นักวิจัย พบหลักฐานเพิ่มเติมที่เชื่อมโยงกับภาวะสมองเสื่อม ในการรับประทานเนื้อแดงที่เป็นอาหารแปรรูปนอกจากโรคมะเร็ง โดยเผยว่าอาหารเหล่านี้อาจส่งผลต่อสุขภาพสมองได้ด้วยเช่นกัน
แน่นอนว่าคนที่กินเนื้อแดงแปรรูปเป็นประจำ เช่น ฮอตดอก เบคอน ไส้กรอก ซาลามิ และโบโลญญา นอกจากจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งแล้ว นักวิจัยยังค้นพบความเกี่ยวเนื่องสำคัญที่ส่งผลให้เป็นโรคสมองเสื่อมในภายหลังมากขึ้น
บทสรุปของการวิจัยเบื้องต้นนี้ถูกนำเสนอในการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ โดยการศึกษานี้ ได้ติดตามผู้ใหญ่มากกว่า 130,000 คนในสหรัฐอเมริกา เป็นเวลาสูงสุด 43 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม 11,173 ราย “ผู้ที่บริโภคเนื้อแดงแปรรูปประมาณสองหน่วยบริโภคต่อสัปดาห์ โดยพวกเขาจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซ็นต์” เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานน้อยกว่าสามหน่วยต่อเดือน
เนื้อสัตว์แปรรูปส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภท "อาหารแปรรูปพิเศษ" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากส่วนผสม เช่น โปรตีนถั่วเหลืองไอโซเลท น้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตส แป้งแปรรูป สารปรุงแต่งรส หรือสารเติมแต่งสี อาหารเหล่านี้หลายชนิดยังมีน้ำตาล ไขมัน หรือโซเดียมในระดับสูง ซึ่งเป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพ และก่อโรคสำคัญอย่างมะเร็งได้
การศึกษาหลายชิ้นที่ตีพิมพ์ไปนี้ในปีที่ผ่านมา พบความเชื่อมโยงระหว่างการรับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปขึ้นกับความบกพร่องทางสติปัญญา
การศึกษาหนึ่งจากผู้ใหญ่วัยกลางคนมากกว่า 10,000 คนในบราซิล ผู้คนที่บริโภคแคลอรีต่อวันจากอาหารที่ผ่านการแปรรูปพิเศษ ตั้งแต่ 20 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป พบว่าการรับรู้ลดลงอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการทดสอบการทำงานของพวกเขาตลอดระยะเวลาแปดปี
...
นอกจากนี้การวิจัยที่ติดตามผู้สูงอายุมากกว่า 72,000 คนจากสหราชอาณาจักรเป็นเวลา 10 ปี พบว่าอาหารที่มีการแปรรูปพิเศษมากกว่าร้อยละ 10 มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ในการเกิดภาวะสมองเสื่อม
ในทำนองเดียวกันการศึกษาติดตามชาวอเมริกัน 30,000 คนเป็นเวลาเฉลี่ย 11 ปี รายงานว่าการบริโภคอาหารที่ผ่านการแปรรูปเป็นพิเศษเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ สอดคล้องกับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อความบกพร่องทางสติปัญญา 16 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้การบริโภคอาหารแปรรูปมากขึ้นยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองที่สูงขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์ แต่แม้ว่าการศึกษาเหล่านี้จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารแปรรูปพิเศษกับสุขภาพสมอง แต่ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอาหารนั้นเป็นอันตรายต่อสมองโดยตรง และไม่ใช่ทุกการศึกษาที่พบว่ามีความเชื่อมโยงที่สอดคล้องกันระหว่างการบริโภคอาหารที่ผ่านการแปรรูปเป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตาม ‘“การรับประทานเนื้อแดงที่ไม่แปรรูป เช่น เนื้อสเต๊ก หรือพอร์คชอป” พวกนี้ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าผู้ที่รับประทานเนื้อแดงทุกวันมีแนวโน้มทำให้พวกเขารู้สึกว่าการรับรู้ของตนลดลงมากกว่าผู้ที่รับประทานเนื้อแดงไม่บ่อยนัก
ปัจจุบันอาหารที่ผ่านการแปรรูป รวมถึงน้ำอัดลม โยเกิร์ตปรุงแต่ง ซุปสำเร็จรูป และซีเรียลอาหารเช้าส่วนใหญ่ ถือเป็นส่วนสำคัญของอาหารอเมริกัน คิดเป็นประมาณร้อยละ 58 ของแคลอรีที่ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่บริโภคโดยเฉลี่ย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยได้เชื่อมโยงอาหารเหล่านี้เข้ากับสภาวะสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคอ้วน มะเร็งบางชนิด และโรคระบบทางเดินอาหารบ้างแล้ว และปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กำลังตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างอาหารเหล่านี้กับสุขภาพสมองเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ดร.ตง หวัง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่โรงพยาบาลบริกแฮม โรงพยาบาลผู้หญิง และโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาเนื้อแดงครั้งใหม่กล่าว “ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าหากคุณกินเนื้อแดงแปรรูปจำนวนหนึ่งคุณจะเป็นโรคสมองเสื่อมอย่างแน่นอน แต่ก็มีความเกี่ยวข้องกันอย่างหาข้อพิสูจน์อื่นมากทดแทนไม่ได้”
“เนื่องจากการศึกษาหลายชิ้นได้รายงานผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับอาหารที่ผ่านการแปรรูปเป็นพิเศษ เราจึงต้องดำเนินการอย่างจริงจัง” ดร.ฮุสเซน ยัสซีน ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยาจาก Keck School of Medicine แห่งมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย กล่าว
อาหารแปรรูปพิเศษ ส่งผลต่อสุขภาพสมองอย่างไร
ปัจจุบันนี้ผู้เชี่ยวชาญยังมีการดำเนินการวิจัยต่อไป และไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด แต่มีทฤษฎีอยู่สองสามข้อ อาจเป็นหนึ่งในสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นดังนี้
- ทฤษฎีที่ 1 : สิ่งเหล่านี้สามารถส่งผลต่อสุขภาพหลอดเลือดได้
“ภาวะสุขภาพเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และเบาหวาน ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารที่มีอาหารแปรรูปสูงเป็นพิเศษ และมีผลกระทบต่อสุขภาพของหลอดเลือดของเราเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทานอาหารแปรรูปพิเศษ สารอาหารเหล่านี้ไปกระตุ้นสมองที่มีความไวอย่างยิ่งต่อการส่งสารอาหาร และออกซิเจน หากหลอดเลือดที่ไม่แข็งแรงอยู่แล้วจากโรคดังกล่าว สามารถทำให้สมองเสี่ยงต่อการสึกหรอได้มากขึ้น และในทางกลับกัน ก็สัมพันธ์กับความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง และความบกพร่องทางสติปัญญา” ดร.ดับเบิลยู เทย์เลอร์ คิมเบอร์ลี หัวหน้ากล่าว
- ทฤษฎีที่ 2 : การเข้ามาแทนที่สารอาหารที่มีประโยชน์
...
โภชนาการที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสมองที่แข็งแรง การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานอาหารที่มีผัก และผลไม้ ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว เนื้อไม่ติดมัน และไขมันที่ดีต่อสุขภาพสัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม
อาจเป็นไปได้ว่าอาหารที่มีอาหารแปรรูปมากเป็นพิเศษนั้นไม่ดีต่อสมอง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดทางเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า “หากคุณบริโภคอาหารแปรรูปพิเศษจำนวนมาก นั่นหมายความว่าตัวเองจะได้บริโภคผัก และผลไม้สดน้อยลง รวมถึงตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพอื่นๆ น้อยลง ยิ่งไปกว่านั้น สารต้านอนุมูลอิสระ และฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในอาหารเพื่อสุขภาพยังแสดงให้เห็นในการศึกษาในสัตว์ทดลอง เพื่อลดการอักเสบและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในสมองในทางกลับกันสามารถช่วยให้เซลล์สมองมีสุขภาพที่ดีและสื่อสารได้ดีขึ้น
- ทฤษฎีที่ 3 : อาหารแปรรูป “ภาระต่อสมอง” ที่ทำลายเซลล์สมอง อย่างมาก
“อาหารแปรรูปภาระต่อสมองอย่างมาก” คำนี้ ดร.คาริมา เบนาเมอร์ รองศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา จากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเอมอรี กล่าว
ตัวอย่างเช่นจากการวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าสารประกอบที่เป็นอันตรายที่พบในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสัตว์สูง หรืออาหารที่ปรุงด้วยอุณหภูมิสูงมาก เช่น โดยการทอด อาจเป็นอันตรายต่อเซลล์สมองได้ สารประกอบเหล่านี้สามารถสะสมในสมอง ส่งเสริมการอักเสบ และความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน การศึกษาบางชิ้นได้เชื่อมโยงสารประกอบเหล่านี้กับความเสื่อมถอยทางสติปัญญา และภาวะสมองเสื่อม
แม้ปัจจุบันนักวิจัยยังคงพยายามแยกแยะอย่างชัดเจนว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูปเป็นพิเศษนี้ อาจรบกวนสุขภาพสมองได้อย่างไร แต่นักวิจัยเหล่านี้ก็ได้แนะนำ และเชิญชวนในการปรับพฤติกรรมการทานเพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด
...
โดยการมุ่งเน้นไปที่การลดอาหารแปรรูป และแทนที่ด้วยทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ โดยการเริ่มต้นด้วยการลดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำอัดลม และเปลี่ยนไปดื่มน้ำเปล่า หรือชาเย็นที่ไม่หวาน จากนั้นให้แลกเปลี่ยนเนื้อแดงแปรรูปกับแหล่งโปรตีนอื่นๆ เช่น ปลา ไก่ ถั่ว ถั่วเลนทิล และถั่วเปลือกแข็ง และเสริมไปที่การเพิ่มอาหารที่ไม่แปรรูปที่มีเส้นใยสูง เช่น ผลไม้ ผัก พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดธัญพืช
ข้อมูล : The New York Times
ภาพ : istock