วิธีปิดช่องว่างในการเกษียณอายุของผู้สูงวัยเพศหญิง ที่มีความเสี่ยงในการเกษียณอายุได้ไวมากกว่าเพศชาย เนื่องจากปัจจัยที่หลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพร่างกาย หน้าที่ที่ต้องแบกรับ ทางเลือกในสายอาชีพ ที่มีผลทำให้อาจมีเงินเก็บที่น้อยกว่าเป้าที่คิดไว้

“ผู้สูงอายุเพศหญิง” มีปัจจัยเสี่ยงในการเกษียณอายุเร็วมากกว่าผู้สูงอายุเพศชาย ทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นหนี้ และได้รับรายได้หลังเกษียณลดลงกว่า 26% จากสถิติประเทศที่เป็นสมาชิกของ OECD (องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ Organisation for Economic Co–operation and Development) ทั้งหมด 38 ประเทศ

ช่องว่างเหล่านี้ มีผลมาจากปัจจัยที่หลากหลายด้านไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ปัญหาสุขภาพร่างกาย และหน้าที่ที่ต้องแบกรับในการใช้ชีวิต เช่น การสละเวลาไปเป็นแม่บ้านดูแลลูก และครอบครัว ซึ่งทำให้ผู้หญิงนั้นมีแนวโน้มที่จะหยุดพักตนเอง และยุติการทำงานได้ไวมากขึ้น ส่งผลต่อเงินออม ที่มีใช้ในอนาคตนั้นจะน้อยลง

ปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2593 จะมีประชากรโลกที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจาก 1 พันล้านคนในปี 2563 เป็น 2.1 พันล้านคน ทำให้เรื่องของช่องว่างระหว่างเพศ ควรจะต้องมีทางออก และเกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันมากที่สุด

...

5 วิธีช่วยลดช่องว่างระหว่างเพศในการเกษียณอายุ

  • นโยบายเงินเกษียณอายุ สำหรับผู้มีหน้าที่ดูแลครอบครัวที่ว่างงาน

ปัจจุบันเริ่มมีหลายประเทศอนุญาตให้มีการนับอายุงาน สำหรับผู้ที่มีหน้าที่ดูแลครอบครัวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่จะได้รับเครดิตเงินบำนาญเพิ่มเติม สิ่งนี้จะทำให้ผู้สูงวัยเพศหญิง หรือผู้ดูแลครอบครัวมีข้อได้เปรียบ และเสมอภาคเพิ่มขึ้น

  • นโยบายที่ช่วยให้ผู้หญิงทำงาน หรือมีอาชีพได้นานขึ้นตามความต้องการ

บรรทัดฐานของสังคมในอดีต มักจะสนับสนุนให้ผู้หญิงนั้นเกษียณอายุก่อนผู้ชาย เนื่องจากเหตุผลต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีการเกษียณอายุของเพศหญิงที่มักได้รับประสิทธิภาพ และผลประโยชน์ที่น้อยกว่าทำให้พวกเขาอาจมีปัญหาความมั่นคงทางการเงินตอนอยู่ในวัยชราได้

ดังนั้นการสนับสนุนนโยบายที่ช่วยให้ผู้หญิงทำงาน หรือมีอาชีพได้นานขึ้นตามความต้องการ อาจส่งผลดีต่อระบบองค์กรได้ และเพิ่มความมั่นคงในชีวิตของพวกเขาได้เนื่องจากเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนกว่าผู้ชาย และมีอายุการทำงานที่มากกว่าได้

  • ลดจำนวนปีการทำงาน และเพิ่มคุณสมบัติที่จะได้รับเงินบำนาญของรัฐเร็วขึ้น

นโยบายที่เอื้อเฟื้อต่อผู้หญิงที่ต้องมีภาระการดูแลต่างๆ เพื่อให้เกิดสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมมากขึ้น การออกนโยบายนี้อาจทำให้ผู้เกษียณอายุเพศหญิงมีความกล้าที่จะตัดสินใจ และเพิ่มประสิทธิภาพ การวางแผนทางการเงินที่ดีให้แก่พวกเขาได้มากขึ้น

  • ปิดช่องว่างการทำงานระหว่างเพศ

แม้ว่าปัจจุบันการหางานของผู้หญิง จะมีความเสมอภาคเท่าเทียมมากขึ้นแล้วในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีบางประเทศ ที่อาจจะถือบรรทัดฐาน และธรรมเนียมเหล่านี้ให้พบเจออยู่บ้าง ดังนั้นการปิดช่องว่างระหว่างเพศ และเปิดโอกาสจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดีต่อคุณภาพหลังเกษียณอายุ

  • จัดการปัญหาเหลื่อมล้ำ กับช่องว่างทางเพศโดยรวมจากสังคม

แน่นอนว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมานั้นมาจากบรรทัดฐาน และขนบธรรมเนียมจากสังคมในอดีต การลดปัญหาการเหลื่อมล้ำ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ช่องว่างทางอายุและเพศนั้นลดลงได้เช่นกัน เพราะปัจจุบันโลกของเรามีเทคโนโลยี แนวคิด ที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ซึ่งอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัญหานี้ได้

ข้อมูล : worldeconomicforum