ฝากครรภ์ คลอดบุตร เบิกประกันสังคมได้ไหม เป็นสิทธิที่ผู้ประกันตนสงสัยว่า เราสามารถเบิกได้ทั้งหมดไหม ฝากครรภ์ฟรีไหม ในปี 2566 นี้ ยังเบิกค่าฝากครรภ์ได้ 1,500 บาท และคลอดบุตรเบิกได้ 15,000 บาท ใครที่ตั้งครรภ์และยังอยู่ในระบบประกันสังคม ต้องวางแผนเบิกค่าฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะมีอายุการแจ้งเบิกได้ 2 ปี (ข้อมูลอัปเดต 8 มีนาคม 2566)

คลอดบุตรเบิกประกันสังคมได้เท่าไร

ผู้ประกันตนที่มีสิทธิเบิกค่าคลอดบุตร เบิกได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ถ้าภรรยาไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม แต่สามียังเป็นผู้ประกันตน ก็เบิกค่าฝากครรภ์ได้สูงสุด 15,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครรภ์ โดยมีเงื่อนไขการเกิดสิทธิ ดังนี้

1. จ่ายสมทบมากกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนคลอดบุตร
2. เบิกคลอดบุตร สามีภรรยาหากเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตรต่อครั้ง
3. ผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน (เงินสงเคราะห์สามารถเบิกได้สูงสุดไม่เกิน 2 ครั้ง)

...

กรณียื่นเบิกค่าคลอดบุตรกับประกันสังคมแล้ว หากมีข้อทักท้วง ต้องการอุทธรณ์ ให้ยื่นเรื่องภายใน 30 วัน หลังจากยืนยันการแจ้ง ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคม

ขั้นตอนเบิกค่าฝากครรภ์ประกันสังคม 2566

ขั้นตอนการฝากครรภ์ คุณแม่ต้องเตรียมเอกสารที่สำคัญให้พร้อม 3 อย่าง ได้แก่ สมุดฝากครรภ์, ใบเสร็จตัวจริงจากคลินิก หรือโรงพยาบาล และใบรับรองแพทย์ตลอดอายุครรภ์ 5 ช่วง ดังนี้

  • อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
  • อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์
  • อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์
  • อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์
  • อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป

ฝากครรภ์ฟรี ได้ที่ไหนบ้าง

  • กรุงเทพมหานคร ตรวจสอบคลินิกฝากครรภ์ฟรีได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
  • ต่างจังหวัด สอบถามกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลในสิทธิ สปสช. (ตรวจสอบสิทธิ สปสช. ได้ที่นี่)

สำหรับการคลอด หรือฝากครรภ์ฟรี ในแต่ละปีจะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน คุณแม่ควรตรวจสอบสิทธิบัตรทองกับเว็บไซต์ สปสช. หรือหากยังไม่เกิดสิทธิ ดูวิธีสมัครบัตรทองได้ที่นี่

ฝากครรภ์ 2566/2023 ประกันสังคม จ่ายเท่าไร

  • อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท
  • อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
  • อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
  • อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท
  • อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท

เอกสารยื่นเรื่องเบิกค่าคลอดบุตร ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม

เอกสารเบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
2. สูติบัตรบุตร
3. ฝ่ายชายเป็นผู้ประกันตนให้ใช้ทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองบุตร กรณีไม่มีทะเบียนสมรส
4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก 9 ธนาคาร ได้แก่

1) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
2) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
3) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
4) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
5) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
6) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
7) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
9) ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

เอกสารเบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
2. สมุดฝากครรภ์ตัวจริง, ใบเสร็จตัวจริง, และใบรับรองแพทย์ตัวจริง ตลอดอายุครรภ์ที่ยื่นเบิก
3. สำเนาสมุดบัญชี 9 ธนาคารข้างต้น หรือเลขบัญชี PromptPay

ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร ยกเว้นสำนักงานใหญ่ กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง :

1. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิกรณีคลอดบุตร., เว็บไซต์ประกันสังคม., https://www.sso.go.th

2. “หญิงไทยตั้งครรภ์ทุกสิทธิ” มีสิทธิ “ฝากครรภ์คุณภาพ” กับกองทุนบัตรทอง., 12 กุมภาพันธ์ 2565., สปสช., https://www.nhso.go.th/news/3484

...