หากเลือกผิด จะมีผลต่อพัฒนาการเท้า เท้าอาจแบน เสียรูป และการเดินไม่ปกติ จนส่งผลถึงบุคลิกภาพในอนาคตของลูก การเลือกซื้อรองเท้าเด็ก จึงเป็นโจทย์ของพ่อแม่ ที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงขนาดเท้าอย่างรวดเร็วของเด็ก โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถบอกพ่อแม่ได้ว่ารองเท้าคับแล้ว พ่อแม่จึงต้องหมั่นสังเกตว่า เท้าของลูกมีผื่นแดง หรือเดินไม่สะดวก ที่มาจากสาเหตุรองเท้าคับ หรือหลวมเกินไปหรือไม่
แพทย์หญิงขวัญเมือง ณ ตะกั่วทุ่ง กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและพัฒนาการเด็ก เปิดเผยผ่านเอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ของแบรนด์รองเท้า Babybotte ถึงเทคนิคเลือกซื้อรองเท้าเด็กว่า พ่อแม่ต้องเลือกให้เหมาะกับลูก เพราะเด็กแต่ละช่วงวัยจะมีการพัฒนากระดูกเท้าที่แตกต่างกัน รวมถึงกิจกรรมที่ต้องใช้เท้าแต่ละช่วงอายุก็แตกต่างกันด้วย เพราะเท้าเด็กจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว พ่อแม่จึงควรตรวจเช็กความคับหรือหลวมของรองเท้าอยู่เสมอ บางครั้งอาจต้องเปลี่ยนรองเท้าถึง 3 ไซส์ ในช่วง 1 ปี ก็เป็นไปได้
...
สรุปแล้ว 9 เทคนิคการเลือกซื้อรองเท้าเด็ก มีดังนี้
- ช่วงเวลาไปเลือกซื้อรองเท้าเด็ก ควรจะซื้อช่วงเที่ยงถึงเย็นเท่านั้น เพราะเป็นช่วงที่เท้าขยายตัวมากที่สุด โดยเวลาลอง ควรให้เด็กลองใส่รองเท้าทั้งสองข้าง
- ขนาดของรองเท้าเด็กที่ใส่พอดี คือหัวแม่โป้งเท้าของเด็ก ห่างจากผนังปลายสุดประมาณครึ่งนิ้ว หรือ 1 เซนติเมตร หากเป็นรองเท้าหุ้มส้นตรงหลังเท้าควรแค่แตะกับตัวรองเท้า แต่ไม่ควรให้รัดมากจนเกินไป
- การเลือกซื้อรองเท้าเด็ก ในส่วนของขนาดนั้น ไม่ควรเกิน 1 ไซส์ เช่น วัดได้ ไซส์ 5 ไม่ควรซื้อเกินไซส์ 6
- เลือกวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี ไม่อับชื้น มีน้ำหนักเบา
- พื้นรองเท้านิ่ม ไม่มีส้น พื้นรองเท้าต้องเสมอกัน
- พื้นรองเท้าควรมีรอยหยักเพื่อป้องกันการลื่นล้มขณะเดินหรือวิ่ง
- การตัดเย็บประณีต ด้านในต้องไม่มีรอยต่อตะเข็บ หรือขอบแข็ง เพราะจะไปเสียดสีกับเนื้ออ่อนๆ ทำให้เท้าเจ็บหรือเป็นแผลถลอก
- การเลือกซื้อรองเท้าเด็ก ถ้าเป็นรองเท้าแบบผ้าใบหุ้มข้อ จะช่วยประคองข้อเท้าของเด็กขณะเดินหรือวิ่งไม่ให้หกล้มได้ง่าย
- ลวดลายและสีสันรองเท้าควรเลือกลาย รูปแบบ และสีที่เด็กๆชอบ เด็กจะได้อยากสวมใส่รองเท้า
โดยสรุปแล้วผลเสียจากเลือกซื้อรองเท้าเด็กที่ใส่แล้วไม่เหมาะสม จะส่งผลกระทบต่อท่าทางการเดินของเด็ก อาจจะทำให้เกิดภาวะเท้าแบนถาวร เท้าบิดเสียรูป ท่าทางการเดินที่ไม่สวย ส่งผลต่อบุคลิกภาพในอนาคต