“ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” คืออัตราการเก็บภาษีจากการเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และปรับปรุงปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินในท้องถิ่นให้มีความทันสมัย โดยมีผลบังคับตั้งแต่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นครั้งแรก
ทำไมต้องจัดเก็บ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง”
เนื่องจากภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน มีสภาพปัญหาที่สั่งสมมานาน เช่น ฐานภาษีซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้, จัดเก็บในอัตราภาษีสูง และดุลยพินิจในการประเมินค่อนข้างสูง รวมถึงราคาปานกลางไม่มีการปรับมาเป็นเวลานาน มีการยกเว้นลดหย่อนจำนวนมาก จึงนำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษีให้มีความทันสมัยเช่นเดียวกับนานาประเทศ และแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษีเดิม และมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพิ่มความเป็นอิสระและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
- สร้างความเข้มแข็งและโปร่งใสในการบริหารการคลังของ อปท.
- ช่วยให้ท้องถิ่นมีงบประมาณเพียงพอในการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความเจริญในระยะยาว
...
ประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น ขึ้นอยู่กับการเข้าทำประโยชน์บนที่ดิน โดยแบ่งประเภทออกเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ และไม่ได้ใช้ประโยชน์ ดังนี้
ที่อยู่อาศัย
ถือเป็นที่ดินใช้ประโยชน์ ผู้เสียภาษีคือเจ้าของบ้านหลังหลักคือผู้ที่มีชื่อบนโฉนดและทะเบียนบ้าน โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าบ้าน ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ใช้ชื่อเจ้าของบ้านที่มีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้
ที่อยู่อาศัยสำหรับใช้ประโยชน์อื่นๆ
กรณีเป็นอาคารที่ใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่ พาณิชยกรรม, อุตสาหกรรม, อาคารสำนักงาน, โรงแรม, ร้านอาหาร ฯลฯ
ที่ดินรกร้าง ไม่ได้ใช้ประโยชน์
กรณีเป็นที่ดินที่ทิ้งรกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์ในปีก่อนหน้า ยกเว้นว่าจะมีกฎหมายห้ามหรือให้ทิ้งไว้เพื่อการเกษตร หรือปล่อยไว้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2564
เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยมาตรการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี พ.ศ. 2564 อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยลดภาษีในอัตราร้อยละ 90 ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้สำหรับการจัดเก็บภาษีของปีภาษี พ.ศ. 2564
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับบ้านพักและที่อยู่อาศัย มีอัตราเพดานอยู่ที่ 0.3% พื้นที่เกษตรกรรมมีอัตราเพดานจัดเก็บ 0.15% และพื้นที่รกร้างมีอัตราเพดานอยู่ที่ 1.2% โดยมีอัตราจัดเก็บ ดังนี้
ที่ดินเกษตรกรรม
มูลค่า 0-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01
มูลค่า 75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
มูลค่า 100-500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
มูลค่า 500-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07
มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.01
บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้น อปท. ละไม่เกิน 50 ล้านบาท และมีภาระภาษีดังนี้
มูลค่า 50 ล้านบาท ค่าภาษี 0 บาท
มูลค่า 100 ล้านบาท ค่าภาษี 5,000 บาท
มูลค่า 200 ล้านบาท ค่าภาษี 40,000 บาท
บ้านหลังหลัก
มูลค่า 0-10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
10-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02
50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1
บ้านหลังหลัก และที่ดิน
มูลค่า 0-10 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
10-50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1
บ้านหลังอื่นๆ
มูลค่า 0-10 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02
10-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.02
50-75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03
75-100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05
100 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1
ภาระภาษี บ้านหลังหลัก
มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 0 บาท
100 ล้านบาท ภาระภาษี 20,000 บาท
200 ล้านบาท ภาระภาษี 120,000 บาท
ภาระภาษี บ้านหลังอื่นๆ
มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 10,000 บาท
100 ล้านบาท ภาระภาษี 30,000 บาท
200 ล้านบาท ภาระภาษี 130,000 บาท
...
อัตราภาษีที่รกร้างว่างเปล่าและอื่นๆ
มูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3
50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4
200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5
1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6
5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7
ภาระภาษี ที่รกร้างว่างเปล่าและอื่นๆ
มูลค่า 50 ล้านบาท ภาระภาษี 150,000 บาท
100 ล้านบาท ภาระภาษี 350,000 บาท
200 ล้านบาท ภาระภาษี 750,000 บาท
1,000 ล้านบาท ภาระภาษี 4,750,000 บาท
**ที่รกร้างว่างเปล่าเพิ่มอัตรา 0.3% ทุกปี แต่อัตราภาษีรวมไม่เกิน 3%
ขั้นตอนสำหรับผู้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
1. ตรวจสอบบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ประเภท, ขนาด และการใช้ประโยชน์ และยื่นแก้ไขท้องถิ่นได้ทันทีหากข้อมูลไม่ถูกต้อง
2. ตรวจสอบแบบแจ้งการประเมินภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้แก่ ประเภท, ขนาด, ราคาประเมิน, อัตราภาษี, การใช้ประโยชน์ และค่าภาษี หากประเมินไม่ถูกต้อง ต้องยื่นคัดค้านและอุทธรณ์
3. ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างภายในระยะเวลาที่กำหนด
...
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จ่ายออนไลน์ได้ไหม
เมื่อคุณได้แบบประเมิน ภ.ด.ส. 10 แล้ว หากไม่ได้คัดค้านค่าใช้จ่าย ก็เข้าสู่กระบวนการชำระภาษีตามเอกสารที่ได้มา โดยสามารถชำระได้ 4 ช่องทาง รวมการจ่ายออนไลน์ผ่านแอปธนาคาร วิธีการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มีดังนี้
1. กรุงเทพมหานครชำระที่สำนักงานเขต และต่างจังหวัดชำระที่หน่วยงานที่ระบุตามจดหมายแจ้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ท่านได้รับ
2. เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา
3. Internet Banking ทุกธนาคาร
4. Mobile Banking ทุกธนาคาร
หากชำระภาษีเกินระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือแจ้งเตือน ก็ยังชำระได้แต่ต้องเสียเบี้ยปรับ เพราะฉะนั้นหากได้รับหนังสือแจ้งเตือนเสียภาษีต้องรีบตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง หากไม่ถูกต้องต้องนำหนังสือไปแจ้งคัดค้าน เพื่อจะได้ชำระภาษีได้ครบถ้วน ไม่ถูกปรับในภายหลัง