ลงทะเบียนว่างงาน และการรายงานตัวว่างงาน เป็นขั้นตอนสำหรับผู้ที่อยู่ในระบบผู้ประกันตนของประกันสังคม เป็นสิทธิ์พื้นฐานของคนไทยที่อยู่ในระบบแรงงานที่จ่ายสบทบเงินประกันมาตรา 33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน และผู้ประกันตนต้องเป็นผู้ทำเรื่องลงทะเบียนว่างงาน และการรายงานตัวว่างงาน ด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจ เพื่อรับเงินชดเชยต่อเดือนตามฐานเงินเดือนและเงินสมทบที่จ่าย
รายงานตัวว่างงาน ออนไลน์ ระบบบริการประชาชน
1. ผู้ใช้งานใหม่ กดลงทะเบียน
2. ลงชื่อเข้าใช้งาน หากมีอีเมลอยู่แล้ว ก็กรอกพาสเวิร์ดเพื่อเข้าสู่ระบบ
...
3. กดยินยอมให้ข้อมูล
ยินยอมให้ข้อมูล ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน และอีเมล
4. กดเข้าสู่ระบบบริการประชาชน (e-Service) กด ขึ้นทะเบียนรายงานตัวผู้ประกันตน กรณีว่างงาน
เลือกช่องทางในการเข้าใจงาน คลิก “ดำเนินการต่อ” หรือ “เลือกสำนักงานที่ใช้บริการ”
กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด
เลขบัตรประจำตัวประชาชน
ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์ อีเมล
เมื่อขึ้นทะเบียนว่างงานแล้ว ก็มาคลิกรายงานตัว และตรวจสอบสถานะรับผลประโยชน์ทดแทน
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนว่างงานที่ควรรู้
- ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนว่างงาน จะต้องกรอกวันที่ออกจากงาน และสาเหตุที่ออกจากงาน
- ต้องกรอกเลขนิติบุคคลของบริษัทที่จ้างงาน โดย Search คำว่า “เลขนิติบุคคล..(ตามด้วยชื่อบริษัท)..” และนำเลขที่พบมากรอก ถ้าเลขนิติบุคคลถูกต้อง ชื่อนายจ้างและประเภทกิจการจะขึ้นมาอัตโนมัติ
- ต้องกรอกเลขสมุดบัญชีธนาคาร และอัปโหลดภาพหน้าแรกของสมุดบัญชีธนาคารที่ต้องการใช้รับเงิน
- ต้องเลือกสมัครงานที่หน้าสมัครงานอย่างน้อย 1 บริษัทที่กรมจัดหางานหาให้
ลงทะเบียนว่างงานกี่วันได้เงิน
หลังจากผู้ประกันตนกดรายงานตัวแล้ว เงินจะเข้าตามรอบ ระยะเวลาได้เงินอยู่ที่ 7-14 วันทำการ แต่หากมีข้อสงสัย ก็สอบถามได้ที่ ประกันสังคมใกล้บ้าน หรือโทร. 1506
...
ลงทะเบียนว่างงาน ได้เงินเท่าไร
ลงทะเบียนว่างงาน รับเงินชดเชยได้เท่าไร
1. ลาออกจากงาน หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วันต่อรอบปฏิทิน
ยกตัวอย่างเช่น หากค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.30 x 90) / 30 = 150 บาทต่อวัน ไม่เกิน 90 วัน
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ หากว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้น จะได้เงินตั้งแต่ 150-13,500 บาท
- ว่างงาน 1 วัน = ได้รับเงินชดเชย 150 บาท
- ว่างงาน 7 วัน = ได้รับเงินชดเชย 1,050 บาท
- ว่างงาน 15 วัน = ได้รับเงินชดเชย 1,500 บาท
- ว่างงาน 30 วัน (1 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 4,500 บาท
- ว่างงาน 60 วัน (2 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 9,000 บาท
- ว่างงาน 90 วัน (3 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 13,500 บาท
(**เป็นการคำนวณแบบคร่าวๆ)
2. ถูกเลิกจ้าง ได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 180 วันต่อรอบปฏิทิน
...
ยกตัวอย่างเช่น หากค่าจ้าง 15,000 บาท (จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน) จะได้รับเงินทดแทนวันละ = (15,000 x 0.50 x 180) / 30 = 250 บาทต่อวัน ไม่เกิน 180 วัน
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ หากว่างงานในรอบปีปฏิทินนั้น จะได้เงินตั้งแต่ 250-45,000 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 30 วัน (1 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 7,500 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 60 วัน (2 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 15,000 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 90 วัน (3 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 22,500 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 120 วัน (4 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 30,000 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 150 วัน (5 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 37,500 บาท
- ถูกเลิกจ้าง 180 วัน (6 เดือน) = ได้รับเงินชดเชย 45,000 บาท
(**เป็นการคำนวณแบบคร่าวๆ)
E-service รายงานตัวว่างงาน ประกันสังคม
เงินสมทบที่จ่ายทุกเดือนจะถูกแบ่งไว้ร้อยละ 0.5 เพื่อจ่ายทดแทนเมื่อว่างงานจากการลาออกหรือถูกเลิกจ้าง โดยผู้ประกันตนต้องยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม และลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ https://e-service.doe.go.th เพื่อรับรหัสผ่านไปกดรายงานตัว
...
วิธีเข้าสู่ระบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนและรายงานตัวกรณีว่างงานผ่านอินเทอร์เน็ตครั้งแรก ดังนี้
1. เข้าเบราว์เซอร์ Google Chrome พิมพ์ empui.doe.go.th เลือก “กรณีใช้บริการจากที่บ้านหรือสถานที่อื่นที่ไม่ใช่สำนักงาน” หรือ “กรณีเดินทางมาใช้บริการที่สำนักงาน”
2. เลือก “ลงทะเบียน” หรือ “ลงชื่อเข้าใช้งาน”
2.1) ลงทะเบียน สำหรับผู้ใช้ใหม่
2.2) ลงชื่อเข้าใช้งาน เพื่อใส่เลขบัตรประชาชน และรหัสผ่านที่เคยได้รับแล้ว
3. อ่านรายละเอียด และกดยอมรับและเข้าใช้งาน
4. กรอกข้อมูลจากบัตรประชาชน ใช้ข้อมูลด้านหน้า และด้านหลังบัตรประชาชน
5. อัปโหลดรูปและกรอกข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ
6. คลิกดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน
7. เลือกเมนูขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานทางด้านซ้ายของจอ ได้แก่ สถานที่ทำงานล่าสุด วันที่ออกจากงาน สาเหตุที่ออกจากงาน ข้อมูลนายจ้างหรือสถานประกอบการ ตำแหน่ง เงินเดือนล่าสุด
8. เมื่อกรอกข้อมูลหมดแล้ว คลิกข้อมูลขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง หากต้องการแก้ไขคลิกที่ “ข้อมูลส่วนตัว”
9. รับเอกสาร “หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน” และ “วันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตน” สามารถพิมพ์ออกมาเก็บไว้ได้ และตรวจสอบวันรายงานตัวว่างงาน 8 ครั้ง
Q : รายงานตัวว่างงาน ก่อนกําหนด กี่วันได้เงิน
A : เมื่อผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานแล้วในระบบกรมการจัดหางานจะกำหนดวันที่นัดรายงานตัวว่างงาน 6 ครั้ง โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าสู่ระบบมากดรายงานตัวก่อนได้ ส่วนเงินจะได้เมื่อไรนั้น ขึ้นอยู่กับรอบการโอนเข้าบัญชี