ระบบอัตโนมัติ (Automation) หรือ Automation System แม้จะฟังดูเป็นเทคโนโลยีที่ไม่คุ้นหู แต่เทคโนโลยีประเภทนี้ถูกนำมาใช้งานแล้วกว่า 10 ปี เพียงแต่ในประเทศไทยเพิ่งได้นำระบบอัตโนมัตินี้เข้ามาใช้งาน โดยระบบอัตโนมัติเป็นการนำเทคโนโลยีซอฟต์แวร์มาใช้งานเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ลดภาระงานซ้ำซากของมนุษย์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายในสายการผลิต และยังมีความปลอดภัยสูง หมดกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหล วันนี้ลองมาทำความรู้จักว่าระบบอัตโนมัติ (Automation) คืออะไร มีกี่ประเภท และทำไมจึงจำเป็นต้องนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานในกลุ่มธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
ระบบอัตโนมัติ (Automation) คืออะไร
ระบบอัตโนมัติ หรือ Automation คือการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำงานแทนมนุษย์ เพื่อลดบทบาทการทำงานและลดจำนวนคนทำงานในระบบ อย่างไรก็ตาม การนำระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้งานยังจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของมนุษย์อยู่ เหมาะสำหรับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่มีรูปแบบการทำงานแบบรูทีน และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรม อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ และวิยาศาสตร์หุ่นยนต์ และยังถูกนำมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีที่พึ่งพาระบบ IT และซอฟต์แวร์ทางธุรกิจ ที่มีส่วนช่วยในการประมวลผลและตัดสินใจ ทำให้ระบบอัตโนมัติ (Automation) กลายเป็นเทคโนโลยีที่รวบรวมทั้งระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว
ระบบอัตโนมัติ (Automation) มีกี่ประเภท
1. Basic Automation
ระบบอัตโนมัติ แบบ Basic Automation คือการนำเทคโนโลยีมาทำงานแทนในสโคปงานที่ไม่ซับซ้อน ลดการทำงานแบบจำเจ เปลี่ยนรูปแบบการทำงานเดิมที่ใช้คน เป็นแบบอัตโนมัติ หรือในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้เครื่องมือต่างๆ มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น Business Process Management (BPM) และ Robotic Process Automation (RPA) ระบบการแชร์ข้อมูล เป็นต้น
2. Process Automation
ระบบอัตโนมัติ แบบ Process Automation คือการนำเทคโนโลยีมาจัดการกระบวนทางธุรกิจให้สอดคล้องกัน โดยนำซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชันทางธุรกิจมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และยังสามารถประมวลผลให้ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจต่างๆ ไปจนถึงแนะนำวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม โดยการทำ Process Mining และ Workflow Automation เป็นต้น
3. Integration Automation
ระบบอัตโนมัติ แบบ Integration Automation คือการนำเทคโนโลยีมาทำให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักร มาช่วยทำงานแทนคน ในส่วนงานที่มีความจำเจ ซึ่งต้องมีการกำหนดกฎไว้ เช่น Digital workers ซอฟต์แวร์หุ่นยนต์ที่ถูกพัฒนาเพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ในตำแหน่งงานที่กำหนดได้
4. Artificial Intelligence (AI) Automation
ระบบอัตโนมัติ แบบ Artificial Intelligence (AI) Automation เป็นระบบอัตโนมัติที่มีความซับซ้อนมากที่สุด เพราะมีการนำ AI เข้ามาใช้งานร่วมด้วย ทำให้สามารถระบบอัตโนมัติประเภทนี้สามารถเรียนรู้ ตัดสินใจ ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลที่ป้อนเข้าไปได้ เช่น การให้บริการลูกค้าโดยผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant) รวมถึงงานแยกเอกสาร เป็นต้น
ทำไมระบบอัตโนมัติ (Automation) ถึงจำเป็นต่อธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรม
การนำระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในงานธุรกิจและในโรงงานอุตสาหกรรม ในภาพรวมสามารถช่วยให้ธุรกิจและโรงงานปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการนำระบบสำหรับการจัดการมาประยุกต์ใช้กับกระบวนการทางธุรกิจและระบบโครงสร้างทางด้าน IT ลดภาระงานในส่วนที่มีความจำเจ หรืองานที่ไม่มีความซับซ้อน เช่น การสั่งงานเครื่องจักรด้วยซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่ง ให้ทำงานแทนมนุษย์ในสโคปงานที่ต้องทำซ้ำๆ และยังสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตลงได้ในระยะยาว ลดปัญหาค่าใช้จ่ายแอบแฝง อีกยังได้ผลลัพธ์ที่มาตรฐาน มีความสม่ำเสมอในกระบวนการผลิต ช่วยให้ธุรกิจและบุคลากรมีเวลาเพิ่มมากขึ้น สามารถหันไปจดจ่อกับงานส่วนอื่นที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้ความคิดมากกว่า เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้กลุ่มธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมมีโอกาสขึ้นเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี และมีความทันสมัยเทียบเท่ากับกลุ่มธุรกิจเดียวกัน
สำหรับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดที่สนใจอยากติดตั้งระบบอัตโนมัติ (Automation) หรือ Automation System สามารถติดต่อได้ที่ dIA Dynamic Intelligence Asia เราเป็นผู้นำด้าน AI Solution พร้อมให้บริการติดตั้งระบบอัตโนมัติ (Automation) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อีเมล : Info@dia.co.th หรือโทร. 09-5826-8778