากน้ำออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปู่ใหม่ และตำบลแหลมฟ้าผ่า จังหวัดสมุทรปราการ บริเวณนี้จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาชมนกน้ำนานาชนิดได้ตลอดทั้งปี

กว่า 100 ปี แม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร เป็นเส้นทางคมนาคมหลัก

แม่น้ำ เปรียบเสมือนเส้นเลือดของผู้คน เป็นแหล่งหล่อเลี้ยงปลูกผลผลิต และใช้บริโภค แต่เมื่อมองมายังการใช้ประโยชน์แม่น้ำในกรุงเทพมหานคร ผ่านมา 100 ปี กลายเป็นที่รู้จักด้านการท่องเที่ยว และการคมนาคม เช่นเดียวกับแม่น้ำใจกลางเมืองท่องเที่ยวอื่นๆ ในโลก

การใช้เส้นทางคมนาคมในกรุงเทพมหานครนั้น นอกจากเรือท่องเที่ยวแล้ว ยังมีเรือลากจูงสินค้า เรือด่วนเจ้าพระยา เรือข้ามฟาก ที่ให้บริการตลอดทั้งวันตามรอบ จึงเป็นเส้นทางที่เกิดการสัญจรตลอดเวลา

...

หน่วยงานหลักที่ดูแลแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานคร และตลอดสาย คือกรมเจ้าท่า มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี ไม่ใช่แค่การควบคุมเรือด่วนเจ้าพระยาเท่านั้น ยังรวมถึงการจดทะเบียนเรือ การให้ใบอนุญาตผู้ขับขี่อีกด้วย

ผู้ที่ต้องใช้เส้นทางโดยสารเรือด่วนเจ้าพระยาเป็นประจำ ควรฝึกทักษะเอาตัวรอดทางน้ำ และการช่วยเหลือผู้ตกเรือ เพราะเหตุคนตกเรือพบอยู่เป็นประจำ บนเรือต่างๆ จึงมีอุปกรณ์ความปลอดภัย เช่น ห่วงยาง และชูชีพ ติดเรือไว้ช่วยเหลือคนจมน้ำ หากพลัดตกลงไป สิ่งแรกที่ควรทำคือตั้งสติ ว่ายน้ำออกจากเรือ สังเกตทิศทางเคลื่อนที่ของเรือเพื่อหลบใบจักร ลอยตัวในน้ำ หรือว่ายเข้าหาสิ่งยึดเหนี่ยวปลอดภัยที่ใกล้ที่สุด โทร.ติดต่อทีมกู้ภัยทางน้ำ เมื่อเกิดเหตุที่ต้องใช้ทักษะพิเศษช่วยเหลือ

เบอร์ติดต่อฉุกเฉินเพื่อแจ้งทีมกู้ชีพเหตุจมน้ำ ตกเรือ

  • 02 249 7740 กองบังคับการตำรวจน้ำ กองกำกับการ 4
  • 0-2751-0951-3 มูลนิธิร่วมกตัญญู
  • 0-2226-4444-8 มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง
  • 086-088-0199 สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ
  • 1555 ศูนย์ร้องทุกข์ กรุงเทพมหานคร
  • 1646 ศูนย์เอราวัณสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
  • 1356 ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม
  • 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • 1784 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • 1554 หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล
  • 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
  • 1155 ตำรวจท่องเที่ยว
  • 1196 อุบัติเหตุทางน้ำ กรมเจ้าท่า

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

...