การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) หรือการที่สังคมไทยจะมีประชากรในวัย 60 ปีขึ้นไปมากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดครอบครัวขยายที่มีสมาชิกต่างช่วงวัยมาอยู่ร่วมกันเพิ่มมากขึ้น แต่สิ่งที่มักเป็นปัญหาตามมาคือ ความไม่เข้าใจและเกิดเป็นความรู้สึกที่ไม่ดีต่อกันด้วยช่องว่างระหว่างวัย

ผู้สูงอายุ เป็นช่วงวัยที่มีปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ครอบครัวใดที่มีผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ยิ่งต้องให้ความใส่ใจ ทั้งในด้านปัญหาสุขภาพและสภาพแวดล้อม

บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยให้ทุกคนในครอบครัวเข้าใจท่าน และดูแลได้อย่างมีความสุข

การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ ทั้งร่างกายและจิตใจ

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในผู้สูงอายุที่พบมากที่สุด ก็คือ การมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวที่ช้าลง กระดูกและกล้ามเนื้อที่เล็กลง การเคี้ยวอาหาร รวมถึงอาจจะมี อาการซึมเศร้า วิตกกังวล หงุดหงิด โกรธง่าย ขี้หลงขี้ลืม คิดมาก ย้ำคิดย้ำทำ ซึ่งอาการด้านจิตใจเหล่านี้ อาจนำไปสู่การรับรู้ ความมั่นใจ และอาจส่งผลต่อการปรับตัวได้

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุควรทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพใจให้มีความแข็งแรงอยู่สม่ำเสมอ

วิธีดูแลใจผู้สูงอายุอย่างเข้าใจ

การที่ผู้สูงอายุนั่งเงียบ ๆ ที่สวนหลังบ้าน เกาคางแมว ก็อาจจะดูเหมือนท่านไม่ได้ทุกข์ใจใด ๆ บางทีภายในใจลึก ๆ ท่าน อาจจะเก็บความรู้สึกบางอย่างไว้ เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักไม่ค่อยระบายความรู้สึกกับลูกหลาน หากท่านเก็บความรู้สึกลบไว้ในใจเป็นเวลานาน อาจจะส่งผลเกิดความเครียดสะสม และเกิดผลเสียต่อสุขภาพทางกาย และนี่คือ 5 วิธีดูแลใจและเข้าใจผู้สูงอายุแบบง่าย ๆ

1. ปรับตัวเข้าหากัน

ทุกคนในบ้านต้องเข้าใจว่า จากการเสื่อมของร่างกายตามวัยทำให้ผู้สูงอายุทำอะไรช้าลง อย่าเร่งหรืออารมณ์เสียใส่ท่าน หากท่านเสียงดัง หรือตวาดใส่ ก็ให้ใจเย็น ๆ อย่าคิดมาก เพราะท่านอาจจะได้ยินหรือฟังไม่ค่อยถนัด เมื่อทุกคนในบ้านเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุแล้ว ก็จะช่วยให้เข้าใจกันและไม่ใช้อารมณ์ใส่กัน ก็จะทำให้บรรยากาศในบ้านดีขึ้น

2. เว้นระยะห่างอย่างปลอดภัย

เพื่อให้ทุกคนในบ้านได้มีพื้นที่ได้ทำกิจกรรมส่วนตัว อาจสร้างระยะห่างที่พอดีกับผู้สูงอายุ แต่ก็ไม่ละเลยที่จะดูแลท่าน และไม่ใกล้จนกดดัน อยู่ในสายตาและคอยสังเกตหากท่านต้องการความช่วยเหลือ อาจจะให้ท่านพักอยู่ในห้องที่มีคนผ่านไปผ่านมาอยู่เสมอ เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน

3. หาเวลาพูดคุยถามไถ่

ผู้สูงอายุบางท่านอาจไม่ค่อยตอบคำถามจากความรู้สึกจริง เพราะไม่อยากให้ลูกหลานเป็นห่วง ให้เราค่อย ๆ หาวิธีถามไถ่เป็นระยะ ใช้ใจดูแล สร้างความเข้าใจระหว่างกัน หาจังหวะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวกันอยู่บ่อย ๆ

4. พูดคำดี ๆ สร้างกำลังใจ

เลือกใช้ชุดคำพูดเชิงบวก และให้กำลังใจกันและกันเยอะ ๆ เช่น วันนี้อยากทานอะไร? อยากได้อะไรหรือเปล่า? ทำได้อยู่แล้ว! ดีจังเลย ไม่เป็นไร เดี๋ยวมาลองกันใหม่ รักนะ คิดถึงนะ และอย่าลืมที่จะกล่าวขอโทษ และขอบคุณในโอกาสที่สมควร การถามไถ่ให้กำลังใจผู้สูงวัย จะช่วยให้พวกท่านรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง

5. ทุกคนในบ้านสำคัญเท่ากัน

เปลี่ยนความคิดของทุกคนในบ้าน คนทำงานหาเงินเข้าบ้าน คนดูแลบ้าน ลูกวัยกำลังเรียน หรือแม้แต่ผู้สูงอายุ ทุกคนต่างมีความสำคัญเท่ากัน เราสามารถปรึกษา ถามอีกมุมมองได้จากคนต่างวัย ไม่เลือกปฏิบัติ ใช้ชีวิตกับทุกคนแบบปกติ นี่แหละคือการลดช่องว่างระหว่างคนในครอบครัว

อยากให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง ทุกคนในครอบครัวต้องร่วมแรงร่วมใจ ใช้ใจดูแล ไม่ใกล้จนอึดอัด ไม่ไกลจนละเลย เพียงเท่านี้ ความสุขก็เกิดได้ทุกวัน

สำหรับครอบครัวใดที่มีผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หรือต้องการมีผู้ดูแลในยามต้องเดินทางไกล ไม่อยากทิ้งท่านให้อยู่บ้านเพียงลำพัง ท่านสามารถใช้บริการ Rehabilitation Center (ศูนย์ฟื้นฟู) หนึ่งในศูนย์สุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่บริการดูแล ผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วยระยะพักฟื้น ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ผู้ป่วย Stroke ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง

● ดูแลโดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ แพทย์แผนจีน พยาบาลวิชาชีพ นักสังคมสงเคราะห์ อาจารย์ด้านจิตวิทยาร่วมดูแลด้านจิตใจ มีอาจารย์คณะเภสัชกรให้คำแนะนำเรื่องยา อาจารย์ผู้รอบรู้ธรรมะร่วมกิจกรรมสนทนาธรรม

● ทีมการพยาบาลที่ มีประสบการณ์ ตรวจวัดสัญญาณชีพ ดูแลเรื่องยา อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 1 มื้อ ดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันตลอด 24 ชั่วโมง

● ห้องพักสะอาด โปร่งโล่ง สะดวกสบายและมีระบบ CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง

● บริการแบบรายวัน

มีกิจกรรมให้ทำตลอดวัน เริ่มบริการตั้งแต่ 08.00-17.00 น. เหมาะสำหรับดูแลกรณีญาติติดธุระในวันนั้น ๆ

● บริการแบบรายเดือนหรือระยะยาว

มีกิจกรรมให้ทำตลอดแบบไม่ซ้ำ รับรองว่าจะไม่เหงา ไม่เบื่อ สุขภาพแข็งแรงขึ้น เพราะมีทั้งกายภาพ การแพทย์แผนจีน และการพูดคุยกับนักสังคมสงเคราะห์

สอบถามเรื่องการบริการต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ 085-489-3714 และ 02-713-8100 ต่อ 2781

ขอเชิญชวนสัมผัสกับบริการของศูนย์บริการด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้ที่งาน Thailand Wellness & Healthcare Expo 2024 ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา