การพิมพ์ 3 มิติกำลังได้รับแรงผลักดันในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ทั้งในสถานที่อื่นหรือในโรงงาน ซึ่งก็จะใช้หุ่นยนต์แบบตั้งไว้คงที่ หรือหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้มาช่วยในการก่อสร้างที่เป็นเหล็กหรือคอนกรีต ล่าสุด ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน ในอังกฤษ และ สถาบัน Empa ที่เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีในสวิตเซอร์แลนด์ ได้คิดค้นแนวทางใหม่ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างโครงสร้างที่ใหญ่และซับซ้อน
ทีมระบุว่าใช้การพิมพ์ 3 มิติ ผ่านการทำงานของโดรน 2 แบบคือ Scan Drone และ BuilDrone โดยอาศัยแรงบันดาลใจจากพฤติกรรมของผึ้งหรือตัวต่อ ที่จะทำงานร่วมกันสร้างโครงสร้างที่อยู่ของพวกตน โดรนที่ทำงานร่วมกันเหล่านี้เรียกว่า Aerial Additive Manufacturing (Aerial-AM) จะถูกปรับเทคนิคในขณะเดินทางและมีอิสระเต็มที่ในขณะบิน แต่มนุษย์ก็จะเป็นผู้ควบคุมและตรวจสอบ ทั้งนี้ ทีมได้ทดสอบการทำงานของโดรน ด้วยการพัฒนาส่วนผสมซีเมนต์ตามสั่ง 4 แบบสำหรับให้โดรนนำไปสร้าง ก็พบว่าโดรนทำงานได้อย่างอิสระและควบคู่ไปกับการสร้างและซ่อมแซมโครงสร้าง โดรนจะประเมินรูปทรงเรขาคณิตที่พิมพ์ออกมาแบบเรียลไทม์หรือตามเวลาจริง และปรับพฤติกรรมเพื่อให้แน่ใจว่าตรงตามข้อกำหนดที่วางไว้ ผลงานคือโดรนได้สร้างโครงสร้างกระบอกสูบสูง 2.05 เมตร ที่มีวัสดุโฟมทำจากโพลียูรีเทนและกระบอกสูบสูง 18 เซนติเมตร
...
นักวิจัยเผยว่า เทคโนโลยีนี้สามารถนำมาใช้ในการผลิตและสร้างโครงสร้างในสถานที่ที่ยากต่อการเข้าถึงหรืออันตราย เช่น อาคารสูง หรือช่วยก่อสร้างโครง สร้างเพื่อบรรเทาทุกข์หลังภัยพิบัติในอนาคต.