รูปที่มีทุกบ้าน.

ในยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน  เทคโนโลยี ครอบครองโลก ทั้งเฟซบุ๊ก ไอโฟน 3 จี 4 จี ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ใกล้ไกลเพียงใด สามารถสื่อสารถึงกัน เพียงลัดนิ้วมือ

การขึ้นครองราชย์ของ  สมเด็จพระราชาธิบดี จิกมี  เคเซอร์  นัมเกล  วังชุก ในวัย 30 กว่าๆ กษัตริย์ หนุ่มในระบอบประชาธิปไตย ผู้เปี่ยมไปด้วยจริยวัตรงดงาม สุภาพ อ่อนน้อม แห่งราชอาณาจักรภูฏาน ที่คนไทยประทับใจ  จะทรงเป็นศูนย์รวมใจประชาชน นำพาประเทศที่มีทรัพยากรจำกัด  และใช้ค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมประชาชาติ  แทนอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ได้อีกนานหรือไม่...น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง


"ภูฏาน"  ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของเทือกเขาหิมาลัย ทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทิเบต  ที่เหลือติดกับอินเดีย  ไม่มีทางออกทางทะเล มีสัญลักษณ์เป็นรูป "มังกรสายฟ้า" เมืองหลวงชื่อ "กรุงทิมพู"

สังคมของภูฏานเป็นสังคมเกษตรกรรมที่เรียบง่าย ประชาชนดำเนินชีวิตตามวิถีทางพุทธศาสนานิกายมหายาน  คงไว้ซึ่งวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่ช้านาน โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ประชาชนใส่ชุดประจำชาติ  ชุดผู้ชายชื่อว่า  โค  (kho)  ชุดผู้หญิงชื่อ  คีร่า  (kira)  โดยจะเห็นได้ทั่วไป  ไม่ เฉพาะในวันสำคัญๆเท่านั้น


รวมทั้งการอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น และสถาปัตยกรรมแบบภูฏาน โดยจะสังเกตได้ จากอาคารบ้านเรือนทั่วประเทศมีการตกแต่ง ที่คล้ายๆกันหมดทั้งประเทศ

ถึง แม้จะมีรายได้หลักมาจากการส่งออกกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำไปขายให้อินเดีย  แต่ก็มิได้เปิดเสรีการท่องเที่ยวอย่างไทย  มีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวในแต่ละปี  รวมทั้งกำหนดค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อหัวต่อวัน คนละ 200 เหรียญสหรัฐฯ
เป็นการคัดคุณภาพของนักท่องเที่ยวไปในตัว

จาก ประเทศไทยไปยังภูฏาน ต้องใช้บริการของสายการบินดรุ๊กแอร์  สายการบินแห่งชาติภูฏานเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางกว่า 4 ชั่วโมง โดยแวะจอดที่อินเดียพักใหญ่


ทัศนียภาพจากมุมสูง จะเห็นว่า ภูฏานเป็นประเทศที่อยู่ท่ามกลางทิว เขา และหุบเขา เหวลึก มีเพียงสนามบินพาโร  ในเมืองพาโรเท่านั้นเป็นที่ราบเพียงแห่งเดียว

พิธีการ ตรวจคนเข้า เมืองเป็นไปอย่างไม่เร่งรีบ ด้วยมาตรการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวจากสนามบินพาโร  คณะของเราต้องเดินทาง เลาะทิวเขา 65 กิโลเมตร  ตลอด เส้นทางเพื่อไปสู่เมืองทิมพู

อากาศ บริสุทธิ์บนเทือกเขาสูงอาจทำให้ระบบหายใจติดขัดดูซักนิด แม้จะอยู่รถบัสคันใหญ่ในเส้นทางคดเคี้ยวไปมา  ประกอบกับถนนที่ยังขรุขระ  กว่าจะถึงจุดหมาย ท้องไส้ กระเพาะอาหารปั่นป่วนมิใช่น้อย


ไกด์หนุ่ม ในชุดประจำชาติ พาคณะแวะเยี่ยม โรงงานทำกระดาษสา  Jungshi  Handmade  Paper หนึ่งในวิถีชีวิตชาวท้องถิ่น  ดูการสอนการทำกระดาษสาโดยใช้แรงงานคน ไม่พึ่งเครื่องจักร

เยี่ยมชมหอสมุดแห่งชาติ (The National Library)  ที่นี่มีหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก  น้ำหนักกว่า 130 ปอนด์ ที่กินเนสส์บุ๊กบันทึกสถิติไว้

เยี่ยมชมศูนย์หัตถกรรมพื้นเมืองของ รัฐบาล (The  Government  Handicraft)  พิพิธภัณฑ์ผ้าทอแห่งชาติ  (The  National  Textile  Museum) และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์พื้นบ้าน  (The  Folk Hertage  Museum)  บรรยากาศเหมือนฝรั่งไปดู  ศูนย์ศิลปหัตถกรรมแถวเชียงใหม่บ้านเราไม่ผิด

Memorial  Chorten  หรือมหาสถูปที่พระเจ้าจิกมี  ดอร์จี  วังชุก  พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 ที่ปกครองภูฏาน และทรงได้รับฉายาว่า "พระบิดาแห่งภูฏานยุคใหม่"  มีประสงค์จะสร้างเป็นการถวายเป็นพุทธบูชาแทนสัญลักษณ์ กาย วาจา และใจ ของพุทธศาสนา แต่พระองค์ได้เสียชีวิตลงก่อน  สมเด็จพระราชินีจึงดำเนินการสร้างต่อจนแล้วเสร็จ


สถานที่สำคัญอีก แห่งหนึ่ง  คือ  ปูนาคาซอง (Punakha Dzong)  ซึ่งเป็นที่ประทับของพระสังฆราชในฤดูหนาว  สืบเนื่องจากเมืองปูนาคา  มีอากาศที่ไม่ หนาวเย็นจนเกินไป  เพราะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1,468 เมตรเท่านั้น

ด้านหน้าปูนาคาซอง  จะเป็นจุดที่แม่น้ำโพ  (Po Chu) และแม่น้ำโม (Mo Chu) ซึ่งมีความหมายถึงแม่น้ำพ่อ และแม่น้ำแม่ ที่ไหลมาบรรจบกันพอดี

นอกจากนี้ ยังต้องไปเยือน "วัดคิชู" เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าเซินกัมโป กษัตริย์แห่งทิเบต โดยศาสนิกชนลัทธิลามะ  จะมากราบแบบ  "อัษฎางคประดิษฐ์"  คือ  กราบทั้งตัว ศีรษะจรด  ร่างกายส่วนหน้า ราบไปกับพื้น


ที่ต้องชื่นชมในความสวยงาม เห็นจะไม่พ้นสถานที่พัก  รีสอร์ต  ห้องพัก โรงแรม ต่างๆ ที่ตกแต่งประดับประดาได้อย่างหรูหรา  ประทับใจ ซึ่งดาราฮอลลีวูด  ดาราฮ่องกง หลายรายเคยมาเข้าพักผ่อนนานเป็นแรมเดือน

ประทับใจที่สุด เห็น จะไม่พ้นการที่พระราชินีในสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย  วังชุก  (สมเด็จพระราชาธิบดี  องค์ที่ 4)  ทรงโปรดให้คุณสมทรง สัจจาภิมุข ผู้บริหารบริษัทโอเรียวลี่แทรเวิลแอนด์ทัวร์  จำกัด  ผู้แทนสายการบินดรุ๊กแอร์  สายการบินแห่งชาติภูฏาน  ประจำประเทศ ไทย  เจ้าภาพทริปนี้  นำคณะของเราเข้าเฝ้าและประทานเลี้ยงน้ำชาอย่างใกล้ชิด และเป็นกันเองอย่างที่สุด


สุขใดไหนจะเท่าการเดินทางท่องเที่ยว โดยไม่ ต้องคิดถึงงาน.

...