สภาวะกระดูกเสื่อม หนึ่งปัญหารบกวนใจสำหรับผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากการเสื่อมสมรรถภาพของร่างกายตามวัย การดูแลตัวเองและอาหารก็มีส่วนสำคัญที่สามารถสร้างความเสี่ยงเรื่องกระดูกพรุน กระดูกเปราะบาง และเสื่อมสภาพได้เร็วกว่าที่ควร
ผู้สูงอายุกับเรื่องกระดูก เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม ความเสื่อมสภาพตามอายุขัย พฤติกรรมการใช้ชีวิต และอุบัติเหตุ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อกระดูกของผู้สูงวัยได้ง่ายกว่าวัยอื่นๆ และเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรสังเกต เฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตัวผู้สูงอายุ
โรคกระดูกที่พบได้บ่อย
- โรคกระดูกพรุน
- หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- โรคกระดูกเสื่อม
- โรคพาร์กินสัน
- ข้อไหล่ติด
- ข้อเข่าคลอนแคลน
- โรคออฟฟิศซินโดรม
ซึ่งโรคที่เกี่ยวกับกระดูกนั้น ส่งผลและรู้สึกได้ในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป (ผู้สูงอายุ) โดยโรคนี้สามารถสะสมมาตั้งแต่สมัยวัยหนุ่มสาว จากพฤติกรรมในกิจวัตรประจำวัน และการไม่ดูแลตัวเอง ทำให้เมื่ออายุมากขึ้น อาการจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ไปถึงขั้นรุนแรง ทำให้ไม่ว่าใครๆ พออายุเยอะมากขึ้นก็ต้องพบกับปัญหากระดูกนี้ ขึ้นอยู่ว่าจะช้า หรือเร็ว และดูแลร่างกายมากแค่ไหนในช่วงเยาว์วัย
ดังนั้น การป้องกันปัญหาจากกระดูก สามารถเริ่มดูแลได้ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น เพื่อป้องกันการลุกลาม และเสื่อมสภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในอนาคตได้
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้กระดูกเสื่อมสภาพ
- พฤติกรรมการนั่ง และนอนอยู่กับที่เป็นเวลานาน
- เล่นโทรศัพท์ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
- ดื่มน้ำอัดลม และแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- ทานยา หรือวิตามินบางตัว ซึ่งทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายลดลงเป็นประจำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อรางกาย เช่น ยาไทรอยด์ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
- สูบบุหรี่
- รับประทานอาหารรสจัด รสเค็ม เป็นประจำ (โซเดียม สารสำคัญที่ทำให้กระดูกเสื่อมสภาพ)
- น้ำหนักไม่สมส่วน ผอม และอ้วนมากเกินไป
- พฤติกรรมการก้าว การเดินโดยไม่ระวัง และไม่จับราวบันได
- ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
- ขาดแคลเซียม และวิตามินดี
...
การป้องกัน และลดความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหากระดูกนั้น : ควรเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด พร้อมสังเกตร่างกาย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกาย และดูแลตัวเองให้มากขึ้น รวมทั้งหากต้องทานอาหารเสริม วิตามิน หรือยาต่างๆ ก่อนรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาตัวนั้นๆ เพื่อได้รับคำแนะนำที่ถูกต้อง
การลดความเสี่ยงต่างๆ นั้น ควรเข้ารับการทดสอบ หรือตรวจร่างกายอยู่เสมอ เพื่อหาทางป้องกันจากคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญให้ได้ทันท่วงที สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้ชีวิตของเราในวัยสูงอายุนั้นมีคุณภาพการใช้ชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
รวมถึงผู้สูงอายุที่กำลังประสบปัญหาเรื่องกระดูกอยู่แล้ว ก็สามารถพบแพทย์เพื่อปรึกษา หาสาเหตุ และรักษาตามอาการได้ทันเวลา อาจจะต้องมีตัวช่วยในการบำรุงกระดูกให้สมบูรณ์มากกว่าเดิม ด้วยการรับสารอาหารที่เหมาะสม การกายภาพ หรือแม้แต่การออกกำลังกายเบาๆ และการพักผ่อนที่ถูกต้องก็จะสามารถช่วยบรรเทาโรค และภาวะเกี่ยวกับกระดูกได้ดียิ่งขึ้น