เว็บไซต์ข่าวและรายงานวิจัย The Conversation ระบุว่า ระบบ Generative AI อาจใช้พลังงานมากกว่าซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมถึง 33 เท่า และแชตบอต AI ก็ใช้พลังงานมากกว่าระบบค้นหาแบบเก่าของ Google ถึง 10 เท่า สวนทางกับกระแสที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน

นับตั้งแต่ Open AI เปิดตัว ChatGPT ในเดือนพฤศจิกายนปี 2022 ซึ่งเป็นเสมือนการลั่นกลองเปิดศึกสงคราม AI บริษัทเทคฯชั้นนำก็พากันปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นมหาศาล ควบคู่ไปกับการผลาญพลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆ

รายงานฉบับล่าสุดของ Google ยอมรับอย่างตรงไปตรงมาว่า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 48% เนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน รายงานฉบับเดียวกันนี้ยังระบุว่า สาเหตุหลักมาจากการพัฒนา AI และบริการต่างๆที่เกี่ยวข้อง ยิ่งนำ AI มาใช้กับผลิตภัณฑ์มากขึ้นเท่าไหร่ การลดการปล่อยคาร์บอนก็ยิ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นเท่านั้น เพราะการประมวลผลของ AI จำเป็นต้องใช้พลังงานมหาศาลโดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เชิงสร้างสรรค์ เช่น Gemini และ Veo อาจทำให้แผนริเริ่ม Green Project ของ Google ถูกลดความสำคัญลงโดยนวัตกรรม

...

Google เคยประกาศว่าบริษัทได้บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2007 และตั้งเป้าลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ (Net Zero Carbon) ภายในปี 2030 แต่รายงานล่าสุดเผยว่า ตลอดปี 2023 ที่ผ่านมา บริษัทมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้น 14.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับปี 2022

ขณะที่คู่แข่งอย่าง Microsoft เองก็ เช่นกัน บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกรายนี้เคยประกาศในปี 2020 ว่าจะทำให้การปล่อยคาร์บอนติดลบ (Carbon Negative) ภายในปี 2030 ซึ่งนอกจากลดการปล่อยคาร์บอนแล้ว ยังจะดูดซับคาร์บอนคืนสู่ป่าหรือวิธีการอื่นอีกด้วย แต่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทเผยว่ามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 17.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 40% จากปี 2020 เนื่องด้วยการลงทุนใน AI ที่กำลังเติบโต

เช่นเดียวกับ Meta ที่เผยว่า มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2022 ถึง 8.4 ล้านตัน เพิ่มขึ้นราว 68% จาก 5 ล้านตันในปี 2020

การวิจัย พัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับ AI เกิดขึ้นในดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งสำนักงาน พลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency หรือ IEA) เผยว่า ในปี 2022 ก่อนที่ศึกพัฒนา AI จะเริ่มขึ้น ดาต้าเซ็นเตอร์ต่างๆใช้พลังงานไฟฟ้าเพียง 1-1.5% ของทั้งโลก และมีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์จากการใช้พลังงานแค่ราว 1% ของทั้งโลกเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมการบินที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์จากการใช้พลังงานเป็นสัดส่วน 2% และอุตสาหกรรมเหล็กมากถึง 7-9% ของทั้งโลก

กระบวนการทำงานในดาต้าเซ็นเตอร์ยังก่อให้เกิดความร้อน ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำปริมาณมหาศาลเพื่อควบคุมอุณหภูมิของเซิร์ฟเวอร์ อ้างอิงผลการศึกษาในปี 2021 ดาต้าเซ็นเตอร์ในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดใช้น้ำประมาณ 7,100 ลิตรต่อการเผาผลาญพลังงาน 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง เพียงแค่ดาต้าเซ็นเตอร์ของ Google รายเดียวก็ใช้น้ำไปแล้วถึง 1.27 หมื่นล้านลิตร

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าดาต้าเซ็นเตอร์แห่งใดตั้งอยู่ใกล้ชุมชน ก็อาจเกิดการแย่งชิงทรัพยากรกับผู้คนในละแวกนั้น อาจทำให้เกิดการขาด แคลนทรัพยากร ยกตัวอย่างเช่น ช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติความร้อน ประชาชนเปิดเครื่องปรับอากาศ แต่ดาต้าเซ็นเตอร์ก็ต้องการพลังงานเพื่อนำมารักษาความเย็นให้เซิร์ฟเวอร์ เพิ่มโอกาสที่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าจะเกิดปัญหาและไฟฟ้าดับได้

...

บทความชื่อ Power-hungry AI is driving a surge in tech giant carbon emissions. Nobody knows what to do about it ผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจจากการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่างๆ ทั่วโลก หน่วยงานกำกับดูแลของยุโรปได้กดดันให้ Meta ระงับแผนการฝึกโมเดล AI บนข้อมูล Facebook และ Instagram ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ประสานงานกับธนาคารกลางทั่วโลก เตือนว่าการนำ AI มาใช้อาจทำให้อัตราเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงไปจนถึงขณะนี้ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจน้อยลง การค้นหาเพียงครั้งเดียวผ่านแชตบอตที่ขับเคลื่อนด้วย AI อาจใช้พลังงานมากกว่าการค้นหาด้วย Google แบบดั้งเดิมถึง 10 เท่า

แอปพลิเคชัน AI ส่วนใหญ่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ในศูนย์ข้อมูล ในปี 2023 ก่อนที่ AI จะได้รับความนิยมอย่างแท้จริง สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศประเมินว่าศูนย์ข้อมูลคิดเป็น 1-1.5% ของการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกและประมาณ 1% ของการปล่อย CO2 ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานของโลก

ศูนย์ข้อมูล หรือดาต้าเซ็นเตอร์ สร้างความร้อนจำนวนมากและใช้น้ำจำนวนมากในการระบายความร้อนเซิร์ฟเวอร์ จากการศึกษาในปี 2021 พบว่า ศูนย์ข้อมูลในสหรัฐอเมริกาใช้น้ำประมาณ 7,100 ลิตรต่อพลังงานหนึ่งเมกะวัตต์ชั่วโมงที่ใช้ ในภูมิภาคที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ การใช้น้ำในศูนย์ข้อมูลจึงกลายเป็นปัญหาที่น่ากังวลอย่างยิ่ง บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Google Meta และ Amazon ได้ประกาศคำมั่นสัญญาที่จะเติมน้ำให้มากกว่าที่บริโภคภายในปี 2030 นอกจากนี้ยังพบว่าการพัฒนา AI และดาต้า เซ็นเตอร์ยังอาจส่งผลให้จำนวนวันที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 50 C เพิ่มขึ้น ด้วยการศึกษาวิจัยของ The Lancet ในปี 2022 พบว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 1 C ก็สัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นด้วย.

...

อ่าน “คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ” ทั้งหมดที่นี่